พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินชดเชยและบำเหน็จของนายจ้างตามระเบียบ และกฎหมายแรงงาน: การพิจารณาว่าเงินบำเหน็จรวมเป็นค่าชดเชยแล้ว
ระเบียบว่าด้วยเวลาทำงาน ฯลฯ ของโรงงานจำเลยกำหนดว่าเมื่อพนักงานประจำต้องออกจากงานจะได้รับเงินชดเชยและเงินบำเหน็จทั้งสองอย่างและตอนต้นของระเบียบได้กล่าวถึงเหตุผลในการออกระเบียบนี้ว่า โดยที่ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดงาน ค่าจ้าง เงินชดเชยเงินค่าทดแทน ค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพ และบำเหน็จพนักงานและคนงานในโรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติแรงงานระเบียบนี้ประกาศใช้ภายหลังที่ได้มีพระราชบัญญัติแรงงานพ.ศ.2499 ต่อมาพระราชบัญญัติแรงงานฯ ได้ถูกยกเลิกไปและมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งกำหนดอัตราค่าชดเชยไว้เป็นผลดีแก่ฝ่ายลูกจ้างมากขึ้นกว่าตามพระราชบัญญัติแรงงานฯ ส่วนระเบียบการจ่ายเงินชดเชยของจำเลยมิได้เปลี่ยนแปลงอย่างใด ดังนี้หากจำเลยจ่ายค่าชดเชยน้อยไปไม่ครบตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายให้ครบ ส่วนเงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยนั้น ต้องการให้พนักงานที่ทำงานมาด้วยดีได้รับเงินตอบแทนความชอบอีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากเงินชดเชย และบำเหน็จนี้ตามระเบียบของจำเลยกำหนดว่าถ้ามากกว่าเงินชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนเงินชดเชย แต่ถ้าน้อยกว่าก็ให้ได้รับแต่เงินชดเชยอย่างเดียว แปลได้ว่า พนักงานประจำทุกคนมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานจนครบตามสิทธิของตนและยังมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีกด้วยถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่มาก กว่าเงินชดเชย เมื่อรวมกับเงินชดเชยแล้วก็จะได้เท่ากับเงินบำเหน็จทั้งหมดนั่นเอง แต่ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียว ดังนั้นเห็นได้ว่าเงินบำเหน็จที่พนักงานได้รับไปนั้น เป็นเงินชดเชยตามระเบียบของจำเลยหรือค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ รวมอยู่ด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ทุกคนได้รับบำเหน็จไปแล้วมีจำนวนเงินเกินกว่าค่าชดเชยที่ขอมาตามฟ้อง จึงถือได้ว่าจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ทุกคนไปแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิม แม้จะมีการจ่ายเงินตามระเบียบใหม่แล้ว ก็ไม่มีมูลหนี้เรียกร้องเพิ่มเติม
แม้โจทก์จำเลยแถลงว่า ต่างไม่สืบพยานบุคคล ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีต่อไปโดยอาศัยเอกสารที่ส่งไว้ต่อศาลแต่เมื่อโจทก์แถลงต่อไปว่าจะขอให้ศาลหมายเรียกเอกสารอื่นมาประกอบการพิจารณาของศาลอีกและจำเลยก็แถลงว่ายังติดใจส่งเอกสารจำนวนหนึ่งต่อศาลอีกเช่นเดียวกัน ดังนี้แสดงว่าคู่ความประสงค์ให้ศาลนำเอกสารที่คู่ความขอให้เรียกมาหรือส่งไว้ในสำนวนมาประกอบการพิจารณาด้วยหาใช่เพียงแต่พิจารณาจากเอกสารที่ส่งไว้แต่เดิมไม่
ภายหลังจากที่โรงงานกระสอบป่าน กรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำฉบับที่ 1 พ.ศ. 2521 แล้ว ประธานกรรมการอำนวยการจำเลยที่ 1 ได้ออกคำชี้แจงแก่พนักงานและคนงานว่าระเบียบดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521 เป็นต้นไปพนักงานและคนงานประจำที่ได้บรรจุเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521. ต้องมีสิทธิในเรื่องเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ออกระเบียบว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2521 ให้พนักงานและคนงานประจำที่ได้บรรจุเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521 คงมีสิทธิในเรื่องเงินชดเชยและเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมอีก ดังนี้ย่อมฟังได้ว่าก่อนที่จะมีระเบียบโรงงานกระสอบป่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำฉบับที่ 1 พ.ศ. 2521 นั้น ได้มีระเบียบเดิมให้พนักงานและคนงานประจำได้รับเงินบำเหน็จอยู่แล้ว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2517 การรับเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามระเบียบเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลย มีจำนวนเท่ากับเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับจึงไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะเรียกร้องเงินตามระเบียบเดิมอีก ไม่ต้องวินิจฉัยว่าระเบียบเดิมนั้นคือระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ.2519 หรือไม่
