พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการยินยอมในสัญญาซื้อขาย
คดีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้โจทก์ โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 187,500 บาทจำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 สามารถแยกกันได้แต่ละจำนวนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 3และที่ 4 จะยื่นฎีการวมกันมา ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาก็ต้องแยกกันตามจำนวนที่แต่ละคนต้องรับผิด เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินคนละสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3และที่ 4 หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เช่นกันกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3และที่ 4 หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เช่นกันกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมขายที่ดินไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ กรณีสัญญาจะซื้อจะขายมีเงินมัดจำ
คดีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3และที่ 4 ให้โจทก์ โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินแก่จำเลยที่ 3และที่ 4 คนละ 187,500 บาท จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 สามารถแยกกันได้แต่ละจำนวนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะยื่นฎีการวมกันมา ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาก็ต้องแยกกันตามจำนวนที่แต่ละคนต้องรับผิด เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินคนละสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3 และที่ 4หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4ไม่เช่นกัน กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมที่ไม่สมบูรณ์และการสิทธิในมรดก: ข้อจำกัดด้านอายุและข้อกำหนดการยินยอม
ขณะที่ บ. จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม บ.มีอายุ 25 ปี ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1582 ที่กำหนดว่าผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า30 ปี ส่วนการที่ บ. รับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ บ. ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย ขัดต่อ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมของ บ. ย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงมิใช่ทายาทโดยธรรมของ บ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมทั้งหมด ไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ไม่ยินยอม
ตามคำฟ้องโจทก์ยืนยันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์มาแต่เดิมขอให้จำเลยจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้เป็นของโจทก์ตามสัญญา มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดมีขึ้นได้แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย แม้โจทก์จะครอบครองมากว่า10 ปี ศาลก็จะพิพากษาให้เป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกิดขึ้นต่อกัน โดยจำเลยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดที่ดินรวมเอาที่พิพาทเข้าด้วยเพื่อแบ่งแยกออกโฉนดที่ดินระหว่างเจ้าของรวม แต่โจทก์ไม่ยอมโดยได้ระวังชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์รวมไปถึงที่พิพาทตามที่ครอบครองมาด้วย จำเลยจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงมีข้อความว่าที่ดินแปลงที่แบ่งแยกจากโฉนดเป็นแปลงที่ 7(ซึ่งหมายถึงที่พิพาท) แบ่งให้โจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยดำเนินการรังวัดไปได้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 เจ้าของรวมเพียง 2 คน ทำบันทึกอันเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความว่าให้แบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินของเจ้าของรวม เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 5 ผู้เป็นเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ตกลงยินยอมในการให้ที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และในขณะที่ทำบันทึกที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทนผูกพันผู้รับโอนเมื่อยินยอมปฏิบัติตามสัญญาเดิมเท่านั้น
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นเพียงบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้เฉพาะแต่ในระหว่างคู่สัญญา จะผูกพันโจทก์ผู้รับโอนตึกพิพาทต่อเมื่อโจทก์ได้ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิม อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือจำเลยผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ผู้รับโอนได้โดยตรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงยินยอมเช่นนั้น แม้หากฟังได้ว่าสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนและโจทก์รู้ถึงข้อตกลงดังกล่าวตามที่จำเลยต่อสู้สัญญาดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ในอันที่จะต้องยินยอมให้จำเลยเช่าตึกพิพาทต่อไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมของผู้ค้ำประกันต่อการต่ออายุสัญญากู้ แม้ไม่มีข้อความระบุโดยตรง หากมีข้อตกลงเกี่ยวกับการผ่อนเวลาชำระหนี้ ย่อมถือว่ายินยอม
ตามสัญญาค้ำประกันในการประกันการเพิ่มวงเงินมีข้อความว่า ถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลา การชำระหนี้หรือต่ออายุสัญญาเงินกู้ให้แก่ผู้กู้โดยจะแจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยการให้ผ่อนเวลาการชำระหนี้หรือการให้ต่ออายุสัญญาเงินกู้เช่นว่านั้นทุกครั้งไป แม้สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นก่อนการค้ำประกันการเพิ่มวงเงินกู้นั้นจะมีข้อความแตกต่างไปโดยไม่มีข้อความเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาเงินกู้ แต่ก็มีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลาให้แก่ผู้กู้ชำระหนี้โดยจะได้แจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นทุกครั้งไป การต่ออายุสัญญาเงินกู้ให้ผู้กู้ในกรณีนี้ก็หมายถึงการผ่อนเวลาชำระหนี้นั่นเองแม้ไม่มีข้อความระบุถึงการต่ออายุสัญญาโดยตรง เมื่อมีการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยต่ออายุสัญญากู้ให้ลูกหนี้ก็ถือว่าผู้ค้ำประกันยินยอมตกลงด้วยผู้ค้ำประกันจึงยกเอาเหตุนี้มาปลดเปลื้องความรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อช่วงและการโอนกรรมสิทธิ์ แม้โจทก์ยังไม่เป็นเจ้าของทรัพย์ขณะทำสัญญา แต่บริษัทเจ้าของยินยอมและจำเลยรับทราบ ถือเป็นสัญญาที่ผูกพัน
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์พิพาททั้ง 8 คัน จากบริษัทท.แล้วจำเลยเช่าซื้อรถยนต์พิพาททั้ง 8 คัน จากโจทก์ แม้ในขณะโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ยังไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาททั้ง 8 คันที่ให้เช่าซื้อก็ตาม แต่บริษัท ท. ยินยอมให้โจทก์นำรถยนต์พิพาททั้ง 8 คันออกให้ผู้อื่นเช่าซื้อช่วงได้ และโจทก์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาททั้ง 8 คัน ให้แก่จำเลยได้ หากจำเลยชำระเงินค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา จำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญาโดยมิได้โต้แย้งในเรื่องนี้แต่อย่างใด จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ จะอ้างว่าขณะทำสัญญาโจทก์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ จึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างก่อสร้างและขอบเขตความยินยอมของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องว่า อาคารต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 รับจ้างโจทก์ก่อสร้างและส่งมอบให้โจทก์เสร็จแล้วเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่โจทก์รับมอบงาน โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1ซ่อมแซมแก้ไขแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่จัดการแก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องให้เป็นที่เรียบร้อย โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในอาคารได้โดยสมบูรณ์ โจทก์จึงได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซมจนเสร็จสมบูรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างที่โจทก์ได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซมฟ้องของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อความชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 301 เพราะโจทก์ฟ้องบังคับตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาต่อกันอยู่อีก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ่ายค่าจ้างที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ ณ. ไป จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาได้การฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์ ข้อ 2ระบุว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้า เป็นการที่จำเลยที่ 3 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในกรณีที่จะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันแล้ว ส่วนข้อความตอนท้ายของสัญญาข้อ 2 ที่ระบุว่าโดยเพียงโจทก์ติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้านั้นมิใช่ข้อสาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผลเพราะข้อความตอนต้นของสัญญาข้อ 2 เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาแล้ว หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่หลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคสอง ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5027/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน เจ้าของรวมต้องยินยอม การขายตัวทรัพย์ที่ไม่ได้รับความยินยอมเป็นโมฆะ
จำเลยกับ ว. และ จ. เป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันโดยไม่ได้แบ่งแยกกันครอบครอง สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการขายตัวทรัพย์จะขายโดยมิได้รับความยินยอมของ ว. และ จ.ผู้เป็นเจ้าของรวมด้วยหาได้ไม่ ฉะนั้น สัญญาซื้อขายที่พิพาทดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ยินยอม ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างสั่งโอนลูกจ้างไปทำงานกับบริษัทอื่นในต่างประเทศซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากนายจ้างเดิมโดยให้ลูกจ้างไปทำสัญญากับบริษัทดังกล่าวใหม่ และให้ตำแหน่งของลูกจ้างในบริษัทนายจ้างเดิมสิ้นสุดลงและจ้างบุคคลอื่นทำงานในตำแหน่งแทนแล้ว กรณีเช่นนี้เป็นการโอนสิทธิของนายจ้างไปยังบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วยจึงจะกระทำได้ เมื่อลูกจ้างไม่ยินยอมด้วยโดยไม่ยอมทำสัญญาจ้างฉบับใหม่กับบริษัทอื่นที่จะโอนไปนั้น นายจ้างก็ให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งและจ้างบุคคลอื่นดำรงแทน กรณีจึงเป็นเรื่องนายจ้างสั่งเลิกจ้างและเมื่อการสั่งโอนดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าลูกจ้างกระทำผิดใดการเลิกจ้างกรณีเช่นนี้จึงเป็นการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม