คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รุกล้ำที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีรุกล้ำที่ดิน: การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างซ้ำกับคดีเดิมที่ศาลยกฟ้องแล้ว
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยสร้างตึกรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 981 และปลูกสร้างฝาผนังก่ออิฐรุกล้ำอีกด้วย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 981 ของโจทก์พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 981 และมีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำตรงตามฟ้องคดีเดิมทุกประการ และขอให้พิพากษารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเช่นเดียวกับคดีเดิม ถือได้ว่า คดีเดิมและคดีนี้คู่ความเดียวกัน ประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีรุกล้ำที่ดิน: การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมที่ศาลยกฟ้องแล้วถือเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยสร้างตึกรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่981และปลูกสร้างฝาผนังก่ออิฐรุกล้ำอีกด้วยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่981ของโจทก์พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่981และมีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำตรงตามฟ้องคดีเดิมทุกประการและขอให้พิพากษารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเช่นเดียวกับคดีเดิมถือได้ว่าคดีเดิมและคดีนี้คู่ความเดียวกันประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามมาตรา148แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคิดค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน: เริ่มนับจากวันฟ้องหรือวันบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 40,200 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี ีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำตอนหนึ่งกับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 1,340 บาทจนกว่าจะรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำเสร็จอีกตอนหนึ่งข้อความสองตอนดังกล่าวมีคำว่า 'กับ' (และ) เชื่อมประโยคอยู่เมื่อฟังรวมกันแล้วย่อมได้ความว่าโจทก์ขอให้จำเลยใช้ ค่าเสียหายอีกวันละ 1,340 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน: เริ่มนับจากวันฟ้องหรือวันบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 40,200 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำตอนหนึ่งกับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 1,340 บาท จนกว่าจะ รื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำเสร็จอีกตอนหนึ่งข้อความสองตอนดังกล่าวมีคำว่า 'กับ'(และ) เชื่อมประโยคอยู่เมื่อฟังรวมกันแล้วย่อมได้ความว่าโจทก์ขอให้จำเลยใช้ ค่าเสียหายอีกวันละ 1,340 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะ รื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การรุกล้ำที่ดินหลังทำสัญญาถือเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา
โจทก์จำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินซึ่งมีอยู่ติดต่อกันในที่สุดได้ยอมความกันในศาล โดยโจทก์ยอมขายที่ดินตามอาณาเขตที่กำหนดกันไว้ให้แก่จำเลย และจำเลยตกลงจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินส่วนที่ไม่ได้ขาย ศาลพิพากษาตามยอม เห็นได้ว่าข้อสาระสำคัญแห่งสัญญาคือจำเลยจะต้องไม่บุกรุกที่ดินโจทก์ การที่จำเลยสร้างกำแพงรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์เกินกว่าอาณาเขตที่โจทก์ขาย ถือได้ว่าจำเลยจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงชอบที่จะขอให้บังคับคดีได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. การก่อสร้างรุกล้ำ: ศาลไม่ควรวินิจฉัยประเด็นที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้น
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต
มาตรา 1312 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคลไว้ว่าถ้าบุคคลภายนอกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นโดยสุจริต บุคคลภายนอกนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น ดังนั้น ถ้าจำเลยประสงค์จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องกล่าวอ้างความข้อนี้ขึ้นมาเมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนโดยสุจริตคดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทเพียงว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ การนำสืบของจำเลยว่าจำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนโดยสุจริต จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นและการที่ศาลยกเรื่องความสุจริตของจำเลยขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นด้วย ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิเรียกคืน แม้ผู้รุกล้ำไม่ได้เป็นผู้สร้างสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกบ้านและรั้วรุกล้ำที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยให้การว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์มิได้ให้การว่าเป็นกรณีปลูกบ้านรุกล้ำที่ดินพิพาทของโจทก์โดยสุจริตคดีจึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1312 หรือไม่ แม้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของบ้านและรั้วที่รุกล้ำที่พิพาทไม่ได้ เป็นผู้ปลูก บ้านและรั้วก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทก็มีสิทธิที่จะเรียกเอาที่พิพาทคืนจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336 โดยให้จำเลยรื้อถอนบ้านและรั้วออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรุกล้ำที่ดิน: เมื่อข้อกล่าวหาเป็นทางสาธารณประโยชน์แต่พิสูจน์ไม่ได้ คดีตกไป
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำรั้วคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในทางพิพาทอันเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยมิได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ได้มาโดยอายุความแต่อย่างใดเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณประโยชน์คดีนี้จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ได้มาโดยอายุความหรือไม่และคดีฟังได้ว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณประโยชน์ฟ้องของโจทก์ที่ว่าจำเลยทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์จึงเป็นอันตกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยการต่อเติมอาคาร การครอบครองโดยอาศัยสิทธิเจ้าของเดิม และสิทธิในที่ดิน
ตึกแถวของโจทก์และของจำเลยอยู่ติดกัน ที่ดินและตึกแถวทั้งสองห้องนี้เดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกันโจทก์จำเลยต่างก็เช่าตึกแถวจากเจ้าของเดิม ระหว่างที่เช่าอยู่นั้นจำเลยได้ต่อเติมห้องน้ำห้องครัวที่ด้านหลังของตึกแถว โดยเจ้าของที่ดินคนเดิมรู้เห็นยินยอมต่อมาโจทก์จำเลยต่างก็ซื้อที่ดินและตึกแถวมาเป็นกรรมสิทธิ์ ปรากฏว่าที่ดินส่วนที่จำเลยต่อเติมเป็นห้องน้ำห้องครัวนั้นอยู่ในโฉนดที่โจทก์ซื้อ จำเลยเพิ่งครอบครองที่ดินดังกล่าวของโจทก์มาเพียง 2 ปี จึงหามีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยรื้อถอนห้องน้ำห้องครัวออกจากที่ดินโจทก์ได้ เพราะการก่อสร้างต่อเติมห้องน้ำห้องครัวนั้นก็โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของเดิมไม่ใช่เข้าไปก่อสร้างโดยไม่รู้ว่าที่ดินนั้นเป็นของเจ้าของเดิม อันจะถือได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามมาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตของผู้รับโอน สิทธิเรียกร้องค่าที่ดิน มิใช่การรื้อถอน
เจ้าของเดิมได้ปลูกสร้างตึกแถวเลขที่ 40, 41 และ 42 ลงบนที่ดิน 2 แปลงของตนคือที่ดินโฉนดที่ 811 และ ที่ 237 ปรากฏว่าตึกแถวเลขที่ 41 ได้ปลูกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดที่ 811 ต่อมาที่ดินโฉนดที่ 811 พร้อมตึกแถวได้ตกเป็นของโจทก์ส่วนที่ดินโฉนดที่ 237 พร้อมทั้งตึกแถวได้ตกเป็นของจำเลยกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงมาใช้บังคับคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 การที่ตึกแถวเลขที่ 41 ปลูกล้ำเข้าไปในโฉนดที่ 811 ของโจทก์นั้น เจ้าของเดิมเป็นผู้ปลูกหาใช่จำเลยไม่โจทก์จำเลยต่างรับโอนที่ดินและตึกแถวมาอีกทอดหนึ่งถือได้ว่าการรุกล้ำดังกล่าวเป็นมาโดยสุจริต จะให้จำเลยรื้อถอนไปหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่และจะนำมาตรา 1310 มาปรับกับกรณีนี้ก็ไม่ได้ เพราะมาตรา 1310 เป็นบทบัญญัติกรณีที่ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินผู้อื่นทั้งหลัง มิใช่ปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินผู้อื่นเพียงบางส่วนเช่นกรณีนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนฝาห้องเลขที่ 41 ออกไปจากที่ดินโจทก์
of 22