ภายหลังจากที่โรงงานกระสอบป่าน กรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำฉบับที่ 1 พ.ศ. 2521 แล้ว ประธานกรรมการอำนวยการจำเลยที่ 1 ได้ออกคำชี้แจงแก่พนักงานและคนงานว่าระเบียบดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521 เป็นต้นไปพนักงานและคนงานประจำที่ได้บรรจุเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521. ต้องมีสิทธิในเรื่องเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ออกระเบียบว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2521 ให้พนักงานและคนงานประจำที่ได้บรรจุเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521 คงมีสิทธิในเรื่องเงินชดเชยและเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมอีก ดังนี้ย่อมฟังได้ว่าก่อนที่จะมีระเบียบโรงงานกระสอบป่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงานและคนงานประจำฉบับที่ 1 พ.ศ. 2521 นั้น ได้มีระเบียบเดิมให้พนักงานและคนงานประจำได้รับเงินบำเหน็จอยู่แล้ว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2517 การรับเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามระเบียบเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลย มีจำนวนเท่ากับเงินบำเหน็จตามระเบียบเดิมที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับจึงไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะเรียกร้องเงินตามระเบียบเดิมอีก ไม่ต้องวินิจฉัยว่าระเบียบเดิมนั้นคือระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ.2519 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ระเบียบเงินบำเหน็จกับพนักงานรัฐวิสาหกิจ: ระเบียบเฉพาะสำหรับรัฐวิสาหกิจเท่านั้น
การที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การแก้ว พ.ศ.2498 มาตรา18 กำหนดให้พนักงานได้รับบำเหน็จและรางวัลตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดนั้นหมายถึงระเบียบที่คณะรัฐมนตรีจะได้กำหนดให้ใช้กับองค์การแก้ว จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ จำเลยจึงไม่อาจนำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งแก้ไขโดย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับกับพนักงานของจำเลยได้เพราะระเบียบดังกล่าวใช้บังคับกับลูกจ้างของส่วนราชการและข้อบังคับว่าด้วยการจ่ายเงินบำเหน็จของพนักงานจำเลยก็มิได้กำหนดให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่พนักงานของจำเลย ดังนั้น จะนำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญ พ.ศ.2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ของกระทรวงการคลังมาบังคับใช้ในกรณีที่โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จของรัฐวิสาหกิจ: ระเบียบเฉพาะสำหรับรัฐวิสาหกิจเท่านั้นที่ใช้บังคับได้
การที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การแก้ว พ.ศ.2498 มาตรา18กำหนดให้พนักงานได้รับบำเหน็จและรางวัลตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดนั้นหมายถึงระเบียบที่คณะรัฐมนตรีจะได้กำหนดให้ใช้กับองค์การแก้ว จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ จำเลยจึงไม่อาจนำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งแก้ไขโดย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับกับพนักงานของจำเลยได้เพราะระเบียบดังกล่าวใช้บังคับกับลูกจ้างของส่วนราชการและข้อบังคับว่าด้วยการจ่ายเงินบำเหน็จของพนักงานจำเลยก็มิได้กำหนดให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่พนักงานของจำเลย ดังนั้น จะนำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญ พ.ศ.2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ของกระทรวงการคลังมาบังคับใช้ในกรณีที่โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะเจ้าพนักงาน: กำหนดจากกฎหมายแต่งตั้งและหน้าที่ราชการ แม้ระเบียบไม่ใช่กฎหมายแต่ชอบด้วยกฎหมายหากสอดคล้องนโยบายรัฐ
เจ้าพนักงานย่อมหมายถึงบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับแต่งตั้งตามกฎหมาย กล่าวคือในการแต่งตั้งนั้นมีกฎหมายระบุถึงวิธีการแต่งตั้งไว้ และได้มีการแต่งตั้งถูกต้องตามกฎหมายที่ระบุไว้นั้น จำเลยที่ 1เป็นกำนัน จำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ประจำตำบล จำเลยที่ 3 เป็นผู้ใหญ่บ้านโดยได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ฯ จำเลยทั้งสามจึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการสภาตำบลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารของตำบล และมีระเบียบของสำนักนายกว่าด้วยการปฏิบัติตามโครงการพัฒนาท้องถิ่นและช่วยประชาชนในชนบทในฤดูแล้ง พ.ศ. 2518 กำหนดให้กำนันแพทย์ประจำตำบล และผู้ใหญ่บ้าน เป็นคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการพัฒนาท้องถิ่นและช่วยประชาชนในชนบทฯ เรียกโดยย่อว่าปชลต. ซึ่งระเบียบดังกล่าวนั้นเป็นระเบียบที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายการที่จำเลยทั้งสามดำเนินการในฐานะเป็นคณะกรรมการ ปชลต.ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการของเจ้าพนักงานผู้มีตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น อันอาจเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการได้
จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสภาตำบลผู้ทรงคุณวุฒิตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 หาใช่ข้าราชการหรือได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายอย่างใดไม่ แม้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการดังกล่าวด้วยแต่ระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติตามโครงการพัฒนาท้องถิ่นฯ มิใช่กฎหมาย เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย และไม่มีกฎหมายใด บัญญัติไว้ว่าให้เป็นเจ้าพนักงาน ถึงแม้ว่าจำเลยทั้งสองจะได้รับมอบหมาย ให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการก็หาใช่เจ้าพนักงานไม่
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น ถึงบุคคลธรรมดากระทำ โดยลำพังจะไม่เป็นความผิด แต่เมื่อร่วมกับเจ้าพนักงานก็อาจเป็น ผู้สนับสนุนได้
จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสภาตำบลผู้ทรงคุณวุฒิตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 หาใช่ข้าราชการหรือได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายอย่างใดไม่ แม้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการดังกล่าวด้วยแต่ระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติตามโครงการพัฒนาท้องถิ่นฯ มิใช่กฎหมาย เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย และไม่มีกฎหมายใด บัญญัติไว้ว่าให้เป็นเจ้าพนักงาน ถึงแม้ว่าจำเลยทั้งสองจะได้รับมอบหมาย ให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการก็หาใช่เจ้าพนักงานไม่
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น ถึงบุคคลธรรมดากระทำ โดยลำพังจะไม่เป็นความผิด แต่เมื่อร่วมกับเจ้าพนักงานก็อาจเป็น ผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการจ่ายเงินบำเหน็จควบคู่กับค่าชดเชยตามระเบียบและกฎหมายแรงงาน
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยมีว่า ถ้าลูกจ้างได้รับเงินชดเชยอยู่แล้วไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ ถ้าเงินชดเชยต่ำกว่าเงินบำเหน็จให้จ่ายเงินบำเหน็จเท่ากับส่วนที่ต่ำกว่าระเบียบ ดังนี้มิได้หมายความว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับทั้งค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ จำเลยต้องจ่ายเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่เกินกว่าค่าชดเชยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชย: ระเบียบของนายจ้างที่ไมขัดแย้งกับกฎหมาย
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างของจำเลยแปลได้ว่าลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้ทั้งค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จให้ได้รับค่าชดเชยแต่ประเภทเดียว เว้นแต่ลูกจ้างผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จซึ่งมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชย จึงให้ได้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่สูงกว่าค่าชดเชย ระเบียบดังกล่าวนี้มิได้ให้ งดการจ่ายค่าชดเชยซึ่งต้องจ่ายตามกฎหมาย แต่ให้งดหรือจ่ายบางส่วนสำหรับเงินบำเหน็จ ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องจ่าย เป็นระเบียบที่ชอบและไม่ขัดต่อกฎหมาย
เมื่อนายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างตามสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับแล้วแม้จะเรียกว่าเงินบำเหน็จ ก็ยังเป็นค่าชดเชยตามความจริง
เมื่อนายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างตามสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับแล้วแม้จะเรียกว่าเงินบำเหน็จ ก็ยังเป็นค่าชดเชยตามความจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดเจ้าอาวาสออกจากตำแหน่งเนื่องจากละทิ้งหน้าที่เกิน 30 วัน และการขาดการร้องทุกข์ตามระเบียบ
เจ้าอาวาสละทิ้งหน้าที่โดยออกนอกเขตปกครองไปอยู่ที่อื่นโดยไม่มีเหตุอันควร เกินกว่า 30 วัน เจ้าคณะจังหวัดมีอำนาจปลดออกจากตำแหน่งได้ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 5(พ.ศ. 2506) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และตามระเบียบมหาเถรสมาคม พ.ศ. 2506 ข้อ 4 และข้อ 5 หากจะมีการร้องทุกข์ ผู้ถูกปลดจะต้องร้องทุกข์ต่อ ผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปภายใน 15 วัน นับแต่ทราบคำสั่งลงโทษ เมื่อมิได้มีการร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าวก็ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปลดออกจากตำแหน่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติไม่ไว้วางใจชอบด้วยระเบียบ หากมีส่วนรู้เห็นการกระทำผิด
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุที่โจทก์มีส่วนร่วมรู้เห็นในการลักทรัพย์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์นั้น เป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยระเบียบของโจทก์ว่าด้วยระเบียบวินัย การลงโทษ และการให้ออกจากงานของลูกจ้าง ซึ่งระบุว่า เมื่อลูกจ้างผู้ใดมีความประพฤติไม่เป็นที่ไว้วางใจที่สมควรจะให้คงทำงานต่อไป เมื่อผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร สั่งให้ลูกจ้างผู้ใดออกจากงานก็ให้กระทำได้ จำเลยจึงมีเหตุผลเพียงพอ ที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(1) เป็นบทบัญญัติที่บังคับใช้เพื่อคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องเพราะการกระทำอันไม่เป็นธรรมของนายจ้าง แต่กรณีนี้ ไม่ปรากฏว่ามีการเรียกร้องอะไรในคดีเลย จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ ดังกล่าวมาปรับใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งไล่ออกลูกจ้าง: การปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งมอบอำนาจของผู้ว่าการรถไฟฯ
โจทก์เป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นความผิดซึ่งมีโทษถึงไล่ออกเมื่อมีการตั้งกรรมการสอบสวนกรณีที่โจทก์ถูกกล่าวหาดังกล่าวและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นว่าโจทก์ทำความผิดจริงก็มีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานได้ตามที่ได้รับมอบอำนาจ โดยมิต้องนำเรื่องเสนอที่ประชุมผู้อำนวยการฝ่ายและหัวหน้าสำนักงานให้พิจารณาเสียก่อนไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบการและคำสั่งของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด