พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์: การได้มาซึ่งสิทธิและการคุ้มครองทางกฎหมาย กรณีครอบครองปรปักษ์ไม่สามารถใช้ได้กับลิขสิทธิ์
เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่า โจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้แก่ป. ต่อมา ป. ขายต่อให้จำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง แต่จำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทระหว่าง ป. กับโจทก์เป็นหนังสือมาแสดงต่อศาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ลิขสิทธิ์นั้นโอนได้ แต่การโอนสิทธิหรือใช้ประโยชน์เช่นนั้นไม่สมบูรณ์เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อเจ้าของหรือตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจโดยชอบจากเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงฟังได้ว่าโจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้ ป. ไม่มีลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทที่จะขายให้จำเลย เพลงพิพาทยังเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาท โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ในแผ่นเสียงที่ผลิตออกจำหน่ายก่อนจำเลยทั้งสองจะซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. ที่กระดาษกลางแผ่นเสียงมีข้อความระบุว่า เนื้อร้องและทำนองเป็นของผู้ใด ใครเป็นผู้ขับร้อง จำเลยทั้งสองจึงทราบดีว่าโจทก์เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงพิพาทจำเลยทั้งสองมิได้ซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. โดยสุจริตเพราะหากจำเลยทั้งสองสุจริตจริงก่อนซื้อจำเลยทั้งสองน่าจะให้ป. แสดงหลักฐานว่า ป. ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากโจทก์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้ ป. แสดงหลักฐานดังกล่าวและจำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อลิขสิทธิ์จากโจทก์มาแสดง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์เพิ่งทราบว่า จำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2529จึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยอายุการครอบครองหรือการครอบครองปรปักษ์นั้น มีได้เฉพาะกับทรัพย์สินเพียง 2 ประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ซึ่งบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4ทรัพย์สิน มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสำคัญ ส่วนลิขสิทธิ์แม้จะเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่เป็นทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ จนไม่อาจจัดเป็นทรัพย์สินในความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ได้ กล่าวคือลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ลิขสิทธิ์""งาน" และ "ผู้สร้างสรรค์" กับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ให้ความหมายของคำว่า "สิทธิแต่ผู้เดียว" ไว้โดยเฉพาะแล้ว สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครองจึงต่างกับสิทธิในกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในลิขสิทธิ์เป็นสิทธิในนามธรรมซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองแก่รูปแบบของการแสดงออกซึ่งความคิดของผู้สร้างสรรค์ เป็นผลงาน 8 ประเภทตามคำจำกัดความของคำว่า"งาน" ดังกล่าวข้างต้น การจะได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์งานจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ส่วนผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้สร้างสรรค์ งานอาจได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8มาตรา 12 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น และลิขสิทธิ์มิได้มีอายุแห่งการคุ้มครองโดยไม่จำกัดเวลาอย่างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 แต่มีอายุแห่งการคุ้มครองจำกัดและสิ้นอายุแห่งการคุ้มครองได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 ถึงมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มิได้บัญญัติให้ผู้ใดอาจมีลิขสิทธิ์ได้โดยการครอบครองปรปักษ์ ทั้งสภาพของลิขสิทธิ์ก็ไม่อาจมีการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 13 ดังเช่นสิทธิในกรรมสิทธิ์บนอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีการครอบครองได้ สิ่งที่จำเลยทั้งสองครอบครองไว้จึงเป็นเพียงการครอบครองแผ่นกระดาษที่มีเนื้อเพลงพิพาทอันเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดสิทธิในลิขสิทธิ์ได้แต่อย่างใด การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์จะได้มาโดยทางใดได้บ้างเป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วดังกล่าวข้างต้น เมื่อไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้ใดได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอ้างว่าได้ลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะเรียกสำนวนคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นมาเป็นพยานของศาลในคดีนี้ ซึ่งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 239 และ 240 แต่เท่าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและพิพากษามา มิได้ใช้ข้อเท็จจริงอันเกิดจากสำนวนคดีดังกล่าวเลย ไม่ทำให้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองต้องเสียไป คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยทำซ้ำ/ดัดแปลงงานมีลิขสิทธิ์โดยตรง แม้ไม่ต้องพิสูจน์ว่ารู้ว่าละเมิด
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มีได้ 2กรณี คือ กรณีแรกเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง ตามมาตรา 24 ได้แก่การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 24(1) หรือ (2) คือการกระทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือการนำออกโฆษณาซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 กรณีที่สองเป็นกรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 27 ได้แก่การกระทำบางอย่างที่มิใช่เป็นการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอย่างเช่น กรณีมาตรา 24 แต่เป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(1) ถึง (4) แก่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอีกต่อหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้จึงต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานนั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานหนังสือคู่มือครูคณิตศาสตร์ช่าง อุตสาหกรรม1,2 และ 3 ตามเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 จำเลยทั้งห้าได้ทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ดังกล่าว คือร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 โดยลอกเลียนจากหนังสือเอกสารหมาย จ.1ถึง จ.3 และศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานหนังสือเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 จำเลยทั้งห้าร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือเอกสารหมาย จ.5 และเฉพาะจำเลยที่ 1ที่ 2 ยังได้จัดพิมพ์หนังสือเอกสารหมาย จ.4 โดยลอกเลียนดัดแปลงจากหนังสือเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ก่อน ดังนี้เท่ากับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งห้าได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ เป็นกรณีจำเลยทั้งห้าทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยตรงตามมาตรา 24.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้ว่างานนั้นละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การกระทำโดยตรงหรือทางอ้อมก็ถือเป็นการละเมิดได้
การละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มีได้ 2 กรณี คือ กรณีที่เป็นการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงตามมาตรา 24 ซึ่งได้แก่การกระทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือการนำออกโฆษณาซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 กับกรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27ซึ่งได้แก่การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(1)ถึง (5) แต่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27จึงต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานนั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์มี 2 กรณี: ละเมิดโดยตรง (มาตรา 24) หรือโดยอ้อม (มาตรา 27) โดยต้องพิสูจน์เจตนาของผู้กระทำ
การละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มีได้ 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงตามมาตรา 24 ได้แก่ การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา (1) หรือ (2) คือ การกระทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือการนำออกโฆษณา ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 กรณีที่สอง เป็นกรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27 ได้แก่การกระทำบางอย่างที่มิใช่การทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง แต่เป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(1) ถึง (4)แก่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอีกต่อหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้จึงต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานนั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4335/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์: การพิสูจน์สถานะภาคีของอังกฤษในกรรมสารกรุงเบอร์ลิน และการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ประเทศอังกฤษได้นำเมืองฮ่องกงเข้าเป็นภาคีของกรรมสารกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1908 หรือไม่อันจะเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 หรือไม่ นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายคือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 มาตรา 42 ฎีกาจำเลยที่โต้เถียงว่า เมืองฮ่องกงเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของประเทศจีน ไม่เป็นภาคีในกรรมสารกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1908 นั้น เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังมาแล้ว จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะภาคีอนุสัญญาลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: ข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ด้วยว่า เมืองฮ่องกงเป็นภาคีในอนุสัญญาแห่งกรุงเบอร์นพ.ศ. 2429 ด้วย การที่เมืองใดหรือประเทศใดเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาว่าเมืองฮ่องกงไม่เป็นภาคีในอนุสัญญาแห่งกรุงเบอร์น พ.ศ. 2429เพราะประเทศอังกฤษมิได้ประกาศให้เข้าเป็นภาคีด้วยนั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ประกอบการค้าต้องตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าก่อนจำหน่าย
หนังสือของกลางจำนวน 91 เล่ม ที่จำเลยขายหรือเสนอขาย พิมพ์ลอกเลียนจากหนังสือฉบับแท้จริงของกระทรวงศึกษาธิการผู้เสียหายมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือฉบับแท้จริงอย่างเห็นได้ชัด จำเลยเป็นพ่อค้าประกอบอาชีพจำหน่ายหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดมานานประมาณ20 ปีแล้ว มีร้านค้าของตนเองและเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือแบบเรียนขององค์การค้าของคุรุสภา จำเลยย่อมมีความรู้ความเข้าใจมีประสบการณ์และความชำนาญในการตรวจตราหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ ที่สั่งมาจำหน่ายในร้านค้าของตนว่าถูกต้องหรือไม่ จำเลยได้รู้เห็นหนังสือของกลางนั้นอยู่แล้วว่าไม่ใช่เป็นหนังสือแบบเรียนหรือแบบฝึกหัดที่แท้จริงของผู้เสียหาย และย่อมสังเกตเห็นว่าหนังสือของกลางดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือของผู้เสียหายที่จำเลยเคยสั่งซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภา ซึ่งผู้เสียหายสงวนลิขสิทธิ์ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลยขายหรือเสนอขายหนังสือของกลางจำนวน 91 เล่มนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยมีความรู้และประสบการณ์ในการค้า ย่อมทราบถึงความแตกต่างของหนังสือปลอม
หนังสือของกลางจำนวน 91 เล่ม ที่จำเลยขายหรือเสนอขายพิมพ์ลอกเลียนจากหนังสือฉบับแท้จริงของกระทรวงศึกษาธิการผู้เสียหาย มีลักษณะแตกต่างจากหนังสือฉบับแท้จริงอย่างเห็นได้ชัด จำเลยเป็นพ่อค้าประกอบอาชีพจำหน่ายหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดมานานประมาณ 20 ปีแล้ว มีร้านค้าของตนเองและเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือแบบเรียนขององค์การค้าของคุรุสภา จำเลยย่อมมีความรู้ความเข้าใจมีประสบการณ์และความชำนาญในการตรวจตราหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ ที่สั่งมาจำหน่ายในร้านค้าของตนว่าถูกต้องหรือไม่จำเลยได้รู้เห็นหนังสือของกลางนั้นอยู่แล้วว่าไม่ใช่เป็นหนังสือแบบเรียนหรือแบบฝึกหัดที่แท้จริงของผู้เสียหาย และย่อมสังเกตเห็นว่าหนังสือของกลางดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือของผู้เสียหาย ที่จำเลยเคยสั่งซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภา ซึ่งผู้เสียหายสงวน ลิขสิทธิ์ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลยขายหรือเสนอขายหนังสือของกลาง จำนวน 91 เล่มนั้น โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดย ละเมิด ลิขสิทธิ์ ของผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 27.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6182/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มิใช่การลอกเลียนแบบจากธรรมชาติหรือผู้อื่น
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 6 บัญญัติให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นและมาตรา 4 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ผู้สร้างสรรค์" ไว้ว่าหมายถึง ผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยความคิดริเริ่มของตนเอง จากคำจำกัดความดังกล่าวผู้ที่จะได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างสรรค์นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ทำหรือก่อให้เกิดงานขึ้นจากความคิดริเริ่มด้วยตนเองมิใช่เป็นการลอกเลียนแบบจากของจริง จากธรรมชาติ หรือลอกเลียนแบบจากงานของผู้อื่นทั้งที่ปรากฏเป็นรูปร่างหรือภาพถ่าย
งานที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีลิขสิทธิ์ตามฟ้องนั้น เป็นงานที่เกิดจากการถอดรูปแบบมาจากของจริงตามธรรมชาติบ้าง ลอกเลียนแบบจากความคิดริเริ่มของผู้อื่นที่ได้สร้างสรรค์ไว้แล้วบ้าง และลอกเลียนแบบจากนิตยสารอื่น ๆ บ้าง งานของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นโดยความคิดริเริ่มของโจทก์เองโจทก์จึงมิใช่ผู้สร้างสรรค์ตามความหมายแห่งมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 จึงไม่มีลิขสิทธิ์ในแบบรูปปั้นหล่อทองเหลืองตามฟ้อง.
งานที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีลิขสิทธิ์ตามฟ้องนั้น เป็นงานที่เกิดจากการถอดรูปแบบมาจากของจริงตามธรรมชาติบ้าง ลอกเลียนแบบจากความคิดริเริ่มของผู้อื่นที่ได้สร้างสรรค์ไว้แล้วบ้าง และลอกเลียนแบบจากนิตยสารอื่น ๆ บ้าง งานของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นโดยความคิดริเริ่มของโจทก์เองโจทก์จึงมิใช่ผู้สร้างสรรค์ตามความหมายแห่งมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 จึงไม่มีลิขสิทธิ์ในแบบรูปปั้นหล่อทองเหลืองตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6182/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ต้องเกิดจากความคิดริเริ่มของตนเอง การลอกเลียนแบบจากธรรมชาติหรือผู้อื่นไม่ถือเป็นงานสร้างสรรค์
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 6 บัญญัติให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ ขึ้น และมาตรา 4ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ผู้สร้างสรรค์" ไว้ว่า หมายถึง ผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยความคิดริเริ่มของตนเอง จากคำจำกัดความดังกล่าวผู้ที่จะได้ชื่อ ว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ นั้น จะต้องเป็นผู้ที่ทำหรือก่อให้เกิดงานขึ้นจากความคิดริเริ่มด้วยตนเอง มิใช่เป็นการลอกเลียนแบบจากของจริงจากธรรมชาติ หรือลอกเลียนแบบจากงานผู้อื่น ทั้งที่ปรากฏเป็นรูปร่างหรือภาพถ่าย งานที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีลิขสิทธิ์ตามฟ้องนั้น เป็นงานที่เกิดจากการถอด รูปแบบมาจากของจริงตามธรรมชาติบ้าง ลอกเลียนแบบจากความคิดริเริ่มของผู้อื่นที่ได้สร้างสรรค์ ไว้แล้วบ้าง และลอกเลียนแบบจากนิตยสารอื่น ๆ บ้าง งานของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นงานที่โจทก์สร้างสรรค์ ขึ้นโดยความคิดริเริ่มของโจทก์เอง โจทก์จึงมิใช่ผู้สร้างสรรค์ ตามความหมายแห่งมาตรา 4ของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 จึงไม่มีลิขสิทธิ์ในแบบรูปปั้นหล่อทองเหลืองตามฟ้อง.