พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินและการฟื้นฟูกิจการ: ผลกระทบการยกเลิกแผนฟื้นฟูกิจการต่อสิทธิเรียกร้อง
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ลูกหนี้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 9,000,000 บาท และจำนวน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐถึงกำหนดชำระวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ต่อมาเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2543 ลูกหนี้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 130,350,000 บาท ถึงกำหนดชำระวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ให้แก่เจ้าหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ 1313/2544 ของศาลล้มละลายกลาง แม้เจ้าหนี้จะยังไม่ได้ฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และไม่ได้ขออนุญาตศาลล้มละลายกลางในการฟ้องร้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งมาก่อน แต่มูลแห่งหนี้ดังกล่าวได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เจ้าหนี้ก็อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ตามมาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งการขอรับชำระหนี้ดังกล่าวถือเป็นการทวงถามให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินและทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดโดยศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ 1313/2544 ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้นตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อนับถึงวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการคดีนี้ คือวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 จึงยังไม่พ้นระยะเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 คำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ไม่ขาดอายุความ
แม้แผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว จะผูกมัดเจ้าหนี้ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 และเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะไม่กระทบถึงการใดที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผนหรือผู้บริหารแผนชั่วคราวได้กระทำไปแล้วก่อนศาลมีคำสั่งเช่นว่านั้นตามมาตรา 90/76 ก็ตาม แต่การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 ก็มีผลให้แผนฟื้นฟูกิจการสิ้นผลและสิทธิหน้าที่ของลูกหนี้ย่อมกลับไปเป็นดังเดิมที่มีกันอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เมื่อลูกหนี้ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ให้ครบถ้วนตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ ลูกหนี้จะยกเอาประโยชน์ในการชำระหนี้บางส่วนเพื่อมาปลดเปลื้องหนี้เงินต้นตามแผนฟื้นฟูกิจการและใช้ยันเจ้าหนี้เมื่อมีการยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไปแล้วหาได้ไม่ เจ้าหนี้ย่อมกลับมามีสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เดิมตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เจ้าหนี้จึงนำเงินที่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จัดใช้เป็นดอกเบี้ยเสียก่อนตามมาตรา 329 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ และลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว
แม้แผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว จะผูกมัดเจ้าหนี้ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 และเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะไม่กระทบถึงการใดที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผนหรือผู้บริหารแผนชั่วคราวได้กระทำไปแล้วก่อนศาลมีคำสั่งเช่นว่านั้นตามมาตรา 90/76 ก็ตาม แต่การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 ก็มีผลให้แผนฟื้นฟูกิจการสิ้นผลและสิทธิหน้าที่ของลูกหนี้ย่อมกลับไปเป็นดังเดิมที่มีกันอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เมื่อลูกหนี้ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ให้ครบถ้วนตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ ลูกหนี้จะยกเอาประโยชน์ในการชำระหนี้บางส่วนเพื่อมาปลดเปลื้องหนี้เงินต้นตามแผนฟื้นฟูกิจการและใช้ยันเจ้าหนี้เมื่อมีการยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไปแล้วหาได้ไม่ เจ้าหนี้ย่อมกลับมามีสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เดิมตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เจ้าหนี้จึงนำเงินที่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จัดใช้เป็นดอกเบี้ยเสียก่อนตามมาตรา 329 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ และลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบการยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการต่อสิทธิเจ้าหนี้และการชำระหนี้
แม้แผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ และคำสั่งที่ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะไม่กระทบถึงการใดที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือผู้บริหารแผนได้กระทำไปแล้วก่อนศาลมีคำสั่งดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 และมาตรา 90/76 ก็ตาม แต่การที่ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมมีผลทำให้คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไปในตัว ข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งเกิดขึ้นเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมสิ้นผลไปด้วย ทำให้สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ย่อมกลับไปเป็นดังเดิมที่มีอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
เมื่อข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการในคดีก่อนสิ้นผลไปด้วยเหตุที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้จะนำเงินบางส่วนที่ได้ชำระหนี้ไปหักกับต้นเงินตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการย่อมไม่ได้ อย่างไรก็ตามการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการไม่มีผลกระทบและถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าการชำระหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด จึงต้องนำไปจัดใช้เป็นค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยตามลำดับเสียก่อน ในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการในคดีก่อนสิ้นผลไปด้วยเหตุที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้จะนำเงินบางส่วนที่ได้ชำระหนี้ไปหักกับต้นเงินตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการย่อมไม่ได้ อย่างไรก็ตามการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการไม่มีผลกระทบและถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าการชำระหนี้ของลูกหนี้ดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด จึงต้องนำไปจัดใช้เป็นค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยตามลำดับเสียก่อน ในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9928/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน และการสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง บัญญัติว่า "คำสั่งของศาลซึ่งเห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน หรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ ในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน และไม่มีผลให้บุคคลเช่นว่านั้นต้องรับผิดในหนี้ที่ก่อขึ้นตามแผนตั้งแต่วันดังกล่าว เว้นแต่บุคคลเช่นว่านั้นจะยินยอมโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย" ดังนั้น เมื่อบริษัท ส. ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้รับอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทดังกล่าวย่อมมีผลเฉพาะบริษัทดังกล่าวเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผน ส่วนจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันหาหลุดพ้นไปด้วยไม่ เนื่องจากแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น หากโจทก์ได้รับชำระหนี้จากบริษัทดังกล่าวตามแผนซึ่งเมื่อพิจารณาตามมูลค่าที่แท้จริงของสิ่งที่นำมาชำระหนี้ทำให้หนี้ลดลงไปได้บางส่วน หนี้ส่วนของจำเลยผู้ค้ำประกันย่อมระงับไปเพียงบางส่วนเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทดังกล่าวจนครบถ้วน จำเลยจึงต้องมีความรับผิดในการชำระหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่เหลือตามฟ้องให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท
จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีนำมาขายทอดตลาดแล้วไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา และหลังจากนั้นก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไปขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินจากสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อยและสาขาธนบุรี ก็ไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก จึงต้องข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างในส่วนนี้ได้ว่าตนไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงรับฟังได้ว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยยังคงต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามฟ้อง และไม่มีพฤติการณ์อย่างอื่นที่แสดงว่ามีเหตุอื่นที่จำเลยไม่ควรล้มละลายแต่อย่างใด การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีนำมาขายทอดตลาดแล้วไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา และหลังจากนั้นก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไปขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินจากสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อยและสาขาธนบุรี ก็ไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก จึงต้องข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างในส่วนนี้ได้ว่าตนไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงรับฟังได้ว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยยังคงต้องรับผิดในการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามฟ้อง และไม่มีพฤติการณ์อย่างอื่นที่แสดงว่ามีเหตุอื่นที่จำเลยไม่ควรล้มละลายแต่อย่างใด การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6901/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ไม่มีผลให้ทนายความสิ้นสุดอำนาจยื่นฎีกาแทนลูกหนี้ได้
คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่มีผลทำให้อำนาจหน้าที่โจทก์ที่มีอยู่ในกิจการและทรัพย์สินของโจทก์สิ้นสุดลงเช่นอย่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย เพียงแต่มีผลให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารของโจทก์สิ้นสุดลงตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ทนายความที่โจทก์แต่งตั้งไว้แล้วโดยชอบก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ ย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาแทนโจทก์ ฎีกาที่ยื่นจึงมิใช่ฎีกาที่ไม่ชอบอันจะมีผลให้คำพิพากษาศาลฎีกาไม่ผูกพันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลฎีกาวินิจฉัยการยื่นคำร้องซ้ำเดิมเป็นกระบวนการซ้ำ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ไม่ได้บัญญัติในเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 144 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้อ้างว่าจะดำเนินการโดยการปรับโครงสร้างหนี้ และหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า พยานหลักฐานที่ลูกหนี้นำสืบมาไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและกรณีมีเหตุอันสมควรและมีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เนื่องจากพยานหลักฐานของลูกหนี้ไม่น่าเชื่อถือว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน ในขณะที่ช่องทางหลักในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ศาลล้มละลายกลาง เห็นว่า ปัญหาในการดำเนินธุรกิจเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ของลูกหนี้ไม่ได้มีแต่ปัญหาการไม่ชำระหนี้หรือปัญหาในการรวบรวมและจัดการบริหารทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ปัญหาสำคัญจริง ๆ เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้และกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องการโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้และบริษัทในเครือที่มีเรื่องฟ้องร้องกันหลายคดี และข้อพิพาทเหล่านี้เป็นข้อพิพาทที่อยู่นอกเหนือกระบวนการของกฎหมายล้มละลาย จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอทั้งสองนำเสนองบดุลของลูกหนี้ที่อ้างว่าจัดทำโดยผู้สอบบัญชี และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ ด้วยวิธีการอาจปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยการเพิ่มทุน หาผู้ร่วมลงทุนใหม่ กู้เงิน ปรับรูปแบบโครงการโดยจะเข้าเจรจากับโรงแรมจูเมร่า เกี่ยวกับสัญญาบริหารงานโรงแรม เพื่อปรับเปลี่ยนขั้นตอนการก่อสร้างและขนาดของโรงแรม ยื่นขออนุญาตส่งเสริมการลงทุน หาคนกลางมาเป็นผู้ทำแผนและผู้บริหารชั่วคราวเพื่อดูแลกิจการของลูกหนี้แทนกรรมการลูกหนี้ที่มีข้อขัดแย้งกันอยู่โดยเสนอบริษัท น. เป็นผู้ทำแผน ซึ่งในการพิจารณาคดีนี้ศาลยังคงต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินหรือไม่ ทั้งการพิจารณานอกจากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายแล้วก็ยังต้องพิจารณางบดุลและพิจารณาการประเมินราคาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเทียบกับหนี้สินเหมือนในคดีก่อน ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการที่ผู้ร้องขอที่ 2 เสนอมาก็เป็นช่องทางที่สาระสำคัญหรือหลักการไม่ได้แตกต่างไปจากที่ศาลล้มละลายกลางได้วินิจฉัย ไว้แล้วในคดีก่อนแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจของลูกหนี้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้ ข้อขัดแย้งของกรรมการและผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ดังนั้น การพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ตาม ป.วิ.พ. 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้อ้างว่าจะดำเนินการโดยการปรับโครงสร้างหนี้ และหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า พยานหลักฐานที่ลูกหนี้นำสืบมาไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและกรณีมีเหตุอันสมควรและมีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เนื่องจากพยานหลักฐานของลูกหนี้ไม่น่าเชื่อถือว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน ในขณะที่ช่องทางหลักในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ศาลล้มละลายกลาง เห็นว่า ปัญหาในการดำเนินธุรกิจเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ของลูกหนี้ไม่ได้มีแต่ปัญหาการไม่ชำระหนี้หรือปัญหาในการรวบรวมและจัดการบริหารทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ปัญหาสำคัญจริง ๆ เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้และกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องการโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้และบริษัทในเครือที่มีเรื่องฟ้องร้องกันหลายคดี และข้อพิพาทเหล่านี้เป็นข้อพิพาทที่อยู่นอกเหนือกระบวนการของกฎหมายล้มละลาย จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอทั้งสองนำเสนองบดุลของลูกหนี้ที่อ้างว่าจัดทำโดยผู้สอบบัญชี และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ ด้วยวิธีการอาจปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยการเพิ่มทุน หาผู้ร่วมลงทุนใหม่ กู้เงิน ปรับรูปแบบโครงการโดยจะเข้าเจรจากับโรงแรมจูเมร่า เกี่ยวกับสัญญาบริหารงานโรงแรม เพื่อปรับเปลี่ยนขั้นตอนการก่อสร้างและขนาดของโรงแรม ยื่นขออนุญาตส่งเสริมการลงทุน หาคนกลางมาเป็นผู้ทำแผนและผู้บริหารชั่วคราวเพื่อดูแลกิจการของลูกหนี้แทนกรรมการลูกหนี้ที่มีข้อขัดแย้งกันอยู่โดยเสนอบริษัท น. เป็นผู้ทำแผน ซึ่งในการพิจารณาคดีนี้ศาลยังคงต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินหรือไม่ ทั้งการพิจารณานอกจากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายแล้วก็ยังต้องพิจารณางบดุลและพิจารณาการประเมินราคาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเทียบกับหนี้สินเหมือนในคดีก่อน ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการที่ผู้ร้องขอที่ 2 เสนอมาก็เป็นช่องทางที่สาระสำคัญหรือหลักการไม่ได้แตกต่างไปจากที่ศาลล้มละลายกลางได้วินิจฉัย ไว้แล้วในคดีก่อนแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจของลูกหนี้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้ ข้อขัดแย้งของกรรมการและผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ดังนั้น การพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ตาม ป.วิ.พ. 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15600/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการยึดทรัพย์หลังศาลฎีกายกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการ สิทธิเจ้าหนี้กลับสู่เดิม
คดีที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผน และมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 วรรคสาม ผลของคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวทำให้มาตรการคุ้มครองกิจการหรือสภาวะพักการชำระหนี้ตามมาตรา 90/12 ในคดีฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 3 ย่อมสิ้นสุดลง สิทธิและหน้าที่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ย่อมกลับเป็นไปดังเดิมที่มีต่อกันอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้เพิกถอนการยึดห้องชุดพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15341/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันหลังการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และการพิพากษาให้ล้มละลาย
แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ จำเลยรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท ท. และบริษัท ท. ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนแล้วก็ตาม แต่ในส่วนความรับผิดของผู้ค้ำประกัน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง บัญญัติว่า "คำสั่งของศาลซึ่งเห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกันหรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน และไม่มีผลให้บุคคลเช่นว่านั้นต้องรับผิดในหนี้ที่ก่อขึ้นตามแผนตั้งแต่วันดังกล่าว..." เช่นนี้ หนี้ส่วนที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดย่อมระงับไปเฉพาะส่วนที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามแผน แต่ในหนี้ส่วนที่ขาดผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อได้ความว่าตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ได้รับชำระหนี้จากส่วนที่เป็นต้นเงิน 12,299,632.50 บาท หาใช่เต็มจำนวน 44,820,878.50 บาท ตามที่โจทก์ขอรับชำระหนี้ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ชั้นต้น โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องส่วนที่ขาดจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันได้ เมื่อส่วนที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง แม้โจทก์จะได้รับชำระหนี้จากบริษัท ท. ลูกหนี้ชั้นต้นตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว แต่ยังไม่ครบถ้วน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยชำระหนี้ให้โจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง แม้โจทก์จะได้รับชำระหนี้จากบริษัท ท. ลูกหนี้ชั้นต้นตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว แต่ยังไม่ครบถ้วน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยชำระหนี้ให้โจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14054/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: การขยายระยะเวลาแผนต้องไม่เกิน 2 ครั้ง และต้องมีเหตุผลความจำเป็นตามกฎหมาย
ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้บริหารแผนมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จตามแผนโดยกิจการของบริษัทลูกหนี้จะต้องมีรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายและจำนวนเงินที่ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนภายในระยะเวลาดำเนินการตามแผนซึ่งมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปี ถ้ามีความจำเป็นต้องแก้ไขแผนเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการสำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้บริหารแผนอาจเสนอขอแก้ไขแผนได้ แต่การแก้ไขแผนโดยขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนดังกล่าวให้ทำได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินหนึ่งปี เว้นแต่ในกรณีเป็นที่เห็นได้แน่ชัดว่าแผนได้ดำเนินมาใกล้จะสำเร็จแล้วจึงขยายเวลาต่อไปอีกตามควรแก่กรณีก็ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 (9) ประกอบมาตรา 90/63 วรรคสอง ดังนั้น ระยะเวลาดำเนินการตามแผนจึงเป็นสาระสำคัญในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
คดีนี้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 และมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนซึ่งขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนแล้วสองครั้ง ต่อมาผู้บริหารแผนยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อขอปรับลดหนี้และขยายระยะเวลาการชำระหนี้และการปฏิบัติตามแผนออกไปอีกนั้น เมื่อพิจารณารายงานการปฏิบัติตามแผนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ปรากฏว่า ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามข้อเสนอขอแก้ไขแผนครั้งที่ 2 และผู้บริหารแผนได้ดำเนินการตามแผนครบ 7 ปี แล้ว ผู้บริหารแผนไม่สามารถดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จตามแผนได้ ยังคงมีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่อไปคิดเป็นอัตราร้อยละ 46.41 ทั้งเป็นการขอขยายระยะเวลาดำเนินการตามแผนเกินกว่า 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี และปรากฏชัดเจนแล้วว่าแผนมิได้ดำเนินการมาใกล้จะแล้วเสร็จแต่อย่างใด จึงไม่มีความจำเป็นหรือเหตุสมควรที่ศาลจะขยายระยะเวลาดำเนินการตามแผนต่อไปได้อีกตามมาตรา 90/63 วรรคสอง
คดีนี้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 และมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนซึ่งขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนแล้วสองครั้ง ต่อมาผู้บริหารแผนยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อขอปรับลดหนี้และขยายระยะเวลาการชำระหนี้และการปฏิบัติตามแผนออกไปอีกนั้น เมื่อพิจารณารายงานการปฏิบัติตามแผนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ปรากฏว่า ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามข้อเสนอขอแก้ไขแผนครั้งที่ 2 และผู้บริหารแผนได้ดำเนินการตามแผนครบ 7 ปี แล้ว ผู้บริหารแผนไม่สามารถดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จตามแผนได้ ยังคงมีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่อไปคิดเป็นอัตราร้อยละ 46.41 ทั้งเป็นการขอขยายระยะเวลาดำเนินการตามแผนเกินกว่า 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี และปรากฏชัดเจนแล้วว่าแผนมิได้ดำเนินการมาใกล้จะแล้วเสร็จแต่อย่างใด จึงไม่มีความจำเป็นหรือเหตุสมควรที่ศาลจะขยายระยะเวลาดำเนินการตามแผนต่อไปได้อีกตามมาตรา 90/63 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13706/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการต้องไม่กระทบสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน การชำระหนี้ต้องไม่ต่ำกว่าราคาตลาดทรัพย์สินหลักประกัน
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตลอดจนการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการต้องไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน ซึ่งมีทรัพยสิทธิในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินหลักประกันได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น การดำเนินการอื่นใดที่เจ้าหนี้มีประกันนั้นไม่ได้ยินยอม หรือจะทำให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้น้อยกว่ามูลค่าของทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันในเวลาที่มีการยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ พร้อมดอกเบี้ยและผลประโยชน์ตามสัญญาเมื่อการดำเนินการฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลง ก็ย่อมไม่อาจถือเป็นการให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้มีประกันอย่างเพียงพอแล้วได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/14 (3) ทั้งในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ ผู้ทำแผนมีหน้าที่พิสูจน์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการนั้นชอบด้วยกฎหมายและศาลควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อเจ้าหนี้คัดค้านว่า แผนกำหนดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เมื่อการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จเป็นจำนวนน้อยกว่ามูลค่าหลักประกันที่แท้จริงนั้น ในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวในชั้นพิจารณาแผนจึงต้องพิจารณาราคาประเมินของทรัพย์สินหลักประกันเป็นสาระสำคัญ เมื่อปรากฏตามแผนฟื้นฟูกิจการว่าลูกหนี้ประกอบกิจการโรงแรมตั้งแต่ปี 2532 มีทรัพย์สินหลักที่จำเป็น ต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป คือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งส่วนหนึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่เจ้าหนี้โดยแผนฟื้นฟูกิจการระบุว่า ในระหว่างการดำเนินการตามแผน ถ้าลูกหนี้มิได้เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ ห้ามมิให้เจ้าหนี้ที่มีหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิของเจ้าหนี้ดังกล่าวที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้น แสดงว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และมิได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันไปในราคาบังคับขายแต่อย่างใด ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนดังกล่าว ผู้ทำแผนจึงต้องนำสืบให้ได้ว่าเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จ เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันจะต้องได้รับข้อเสนอชำระหนี้ตามแผนไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์สินหลักประกันในราคาตลาดปัจจุบัน ณ วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อผู้ทำแผนนำสืบให้รับฟังไม่ได้ว่า เมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันจะได้รับชำระหนี้ตามแผนไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์สินหลักประกันในราคาตลาดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 90/14 แผนจึงมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12167/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการบังคับคดีในคดีฟื้นฟูกิจการ: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว ลูกหนี้ไม่มีสิทธิขอออกหมายบังคับคดีเอง
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคห้าและวรรคหก บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการทวงหนี้ ขอออกคำบังคับและขอออกหมายบังคับคดีต่อศาล เพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแจ้ง อันเป็นอำนาจและหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องดำเนินการ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้ศาลออกคำบังคับและส่งคำบังคับเพื่อบังคับคดีแก่ผู้ถูกทวงหนี้ไว้แล้วโดยชอบก็ตาม แต่ลูกหนี้ก็ไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีตามมาตรา 90/39 วรรคหก ได้