พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรับรองบุตรและการแก้ไขฟ้อง: สิทธิฟ้องย้อนหลังเมื่อฟ้องไม่สมบูรณ์แต่แก้ไขแล้ว
ชายหลอกลวงหญิงว่าจะเลี้ยงดูเป็นภรรยา หญิงหลงเชื่อยอมร่วมประเวณีกับชายจนเกิดบุตร์ หญิงฟ้องชายให้รับเด็นเป็นบุตร์และเรียกค่าเลี้ยงดูได้เมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งชายทำไว้การฟ้องขอให้รับรองบุร์นั้นจะฟ้องได้ต่อเมื่อเด็กนั้นคลอดจากครรภ์มารดาแล้วและมีชีวิตรอดอยู่เป็นสภาพบุคคลจะฟ้องในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดาหาได้ไม่
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม. 179, 183, 249 เมื่อฟ้องเดิมไม่มีมูลที่จะพึงฟ้องได้ตามกฎหมายแต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไชเพิ่มเติมฟ้องให้มีมูลขึ้นในภายหลังโดยจำเลยมิได้คัดค้านและศาลอนุญาตดังนี้ต้องถือว่าคำร้องนั้นทำให้ฟ้องเดิมบริบูรณ์ขึ้น สิทธิฟ้องร้องย่อมย้อต้นแต่เมื่อแรกฟ้องข้อกฎหมายใดที่ไม่ได้ยกขั้นว่ากล่าวกันมาแต่ชั้นศาลล่างและมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแล้วศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีแทนเด็กหรือไม่นั้นไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม. 179, 183, 249 เมื่อฟ้องเดิมไม่มีมูลที่จะพึงฟ้องได้ตามกฎหมายแต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไชเพิ่มเติมฟ้องให้มีมูลขึ้นในภายหลังโดยจำเลยมิได้คัดค้านและศาลอนุญาตดังนี้ต้องถือว่าคำร้องนั้นทำให้ฟ้องเดิมบริบูรณ์ขึ้น สิทธิฟ้องร้องย่อมย้อต้นแต่เมื่อแรกฟ้องข้อกฎหมายใดที่ไม่ได้ยกขั้นว่ากล่าวกันมาแต่ชั้นศาลล่างและมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแล้วศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีแทนเด็กหรือไม่นั้นไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องคดีแพ่ง และผลกระทบต่อคู่ความ
โจทก์ขอถอนฟ้องคดี ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง บัญญัติว่า "...ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ (1) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน..." ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาสั่งได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องอ้างว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 1 และที่ 5 จะคัดค้านการถอนฟ้องเหตุตามคำร้องโจทก์ดังกล่าว ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ และศาลไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างตามคำร้องขอถอนฟ้องว่าฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาเป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องคดีใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ทั้งคดีนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้อีกฝ่ายเห็นข้อเท็จจริงที่เป็นการสนับสนุนตามคำฟ้องและข้อต่อสู้ตามคำให้การของฝ่ายตนอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องคดีของโจทก์ไม่สุจริต ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 5 เสียเปรียบในการต่อสู้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13293/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง, ดุลพินิจศาล, ฟ้องไม่สมบูรณ์, การต่อสู้คดี
โจทก์ขอถอนฟ้องคดีภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยื่นคำให้การแล้วซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง บัญญัติว่า "...ศาลจะอนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ (1) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน..." ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาสั่งได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องอ้างว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 1 และที่ 5 จะคัดค้านการถอนฟ้องเหตุตามคำร้องโจทก์ดังกล่าว ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ และศาลไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างตามคำร้องขอถอนฟ้องว่าฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาเป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องคดีใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ดังนี้ การถอนฟ้องของโจทก์เพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งห้าและทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ พ. เป็นคดีใหม่ จำเลยทั้งห้าก็ยังมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่เช่นเดิม จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องคดีของโจทก์ไม่สุจริต ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 5 เสียเปรียบในการต่อสู้คดีตามจำเลยที่ 1 และที่ 5 คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15241/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายค้ามนุษย์หลังมี พ.ร.บ. 2551 ทำให้ฟ้องเดิมขาดองค์ประกอบความผิด
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 แม้ความผิดฐานสมคบและรับ หน่วงเหนี่ยว หรือกักขัง ซึ่งเด็ก ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ ยังคงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 โดยให้ถือว่าเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ตามมาตรา 6 และมาตรา 9 ก็ตาม แต่องค์ประกอบความผิดตามกฎหมายใหม่ต้องเป็นการกระทำ "เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ" โดยมาตรา 4 นิยามคำว่า "แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ" หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น ฟ้องโจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดดังกล่าวด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องโดยไม่ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นการกระทำ "เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ" ตามที่กฎหมายใหม่บัญญัติไว้ ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิด ไม่อาจฟังลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามกฎหมายใหม่ได้ เป็นกรณีที่ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังให้การกระทำตามฟ้องไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องก่อสร้างดัดแปลงอาคาร และความสมบูรณ์ของฟ้องฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
ความผิดข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเกิดขึ้นนับแต่วันทำการก่อสร้างอาคารต่อเนื่องกันไปจนถึงวันปลูกสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องต้องนับถัดจากวันที่ก่อสร้างดัดแปลงเสร็จลง มิใช่เป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่ผู้กระทำยังไม่ได้รื้ออาคาร ส่วนเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารที่ฝ่าฝืนยังคงอยู่ เป็นเรื่องความรับผิดในทางแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชยกรรมขายอาหารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง จำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และถือเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมตามมาตรา 70 ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น จึงระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี อายุความฟ้องร้องมีกำหนด 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4) เมื่อการก่อสร้างดัดแปลงอาคารได้เสร็จลงก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 จึงเกินกว่า 5 ปี ล่วงเลยกำหนดเวลาฟ้องร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 66 ทวิ ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 ก่อนกล่าวคือกรณีแรกอาคารที่จำเลยก่อสร้างนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 กรณีที่สองอาคารที่จำเลยก่อสร้างไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงเกิดขึ้น ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารก่อสร้างดัดแปลงโดยผิดกฎหมายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้อง เพราะเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชยกรรมขายอาหารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง จำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และถือเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมตามมาตรา 70 ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น จึงระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี อายุความฟ้องร้องมีกำหนด 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4) เมื่อการก่อสร้างดัดแปลงอาคารได้เสร็จลงก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 จึงเกินกว่า 5 ปี ล่วงเลยกำหนดเวลาฟ้องร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 66 ทวิ ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 ก่อนกล่าวคือกรณีแรกอาคารที่จำเลยก่อสร้างนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 41 กรณีที่สองอาคารที่จำเลยก่อสร้างไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงเกิดขึ้น ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารก่อสร้างดัดแปลงโดยผิดกฎหมายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้อง เพราะเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ หาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9471/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์ฐานพยายามล่าสัตว์ป่า: รายละเอียดการกระทำผิดและสถานที่สำคัญต่อการเข้าใจข้อหา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนแบตเตอรี่พร้อมดวงไฟเที่ยวติดตามแสวงหาล่าสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองทุกชนิดในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล เนื่องจากไม่พบสัตว์ป่าดังกล่าว โดยไม่ได้ระบุว่าจำเลยลงมือล่าสัตว์ชนิดใดด้วยวิธีการอย่างไรและใช้อาวุธปืนของกลางร่วมในการกระทำความผิดอย่างไร ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด รวมทั้งไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่และสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิดจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตามฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์ฐานค้าของเก่า ต้องระบุประกาศรัฐมนตรีที่กำหนดประเภทของเก่าที่ต้องมีใบอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบังอาจประกอบอาชีพค้าของเก่า โดยการรับซื้อและขายของเก่าจำพวกเศษเหล็ก อันเป็นของเก่าตามกฎหมายโดยไม่มีใบอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามมาตรา 4 (2) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2481 ที่ได้ระบุประเภทหรือชนิดของเก่าซึ่งรัฐมนตรีมิได้ประกาศยกเว้นในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นของเก่าที่ห้ามบุคคลประกอบอาชีพโดยมิได้รับอนุญาตไว้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นได้ว่าของเก่าจำพวกเศษเหล็กเป็นของเก่าซึ่งรัฐมนตรีมิได้ประกาศยกเว้นหรืออ้างถึงประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ประกาศกำหนดประเภทหรือชนิดของเก่าตามบทบัญญัติดังกล่าวไว้ในฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่สามารถลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์ฐานทำร้ายร่างกาย - ศาลฎีกายกข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อย แม้ไม่ได้ยกขึ้นสู่การพิจารณา
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยใช้กำลังชก ต่อย เตะร่างกายและศีรษะของผู้เสียหาย จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจก็ตาม แต่คำขอท้ายฟ้องไม่ได้อ้างมาตรา 391 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย จึงขาดการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ศาลจะลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวไม่ได้ แม้คู่ความมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุมาตราที่ขอลงโทษ แม้บรรยายฟ้องครบถ้วน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้นำโฉนดที่ดินปลอมไปอ้างใช้แสดงต่อ ส. ผู้เสียหาย และ พ. โดยให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ที่จำเลยกู้ไปจากผู้เสียหาย ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ส. และ พ. ผู้อื่นหรือประชาชนอันเป็นการบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษมาในคำฟ้องแล้ว แต่คำขอท้ายฟ้องโจทก์ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. เฉพาะมาตรา 264 และมาตรา 266 มิได้ระบุมาตรา 268 มาด้วย จะถือว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 หาได้ไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6971/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์เมื่อขาดข้อเท็จจริงแสดงหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายในการฟ้องผิด พ.ร.บ.เช็ค
ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 การออกเช็คที่จะถือว่าเป็นความผิด จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วย หนี้ตามเช็คที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิด ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คจำนวน 3 ฉบับ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังมอบให้แก่โจทก์ชำระหนี้เงินกู้โดยมิได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์มิได้แนบสำเนาสัญญากู้มาท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องไม่ได้