คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐวิสาหกิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุครบ 60 ปี ไม่ใช่กำหนดระยะเวลาจ้าง: รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่กฎหมายและระเบียบของรัฐวิสาหกิจกำหนดให้ลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง เพราะมิได้กำหนดให้ผูกพันจ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติพนักงานของรัฐวิสาหกิจเป็นการทั่วไปดังนั้น เมื่อรัฐวิสาหกิจเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ จึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลยืนบังคับใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานกับรัฐวิสาหกิจ
โจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาลแรงงานกลางศาลแรงงานกลางสอบถามตามที่จำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แล้วบันทึกรายการแห่งข้อหาไว้ ตามมาตรา 35แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 โดยในตอนต้นกล่าวถึงการที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม คำขอบังคับในตอนท้ายกล่าวว่า ให้จำเลยปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยจ่ายค่าชดเชยรวม 14,400บาทนั้น ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน นั่นเอง ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
การฟ้องเรียกค่าชดเชย ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจด้วย จึงมิใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและเมื่อโจทก์เป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง และงานนั้นไม่เกี่ยวกับงานบ้านไม่ว่าจำเลยจะเรียกโจทก์ว่าพนักงานหรือเรียกว่าลูกจ้างและจำเลยจะวางข้อบังคับกำหนดระเบียบปฏิบัติงาน และระเบียบการลงโทษ การแต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนชั้น เลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงาน ตลอดจนจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์แก่พนักงานไว้อย่างไร ก็ยังต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ตามบทนิยามของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างรัฐวิสาหกิจสิทธิรับเงินชดเชย แม้เรียกตำแหน่งอื่น และอายุความการฟ้องเรียกเงินชดเชย
คำว่านายจ้าง ลูกจ้าง ตามความหมายของกฎหมายแรงงาน หมายรวมถึงบุคคลบุคลลผู้เข้าทำงานให้แก่บุคคลอื่นในงานอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม โดยได้ได้รับค่าจ้างเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทั่วไป หากลูกจ้างประเภทใดที่ไม่ต้องการให้อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานก็กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ อันมีข้าราชการส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้ฐานะของโจทก์จะเรียกว่า พนักงานมิได้เรียกลูกจ้างโดยตรง ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ของจำเลย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้รับความคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 3 แก้ไขฉบับที่ 3 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2507่ข้อ 2 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์มิได้กระทำการอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้ว จำเลยก็ต้องจ่าย เงินชดเชยค่าโจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น ข้อ 12
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นเป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทดนหรือค่าเสียหายฐานละเมิด และกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่ว ไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์ และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับเงินชดเชย แม้ไม่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานโดยตรง และเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ไม่ใช่เงินชดเชย
คำว่า นายจ้าง ลูกจ้าง ตามความหมายของกฎหมายแรงงานหมายรวมถึงบุคคลผู้เข้าทำงานให้แก่บุคคลอื่นใน งานอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมโดยได้รับค่าจ้างเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทั่วไป หากลูกจ้างประเภทใดที่ไม่ต้องการให้อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานก็กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ อันมีข้าราชการและข้าราชการส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้ฐานะของโจทก์จะเรียกว่า พนักงาน มิได้เรียกลูกจ้างโดยตรง ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้รับความคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 3 แก้ไขฉบับที่ 3 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2507 ข้อ 2 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์มิได้กระทำการอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วจำเลยก็ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น ข้อ 12
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายฐานละเมิดและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำนิติกรรมของตัวแทนรักษาการตามมติคณะกรรมการในสัญญาซื้อขายรัฐวิสาหกิจ
โรงงานกระสอบป่านไม่เป็นนิติบุคคล อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรมโจทก์ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการโรงงานกระสอบป่านมีอำนาจทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อขาย และตามข้อบังคับว่าด้วยการบริหารโรงงานกระสอบป่าน กรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2515 ข้อ 17 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการไว้ว่า ให้คณะกรรมการอำนวยการมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมการบริหารงานโดยทั่วไปของโรงงาน ทั้งนี้เพื่อให้โรงงานดำเนินกิจการไปตามวัตถุประสงค์ในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลย ผู้อำนวยการโรงงานกระสอบป่านผู้ได้รับมอบอำนาจจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ทำสัญญาได้ไปราชการ ต่างประเทศ คณะกรรมการอำนวยการโรงงานกระสอบป่าน กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีมติให้ผู้จัดการโรงงานกระสอบป่านเป็นผู้รักษาการแทนและลงนามแทนผู้อำนวยการ ผู้จัดการโรงงานจึงลงนามแทนในสัญญาซื้อขายกับจำเลยได้ ดังนั้นกรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามสัญญาซื้อขายที่ผู้จัดการโรงงานลงนามไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขายของรัฐวิสาหกิจ: การมอบอำนาจและการรักษาการแทน
โรงงานกระสอบป่านไม่เป็นนิติบุคคล อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรมโจทก์ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการโรงงานกระสอบป่านมีอำนาจทำนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อขาย และตามข้อบังคับว่าด้วยการบริหารโรงงานกระสอบป่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2515 ข้อ 17 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการไว้ว่า ให้คณะกรรมการอำนวยการมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมการบริหารงานโดยทั่วไปของโรงงาน ทั้งนี้เพื่อให้โรงงานดำเนินกิจการไปตามวัตถุประสงค์ในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยผู้อำนวยการโรงงานกระสอบป่านผู้ได้รับมอบอำนาจจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ทำสัญญาได้ไปราชการต่างประเทศคณะกรรมการอำนวยการโรงงานกระสอบป่าน กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีมติให้ผู้จัดการโรงงานกระสอบป่านเป็นผู้รักษาการแทนและลงนามแทนผู้อำนวยการ ผู้จัดการโรงงานจึงลงนามแทนในสัญญาซื้อขายกับจำเลยได้ ดังนั้นกรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามสัญญาซื้อขายที่ผู้จัดการโรงงานลงนามไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นของรัฐในบริษัทจำกัด และความผิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ผู้ถือหุ้นชนิดใดในบรษัทจำกัดย่อมถือว่าเป็นผู้ลงทุนในบริษัทเท่าจำนวนหุ้นที่ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ฉะนั้นเมื่อรัฐถือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดของธนาคารเกษตร จำกัด แล้ว ก็ถือว่าธนาคารเกษตร จำกัด มีทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ โดยไม่ต้องคำนึงว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นหุ้นที่ใช้ค่าหุ้นเป็นตัวเงินหรือเป็นหุ้นที่ออกให้เสมือนหนึ่งได้ใช้เต็มค่าแล้ว ฉะนั้นเมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานธนาคารเกษตร จำกัด ยักยอกเงินของธนาคาร จึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รัฐวิสาหกิจฐานะนิติบุคคลแยกต่างหาก ไม่ผูกพันระเบียบราชการ เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติ
บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 97 เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งได้ตราขึ้นและจดทะเบียนไว้
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้ เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ.เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รัฐวิสาหกิจมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากรัฐ ไม่ผูกพันตามระเบียบราชการ เว้นแต่มีมติคณะกรรมการอนุมัติ
บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 97 เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งได้ตราขึ้นและจดทะเบียนไว้
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้ เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รัฐวิสาหกิจมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น ไม่ผูกพันระเบียบราชการ เว้นแต่จะอนุมัติเอง
บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 97. เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น อยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งได้ตราขึ้นและจดทะเบียนไว้.
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีวางไว้. เป็นระเบียบของทางราชการ กำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญแก่ลูกจ้างของส่วนราชการ.ไม่ใช่บังคับแก่บริษัทขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ.เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัติให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่ลูกจ้างของบริษัทด้วย.
of 18