พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คพิพาทร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยมีระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาในข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7255/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การฟ้องต้องยื่นต่อศาลที่มีภูมิลำเนาหรือสถานที่ประกอบธุรกิจของลูกหนี้
เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด มิใช่หนี้ร่วมที่จำเลยทั้งเจ็ดต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ หากแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์ มูลความแห่งคดีที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาจึงเป็นการชำระหนี้ที่อาจแบ่งแยกจากกันได้ หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนี้ โจทก์จะเสนอคำฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดรวมมาในคดีเดียวกันมิได้
การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7ไว้พิจารณาโดยขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 150 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153และเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นก่อนศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6และที่ 7 ถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีสำหรับจำเลยดังกล่าวซึ่งอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14 (5)
การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7ไว้พิจารณาโดยขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 150 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153และเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นก่อนศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6และที่ 7 ถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีสำหรับจำเลยดังกล่าวซึ่งอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7255/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลในคดีล้มละลาย: การฟ้องต้องยื่นต่อศาลที่มีภูมิลำเนาหรือธุรกิจของลูกหนี้
เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด มิใช่หนี้ร่วมที่จำเลยทั้งเจ็ดต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ หากแต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์มูลความแห่งคดีที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษา จึงเป็นการชำระหนี้ที่อาจแบ่งแยกจากกันได้ หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนี้ โจทก์จะเสนอคำฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดรวมมาในคดีเดียวกันมิได้
การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ไว้พิจารณาโดยขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 และเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นก่อนศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีสำหรับจำเลยดังกล่าว ซึ่งอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(5)
การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ไว้พิจารณาโดยขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับคำฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 และเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นก่อนศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีสำหรับจำเลยดังกล่าว ซึ่งอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: หนี้ร่วม, การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้, และผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วม
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ขายทอดตลาดทรัพย์ คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ทั้งข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงว่า จำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน เป็นหนี้โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งรวมกันเดือนละ 25,000 บาท แต่เมื่อลำพังแต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวยังไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งโจทก์ไม่สามารถยึดเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ และนอกจากจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์ในคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดอีก 2 คดี เป็นเงินรวมกันประมาณ1,000,000 บาท ซึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะได้นำเงินไปวางศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้วคดีหนึ่งแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดและหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน ร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์แม้โจทก์ยังมิได้นำยึดทรัพย์ของพวกจำเลยทั้งสองดังกล่าว แต่เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วโจทก์จึงนำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ แม้การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ และคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด เมื่อไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดด้วยกัน
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน เป็นหนี้โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งรวมกันเดือนละ 25,000 บาท แต่เมื่อลำพังแต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวยังไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งโจทก์ไม่สามารถยึดเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ และนอกจากจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์ในคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดอีก 2 คดี เป็นเงินรวมกันประมาณ1,000,000 บาท ซึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะได้นำเงินไปวางศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้วคดีหนึ่งแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดและหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน ร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์แม้โจทก์ยังมิได้นำยึดทรัพย์ของพวกจำเลยทั้งสองดังกล่าว แต่เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วโจทก์จึงนำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ แม้การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ และคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด เมื่อไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดด้วยกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7225/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัวและสิทธิในการสืบพยานของผู้ล้มละลาย
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ร่วมคนใดล้มละลายหรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะทนายความจำเลยทั้งสามไม่มาศาลและไม่มีพยานมาสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2539 เวลา 1 นาฬิกา เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งได้แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งไว้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้สืบพยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปอีกไม่ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะทนายความจำเลยทั้งสามไม่มาศาลและไม่มีพยานมาสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2539 เวลา 1 นาฬิกา เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งได้แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งไว้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้สืบพยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดกของลูกหนี้ แม้ยังมิได้แบ่งปัน
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เมื่อ จ.ถึงแก่กรรมไปโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด ที่ดินพิพาทจึงย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายรวมทั้งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ จ. จำเลยที่ 2 จึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแปลงนี้ด้วย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีตามที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ อันเป็นการยึดทรัพย์สินโดยชอบแล้ว แม้ที่ดินพิพาทยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างจำเลยที่ 2 กับทายาทอื่นก็ไม่ทำให้การยึดทรัพย์ต้องเสียไปเพราะเป็นเรื่องที่ทายาทอื่น ๆ จะร้องขอส่วนแบ่งหรือร้องขอให้กันเงินส่วนของตนออกเมื่อขายทรัพย์แล้วต่อไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2ย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่อนุญาตขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับทรัพย์มรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ยังไม่ได้แบ่งปัน
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เมื่อ จ.ถึงแก่กรรมไปโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด ที่ดินพิพาทจึงย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายรวมทั้งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ จ. จำเลยที่ 2 จึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแปลงนี้ด้วย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีตามที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ อันเป็นการยึดทรัพย์สินโดยชอบแล้ว แม้ที่ดินพิพาทยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างจำเลยที่ 2 กับทายาทอื่นก็ไม่ทำให้การยึดทรัพย์ต้องเสียไปเพราะเป็นเรื่องที่ทายาทอื่น ๆ จะต้องขอส่วนแบ่งหรือร้องขอให้กันเงินส่วนของตนออกเมื่อขายทรัพย์แล้วต่อไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่อนุญาตขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6139/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อลูกหนี้พ้นจากงานครั้งแรก แม้จะกลับเข้าทำงานใหม่ และก่อความเสียหาย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้
ส. เข้าทำงานกับโจทก์ทั้งสองครั้ง สัญญาค้ำประกัน ส. ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์เป็นการค้ำประกันการเข้าทำงานครั้งแรก เมื่อโจทก์ยอมรับว่าการทำงานครั้งแรกของ ส. มิได้ทำความเสียหายให้โจทก์ เมื่อ ส. เลิกทำงานกับโจทก์ครั้งแรกสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นผลผูกพัน ต่อมา ส. เข้าทำงานกับโจทก์ใหม่และก่อความเสียหายให้โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีความผูกพันใด ๆ ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้เดิม แม้จำเลยจะทำหนังสือรับสภาพหนี้หลังจากที่ ส. ทำละเมิดให้แก่โจทก์ก็ตาม จำเลยหาต้องผูกพันชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้แต่อย่างใดไม่เพราะไม่มีมูลหนี้ที่จะให้จำเลยรับสภาพหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6064/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คเพื่อชำระหนี้: ผู้ออกเช็คไม่จำเป็นต้องเป็นลูกหนี้โดยตรง
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่มีมูล ให้ยกฟ้องโจทก์โจทก์อุทธรณ์ว่า แม้จำเลยจะมิได้เป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมายจ.1 แต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ กฎหมายมิได้บัญญัติว่าผู้ออกเช็คจะต้องเป็นลูกหนี้ เมื่อจำเลยยอมออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวรวมทั้งหนี้ของจำเลย จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเป็นการอุทธรณ์ว่าเช็คที่ออกในลักษณะดังกล่าวผู้ออกเช็คมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 หรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาอุทธรณ์ของโจทก์นี้จะต้องนำมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวมาปรับบทว่า เช็คที่ออกในลักษณะดังกล่าวเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้หรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาบังคับคดี: วันหยุดราชการและเจตนาให้ลูกหนี้ชำระหนี้
คำว่า "ลักษณะนี้" ใน ป.พ.พ.มาตรา 193/1 คือลักษณะ 5ของบรรพ 1 ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม แต่ใช้บังคับในเรื่องการนับระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.ด้วย และแม้ ป.วิ.พ.มาตรา 273วรรคสาม จะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วย กรณีต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ
ป.วิ.พ.มาตรา 276 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี
ป.วิ.พ.มาตรา 276 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี