คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รถยนต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6362/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังภาพถ่ายเอกสารประกอบการพิจารณาคดี และการวินิจฉัยความประมาทจากภาพถ่ายความเสียหายของรถยนต์
คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างไม่ได้ตัวโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1ผู้ซึ่งขับรถยนต์ที่ชนกันทั้งสองคันมาเบิกความต่อศาล แม้จำเลยที่ 2 จะมีสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมาแสดงว่าพนักงานสอบสวน เปรียบเทียบปรับโจทก์ที่ 2 ให้ข้อหาขับรถโดยประมาท แต่รายงานดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ จำเลยที่ 2 อ้างเข้ามาเพื่อสนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงของตนซึ่งศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำมาสืบนั้นเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ เมื่อนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายความเสียหายของรถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันแล้วปรากฏว่าข้อเท็จจริงขัดกัน เชื่อว่าเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในภาพถ่าย แม้โจทก์จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารค่าซ่อมรถให้จำเลยแต่ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบเพราะโจทก์ได้แนบภาพถ่ายใบเสนอราคาและใบสั่งจ่ายที่โจทก์ชำระค่าซ่อมรถมาท้ายฟ้องทั้งเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลจึงมีอำนาจรับฟังได้ เอกสารที่ต้นฉบับหายศาลชั้นต้นยอมให้สืบพยานบุคคลประกอบสำเนาภาพถ่าย ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาภาพถ่ายมาสืบจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากรถยนต์ การสันนิษฐานสินสมรส และค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต
จำเลยที่ 3 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 2แล้ว แต่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เบิกความรับว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุมาระหว่างสมรส ซึ่งแม้มีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของในทะเบียนแต่ไม่ได้นำสืบว่าเป็นสินส่วนตัวหรือเป็นสินสมรสต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสเมื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ติดต่อหาคนขับรถและดูแลกิจการโดยทั่วไป บางครั้งได้ให้จำเลยที่ 3 ช่วยดูแลบ้าง รายได้จากการรับจ้างก็แบ่งให้จำเลยที่ 3 เพื่อใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรหลังเกิดเหตุแล้วจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 3ไปเจรจาเรื่องค่าเสียหายกับฝ่ายโจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ยังคงทำกิจการร่วมกันจำเลยที่ 3 จึงเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์บรรทุกในทางการที่จ้างโดยประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชน ส. ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ทั้งสองจนถึงแก่ความตายด้วย ค่าใช้จ่ายในงานศพ เช่น ค่าดอกไม้ ค่าบุหรี่ถวายพระถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคหนึ่งส่วนเงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายมากน้อยเพียงใดก็นำมาบรรเทาความรับผิดของจำเลยไม่ได้ และเนื่องจากบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ผู้ตายตายลงทำให้บิดามารดาต้องขาดไร้อุปการะ จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าปัจจุบันผู้ตายจะได้ อุปการะเลี้ยงดูอยู่หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5663/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถจากการขายทอดตลาด: ข้อจำกัดในการจดทะเบียนกรณีทะเบียนซ้ำ และความเกี่ยวข้องกับคดีล้มละลาย
ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า ป.เป็นผู้ซื้อรถยนต์กึ่งพ่วงได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ แล้ว ป.ขายต่อให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนขนส่งจังหวัดเพื่อจดทะเบียนการโอนย้ายและเปลี่ยนทะเบียนใหม่ แต่นายทะเบียนขนส่งจังหวัดไม่สามารถจดทะเบียนการโอนได้เพราะรถพ่วงเลขทะเบียนซ้ำกับทะเบียนรถคันอื่นขอให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนขนส่งจังหวัดจดทะเบียนรถพ่วงให้แก่ผู้ร้อง ตามคำร้องของผู้ร้อง มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146ในอันที่จะยื่นคำร้องเข้ามาในคดีในชั้นรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินได้ หากผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวกับผู้เกี่ยวข้องต่างหากจากคดีในชั้นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5663/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์จากการขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ติดขัดเนื่องจากทะเบียนซ้ำ ผู้ซื้อไม่สามารถฟ้องร้องในคดีล้มละลายได้
ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าป.เป็นผู้ซื้อรถยนต์กึ่งพ่วงได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วป. ขายต่อให้แก่ผู้ร้องผู้ร้องได้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนขนส่งจังหวัดเพื่อจดทะเบียนการโอนย้ายและเปลี่ยนทะเบียนใหม่แต่นายทะเบียนขนส่งจังหวัดไม่สามารถจดทะเบียนการโอนได้เพราะรถพ่วงเลขทะเบียนซ้ำกับรถทะเบียนรถคันอื่นขอให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนขนส่งจังหวัดจดทะเบียนรถพ่วงให้แก่ผู้ร้องตามคำร้องขอผู้ร้องมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146ในอันที่จะยื่นคำร้องเข้ามาในคดีในชั้นรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินได้หากผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวกับผู้เกี่ยวข้องต่างหากจากคดีในชั้นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองกรรมสิทธิ์โดยปริยายและความรับผิดในสัญญาซื้อขาย
การที่จำเลยนำรถยนต์มาขายให้แก่โจทก์เท่ากับว่าจำเลยผู้ขายได้รับรองโดยปริยายว่า จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่นำมาขาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นให้แก่โจทก์ได้ จึงเป็นการผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากโจทก์ต้องชำระเงินจำนวน 240,000 บาท คืนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวไปจากโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ หาใช่การฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิอันมีอายุความ 3 เดือน ตามมาตรา 481แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ การฟ้องคดีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์ และอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหาย ไม่ใช่การรอนสิทธิ
การที่จำเลยนำรถยนต์มาขายให้แก่โจทก์เท่ากับว่าจำเลยผู้ขายได้รับรองโดยปริยายว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่นำมาขายเมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นให้แก่โจทก์ได้จึงเป็นการผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากโจทก์ต้องชำระเงินจำนวน240,000บาทคืนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวไปจากโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้หาใช่การฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิอันมีอายุความ3เดือนตามมาตรา481แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่การฟ้องคดีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนรถยนต์ที่ทำไปโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้ยักย้ายรถยนต์คันพิพาทจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่2โดยไม่สุจริตจำเลยที่1ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับให้ชำระหนี้ได้การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียเปรียบขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนโอนรถยนต์บรรทุกเป็นโมฆะคำฟ้องของโจทก์พอจะเข้าใจได้ว่าโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่1กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทจึงไม่เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดอุปการะจากผู้ตายกับสิทธิรับเงินทดแทน: กรณีผู้ค้ำประกันรถยนต์
ผู้ตายซึ่งเป็นลูกจ้างถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ก่อนตาย ผู้ตายเช่าซื้อรถยนต์ให้โจทก์ใช้สอยประกอบอาชีพและให้โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อเมื่อถึงแก่ความตายทำให้ผู้ตายไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อการที่โจทก์ต้องหาเงินไปชำระค่าเช่าซื้อ เป็นการปฏิบัติในฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ. 2537 มาตรา 20 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์รถจากการขายระหว่างการพิจารณาคดี ทำให้ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืนรถที่ศาลสั่งริบ
ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์อยู่ในขณะที่มีการใช้รถจักรยานยนต์กระทำความผิด แต่ระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นผู้ร้องได้ขายรถจักรยานยนต์ให้บุคคลภายนอกไป บุคคลภายนอกนั้นจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์นับแต่ที่ผู้ร้องได้ขายให้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบย่อมตกเป็นของแผ่นดิน บุคคลภายนอกผู้ซื้อไว้ไม่มีกรรมสิทธิ์อีกต่อไป แม้ผู้ร้องจะซื้อรถจักรยานยนต์คืนมา ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่มีสิทธิร้องขอคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์ และอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหาย กรณีผู้ขายไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
การที่จำเลยนำรถยนต์มาขายให้แก่โจทก์ทั้งสองเท่ากับว่าจำเลยผู้ขายได้รับรองโดยปริยายแก่โจทก์ทั้งสองว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่นำมาขายเมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่โจทก์ทั้งสองได้จึงเป็นการผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องชำระเงินคืนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวไปจากโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้หาใช่การฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิอันมีอายุความ3เดือนตามมาตรา481แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่การฟ้องคดีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่ตรวจชำระใหม่)
of 59