คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,786 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามพินัยกรรม: สิทธิฟ้องถอนคืนการให้
โจทก์กับ ช.เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือจำเลยและ ล.จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมที่ ช.ทำไว้อันเป็นการได้มาโดยทางมรดกมิใช่รับโอนมาโดยโจทก์ยกให้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้
ปัญหาว่า พินัยกรรมฉบับที่ ช. ทำดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงใดหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ช. ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่
การที่โจทก์ลงชื่อให้ความยินยอมในพินัยกรรมของ ช.ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกตามพินัยกรรม ไม่ใช่การยกให้ สิทธิในการฟ้องเรียกคืนการให้จึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์กับ ช. เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือจำเลยและ ล.จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมที่ ช. ทำไว้อันเป็นการได้มาโดยทางมรดกมิใช่รับโอนมาโดยโจทก์ยกให้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิ ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ ปัญหาว่า พินัยกรรมฉบับที่ ช. ทำดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงใดหรือไม่ โจทก์ซึ่ง เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ช. ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่ การที่โจทก์ลงชื่อให้ความยินยอมในพินัยกรรมของ ช. ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำนิติกรรม ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยสละสิทธิและสัญญาประนีประนอมยอมความ มิอาจฟ้องร้องขอแบ่งมรดกเพิ่มเติมได้
++ เรื่อง มรดก
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 124 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยข้อตกลง: สละสิทธิ vs. สัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อความในหนังสือสละมรดกที่ ถ. และโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขว่าต้องสร้างอนุสรณ์สำหรับฝังอัฐิ ฮ. ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่และเจาะจงให้ที่ดินที่เหลือตกแก่ ส.และจำเลยที่1โดยเฉพาะนั้นไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612 และ 1613 เพราะการสละมรดกจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเจตนาให้มรดกนั้นตกได้แก่ทายาทคนใดคนหนึ่งไม่ได้ แต่หลังจาก ฮ. ตายแล้วทายาทของ ฮ. ได้เจรจาตกลงกันโดยทำบันทึกข้อตกลงว่าที่ดินของ ฮ. 2 แปลง ถ. มารดาโจทก์ตกลงเอาไว้เป็นของตนก็เพื่อเป็นหลักฐานว่า ถ. และโจทก์สละสิทธิในที่ดินพิพาท จึงมีลักษณะเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 1750 โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอดถอนผู้จัดการมรดก และสิทธิผู้มีส่วนได้เสียในมรดก
ผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดีในการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องครั้งแรกฝ่ายเดียว และประเด็นในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นครั้งแรกเป็นเรื่องผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนประเด็นครั้งหลังเป็นเรื่องสมควรถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ซึ่งแตกต่างกัน ทั้งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1727 เมื่อมีเหตุอันสมควรศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้ จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
ผู้ร้องร่วมดูแลจัดการในบ้านของผู้ตายหลายประการ ผู้ร้องเป็นภรรยาผู้ตาย อยู่กินกับผู้ตายมานาน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ครั้นผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านได้ทราบแล้วไม่คัดค้าน จนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยชอบแล้วที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ภรรยาผู้ตาย มิได้ร่วมจัดการทรัพย์สินกับผู้ตาย ก็รับฟังไม่ได้ ทั้งทายาทโดยธรรมอื่นเช่นเดียวกับผู้คัดค้านก็เห็นว่าควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอดถอนผู้จัดการมรดก และสิทธิผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
ผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดีในการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องครั้งแรกฝ่ายเดียว และประเด็นในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นครั้งแรกเป็นเรื่องผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนประเด็นครั้งหลังเป็นเรื่องสมควรถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ซึ่งแตกต่างกัน ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เมื่อมีเหตุอันสมควรศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้ จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
ผู้ร้องร่วมดูแลจัดการในบ้านของผู้ตายหลายประการ ผู้ร้องเป็นภรรยาผู้ตาย อยู่กินกับผู้ตายมานาน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ครั้นผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านได้ทราบแล้วไม่คัดค้าน จนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยชอบแล้ว ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ภรรยาผู้ตาย มิได้ร่วมจัดการทรัพย์สินกับผู้ตาย ก็รับฟังไม่ได้ ทั้งทายาทโดยธรรมอื่นเช่นเดียวกับผู้คัดค้านก็เห็นว่าควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3510/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกที่ได้รับความยินยอมจากทายาท การโอนมรดกไม่เป็นการฉ้อฉล
ข. เป็นภริยาของ ส. ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โดยโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ส. มิได้คัดค้าน เนื่องจากก่อนที่ ส. ถึงแก่ความตาย ส. ได้แบ่งทรัพย์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว ทั้งปรากฏว่าก่อนมีการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 19475 ให้แก่จำเลยที่ 2 และโอนโฉนดเลขที่ 13685 ให้แก่ ข. และต่อมา ข. โอนขายแก่จำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้แจ้งให้โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ส. และทายาทอื่นของ ส. ทราบแล้ว โดยไม่มีทายาทคนใดโต้แย้ง เมื่อโจทก์ทั้งสี่รู้เห็นยินยอมในการทำนิติกรรมจัดการมรดกของจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันในการที่จำเลยที่ 1 กระทำนิติกรรมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองในคดีมรดก ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของบิดาจำเลยทั้งสองซึ่งตกทอดแก่จำเลยทั้งสอง ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเพราะไม่ได้ฟ้องภายใน 1 ปี คดีก็ไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองนั้น จำเลยทั้งสองต้องยอมรับก่อนว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แต่จำเลยทั้งสองแย่งการครอบครองมา เมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการแย่งการครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสิทธิมรดกของบุตรนอกกฎหมาย, การโอนที่ดิน, และข้อจำกัดการฎีกาที่ไม่ชัดเจน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดามารดากับบุตรว่าเป็นทายาทซึ่งกันและกันนั้น หมายถึง เป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย ถ้ามิใช่ก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกันบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตร ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ป. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ น. ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติฎีกาของจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกเหตุผลมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ชัดแจ้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกควรเป็นอย่างไร เมื่ออ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้และไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยฎีกา โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใด ด้วยเหตุผลอะไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแบ่งมรดก: ราคาทรัพย์สินและคำสั่งรับอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เนื้อที่ 32 ไร่ 3 งาน 58 ตารางวา เป็นทรัพย์มรดกของนาย ค. และนาง ล.ผู้ตาย โจทก์ทั้งสามและจำเลยต่างเป็นบุตรของผู้ตาย ขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสามคนละ 5 ไร่ คิดเป็นที่ดินรวมกัน 15 ไร่ ซึ่งโจทก์ทั้งสามตีราคามาในคำฟ้องเป็นเงิน 100,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทตามฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย แต่เป็นทรัพย์ของจำเลย แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องและตีราคาทรัพย์สินที่พิพาทรวมกันมา แต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ เมื่อที่ดินพิพาทจำนวน 15 ไร่ มีราคา 100,000 บาท ดังนั้นราคาที่ดินพิพาทเนื้อที่ 5 ไร่ ที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคาไม่เกิน50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง
การรับรองอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ว่ามีเหตุอันสมควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ต้องเป็นการรับรองโดยชัดแจ้ง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ผู้อุทธรณ์ มีข้อความว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำนาให้จำเลยแก้ ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ หากไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภูมิลำเนาแห่งอื่นแล้วให้ปิดหมายได้" คำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าเป็นการรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังบัญญัติไว้ในป.วิ.พ.มาตรา 224 อันจะทำให้ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้มาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้
of 179