พบผลลัพธ์ทั้งหมด 224 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าซื้อทวงถาม และความรับผิดของผู้ค้ำประกันเสมือนลูกหนี้ร่วม
ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระมิใช่ค่าเช่าซื้อ สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่ตก อยู่ ในบังคับอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(6) กรณีต้องบังคับตามอายุความทั่วไปซึ่งกำหนดไว้ 10 ปี เมื่อจำเลยผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตน เสมือนเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้เช่าซื้อ จำเลยก็มีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายและตามสัญญาเช่นเดียวกับผู้เช่าซื้อ รวมทั้งต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อแก่โจทก์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำและการรับผิดของลูกหนี้ร่วม/ผู้ค้ำประกัน
จำเลยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท โดยมี ว.เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและ ว. ได้มอบใบฝากประจำจำนวนเงิน 500,000 บาท จำนำเป็นประกันไว้ด้วย สัญญาค้ำประกัน ข้อ 9 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด... ให้ผู้กู้มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้... โดยไม่ต้องบอกกล่าว หากไม่พอชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมใช้ให้จนครบ ในบันทึกสลักหลังการจำนำใบฝากของ ว. มีความว่า เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้ หากลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร ผู้จำนำยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้รับจำนำหักเงินฝากที่จำนำนี้ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยจนครบโดยให้ถือบันทึกสลักหลังนี้เป็นการบอกกล่าวจำนำเช่นนี้ เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนำได้เท่านั้นตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ยังคงมีอยู่ โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้นั้นได้โดยไม่ต้องบังคับจำนำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีร่วมกับบุคคลอื่น แม้คดีความยังไม่ถึงที่สุด
ผู้ร้องรับโอนสิทธิการเช่าที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์พร้อมอาคารมาจากจำเลยและภริยาจำเลย แต่ยังค้างชำระค่าโอนสิทธิการเช่าอยู่อีกจำนวนหนึ่ง หลังจากการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแล้ว ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยหย่ากับภริยา คดียังไม่ถึงที่สุด และภริยาจำเลยฟ้องผู้ร้องให้ชำระค่าโอนสิทธิการเช่าที่ยังคงค้างชำระอยู่นั้น ดังนั้น จำเลยจึงยังเป็นเจ้าของรวมในเงินค่าโอนสิทธิการเช่าที่ยังคงค้างชำระดังกล่าวอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยจึงมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องในค่าโอนสิทธิการเช่าของจำเลยที่มีต่อผู้ร้องดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310(3) ประกอบด้วย มาตรา 311 แม้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจะยังพิพาทเป็นคดีกันอยู่ระหว่างผู้ร้องกับภริยาจำเลยก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1759/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องของผู้รับจำนองเมื่อมีการบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ร่วม
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของภริยาจำเลยที่ 2เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องคัดค้านว่าจำเลยที่ 2 เป็นหนี้ผู้ร้องตามสัญญากู้ โดยภริยาจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินแปลงที่โจทก์นำยึดเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ ขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวชำระหนี้ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น ดังนี้ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดชำระแก่ผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจะอาศัยอำนาจแห่งการจำนองบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของภริยาจำเลยที่ 2ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 หาได้ไม่ และการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: สิทธิของลูกหนี้ร่วมและเจตนาสุจริตของธนาคาร
ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมร่วมกัน โดยตกลงชำระหนี้ให้แก่ธนาคารให้ครบถ้วนภายใน 6 เดือน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินมีโฉนดไว้แก่ธนาคารดังกล่าว เพื่อเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และบริษัท ย. ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด ดังนี้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะธนาคารเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 หรือผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้โดยไม่จำต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน หากผู้ร้องเห็นว่า จำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ ก็ชอบที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องในฐานะลูกหนี้ร่วมยังมิได้ชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1 เอาที่ดินไปจำนองก็ไม่เป็นการกระทำทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้ผู้ร้องซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เสียเปรียบ ประกอบกับจำเลยที่ 1 นำที่ดินไปจำนองเพื่อกิจการค้าของห้าง ฯ และบริษัท ฯ ที่ตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการอยู่ โดยไม่มีเหตุส่อแสดงว่าธนาคารรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตและรู้อยู่ว่า เป็นทางทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ กรณีจึงไม่เข้าข่ายที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: สิทธิลูกหนี้ร่วมและการกระทำโดยสุจริตของเจ้าหนี้
ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมร่วมกันโดยตกลงชำระหนี้ให้แก่ธนาคารให้ครบถ้วนภายใน 6 เดือน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินมีโฉนดไว้แก่ธนาคารดังกล่าว เพื่อเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และบริษัท ย. ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด ดังนี้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะธนาคารเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 หรือผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้โดยไม่จำต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน หากผู้ร้องเห็นว่า จำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ ก็ชอบที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องในฐานะลูกหนี้ร่วมยังมิได้ชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1เอาที่ดินไปจำนองก็ไม่เป็นการกระทำทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้ผู้ร้องซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เสียเปรียบ ประกอบกับจำเลยที่ 1นำที่ดินไปจำนองเพื่อกิจการค้าของห้าง ฯ และบริษัท ฯ ที่ตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการอยู่ โดยไม่มีเหตุส่อแสดงว่าธนาคารรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตและรู้อยู่ว่าเป็นทางทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ กรณีจึงไม่เข้าข่ายที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผ่อนเวลาหนี้ต่อผู้ค้ำประกัน และขอบเขตความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม
ปัญหาว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่1ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่3หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่3รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา113และมาตรา368นั้นจำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน100,000บาทโดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้วผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน100,000บาทข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมหมายถึงในจำนวนเงิน100,000บาทจะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินจำเลยที่3ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่3เมื่อใดจำเลยที่3จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่บิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า: ลูกหนี้ร่วม, สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดู
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ในลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน
สามีภริยาหย่าขาดจากกันและตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ตกลงกันว่าฝ่ายที่ปกครองบุตรนั้นจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่ฝ่ายเดียว ดังนี้ ฝ่ายที่ปกครองบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่วันหย่าจนถึงวันฟ้องเพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันได้
สามีภริยาหย่าขาดจากกันและตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของฝ่ายหนึ่งโดยมิได้ตกลงกันว่าฝ่ายที่ปกครองบุตรนั้นจะเป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่ฝ่ายเดียว ดังนี้ ฝ่ายที่ปกครองบุตรย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่วันหย่าจนถึงวันฟ้องเพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับลูกหนี้ร่วม ผลกระทบต่อผู้รับประกันภัย
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 คู่กรณีมีเจตนามุ่งหมายที่จะระงับข้อพิพาทที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายร่วมกับจำเลยที่ 1 ใน ฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้าง จึงมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 ในมูลละเมิดระงับสิ้นไปโดยโจทก์ได้สิทธิเรียกร้องใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจำเลยที่ 3 มิได้ร่วมลงชื่อด้วยจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับค่าเสียหายเพียง 17,500 บาท จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องรับผิดต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ย่อมได้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 17,500 บาท
โจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับค่าเสียหายเพียง 17,500 บาท จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องรับผิดต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ย่อมได้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 17,500 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3590/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองร่วม การรับรู้ของลูกหนี้ร่วม และขอบเขตความรับผิดจำนอง
โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยทุกคนตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในสัญญาจำนองด้วย การจำนองของจำเลยเป็นการจำนองร่วมกัน ดังนั้น แม้จำเลยบางคนอาจไม่ได้รับคำบอกกล่าว แต่เมื่อจำเลยอื่นได้รับทราบคำบอกกล่าวบังคับจำนองจากโจทก์แล้ว ก็มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยทุกคนย่อมต้องทราบเช่นกัน การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว