คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเจ้าหนี้ที่รับโอนกิจการธนาคารในคดีล้มละลาย: ข้อจำกัดการขอรับชำระหนี้จากหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนโอน
แม้การโอนกิจการของธนาคาร ม. ให้แก่เจ้าหนี้ที่จะมีผลบังคับตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ (ฉบับที่ 4)ฯมาตรา 38 จัตวา วรรคสอง(3) โดยเฉพาะในส่วนที่จำเป็นต้องดำเนินการที่เกี่ยวข้องในมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ให้ได้รับยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มีเจตนารมณ์เพียงมิให้นำมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาใช้บังคับแก่เจ้าหนี้ที่รับโอนกิจการสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดจากธนาคาร ม. โดยมิให้อ้างว่าเป็นการยอมให้ธนาคาร ม. กระทำโอนขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ธนาคารผู้โอนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ได้เท่านั้น มิได้มุ่งหมายไปถึงหนี้ที่เกิดจากธนาคาร ม. ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อได้รู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งเจ้าหนี้รับโอนมาแล้วจะมีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่อย่างใด หนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ(ฉบับที่ 4)ฯ มาตรา 38 จัตวา วรรคสอง(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้ย้อนหลังของ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กับคดีล้มละลายที่ฟ้องก่อนกฎหมายมีผลใช้บังคับ
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) ฯ มาตรา 35 บัญญัติให้บุคคลธรรมดาที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อครบ 3 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวก็มีผลบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งนอกจากจะไม่มีบทบัญญัติให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้ว มาตรา 34 ยังบัญญัติให้บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดังนั้น จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 35 มาใช้บังคับย้อนหลังแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้บริหารแผน, การปรับโครงสร้างหนี้, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย
ในการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของศาล พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/57 บัญญัติว่า "ให้ศาลพิจารณาคำชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ทำแผน รวมทั้งข้อคัดค้านของลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิออกเสียงตามมาตรา 90/30 ซึ่งไม่ได้ลงมติยอมรับแผน" ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ศาลพิจารณาข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ด้วยแต่มิได้บังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้เสมอไป จึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาเห็นสมควรเป็นเรื่องๆ ไป เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการ คำชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ทำแผน รวมทั้งข้อคัดค้านของเจ้าหนี้มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดชัดเจนเพียงพอแก่การพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้งดการไต่สวนจึงชอบแล้ว
แม้ช. จะมีฐานะเป็นกรรมการลูกหนี้และมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ด้วยก็ตามแต่เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดกลุ่มเจ้าหนี้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. เจ้าหนี้มีประกันรายใหญ่ คือบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน 2. เจ้าหนี้ไม่มีประกันรายย่อย คือ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 3. เจ้าหนี้ไม่มีประกันในฐานะเจ้าหนี้เงินให้กู้ยืม คือ ช. และแผนได้กำหนดวิธีการชำระหนี้ให้แก่จเานี้ทั้งสี่กลุ่มโดยปรับลดภาระหนี้ดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 1.62 ส่วนภาระหนี้เงินต้นจะชำระโดยโอนหุ้นบริษัท ส. มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นบริษัท บ. มูลค่าหุ้นละ 18 บาท ชำระหนี้ส่วนหนึ่ง จัดสรรหุ้นกู้ไม่มีประกันของลูกหนี้ มูลค่าหุ้นละ 10 ชำระหนี้อีกส่วนหนึ่ง และจะทยอยชำระหนี้ส่วนที่เหลือด้วยเงินสดภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการโดยไม่มีดอกเบี้ย ตามแผนฟื้นฟูกิจการข้อ 6.2 ถึง 6.4 และเอกสารแนบท้ายหมายเลข 3 ถึง 6 ถือได้ว่าเจ้าหนี้ทุกรายได้รับการปฏิบัติชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้เท่าเทียมกัน ช. ไม่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากทรัพย์สินของลูกหนี้โดยทางตรงหรือทางอ้อม นอกจากประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะควรได้รับในฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ดังนั้น ช. จึงชอบที่จะออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 34 วรรคสาม ประกอบมาตรา 90/2 วรรคสอง
การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ โดยโอนหุ้นบริษัท ส. มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นบริษัท บ. มูลค่าหุ้นละ 18 บาท และจัดสรรหุ้นกู้ไม่มีประกันของลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้บางส่วน หากหุ้นดังกล่าวมีราคา ณ วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการอันจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ครบจำนวนตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ แต่การโอนหุ้นและออกหุ้นกู้ดังกล่าวก็ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดทั้งนี้เพราะแผนฟื้นฟูกิจการข้อ 6.6 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า "ภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้โดยการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองเพื่อชำระเงินต้นค้างชำระตามแผน เจ้าหนี้ตามแผนยังคงมีสิทะในทางจำนองและจำนำเหนือทรัพย์หลักประกันตามสัญญาเดิมและ/หรือสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้เงินต้นค้างชำระตามแผน ทั้งนี้การดำเนินการตามแผนฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ดังนั้นตราบใดที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามรายละเอียดที่กำหนดในแผน ภาระหนี้ของลูกหนี้ที่กำหนดในแผนที่มีต่อเจ้าหนี้แต่ละรายตามสัญญาเดิมยังไม่ระงับไป และหลักประกันเดิมของเจ้าหนี้ประเภทจำนอง จำนำ ค้ำประกันและหลักประกันประเภทอื่นๆ ของลูกหนี้ (ถ้ามี) ยังคงมีผลผูกพันลูกหนี้ บุคคลภายนอกและเจ้าหนี้" ซึ่งสอดคล้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสองที่บัญญัติว่า "คำสั่งของศาลซึ่เห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน หรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและไม่มีผลให้บุคคลเช่นว่านั้นต้องรับผิดในหนี้ที่ที่ก่อขึ้นตามแผนตั้งแต่วันดังกล่าว เว้นแต่บุคคลเช่นว่านั้นจะยินยอมโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย"
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/16 บัญญัติว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของการฟื้นฟูกิจการ รัฐมนตรีจะออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนและการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนก็ได้" ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 รัฐมนตรีได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนและการกำหนดคุณสมบัติผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ พ.ศ. 2545 แล้วก็ตาม แต่มีบทเฉพาะกาลมิให้ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่มีการยื่นคำร้องของฟื้นฟูกิจการก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ดังนั้น ศาลจึงต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้บริหารแผนตามหลักกฎหมายทั่วไปและความเหมาะสมในกิจการแต่ละรายไปเมื่อพิจารณาเอกสารแนบท้ายแผนฟื้นฟูกิจการหมายเลข 8 ซึ่งระบุชื่อและคุณสมบัติของผู้ทำแผนตลอดจนผู้บริหารแผนและคณะทำงานของผู้บริหารแล้ว ผู้ทำแผนมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจรับเป็นผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน และให้คำแนะนำหรือการใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการฟื้นฟูกิจการของผู้อื่น และผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารแผนและคณะทำงานของผู้บริหารต่างมีความรู้ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท มีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาทางการเงินประธานกรรมการและกรรมการในบริษัทต่างๆ หลายแห่งด้วยกัน จึงน่าเชื่อว่าผู้บริหารแผนและคณะทำงานของผู้บริหารแผนมีความรู้ ความสามารถและความชำนาญทางด้านการบริหารงานพอสมควรแล้ว แม้ผู้บริหารแผนและคณะทำงานของผู้บริหารแผนจะเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับกรรมการของลูกหนี้ซึ่งทำให้ลูกหนี้ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากรรมการของลูกหนี้บริหารงานหรือกระทำการทุจริตอันไม่ควารได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้บริหารแผน ข้ออ้างของเจ้าหนี้ที่ว่าผู้บริหารและคณะทำงานของผู้บริหารแผนเป้นบุคคลกลุ่มเดียวกับกรรมการของลูกหนี้จึงไม่เหมาะสมที่จะบริหารงานตามแผนต่อไปจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังว่าผู้บริหารแผนและคณะทำงานของผู้บริหารแผนไม่อาจปฏิบัติการตามแผนผื้นฟูกิจการให้ประสบผลสำเร็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะทางการเงินของจำเลยเพียงพอต่อการชำระหนี้ ไม่สมควรให้ล้มละลาย
จำเลยประกอบกิจการรับจ้างทำสื่อโฆษณามาตั้งแต่ปี 2535 และในปัจจุบันยังประกอบการเป็นปกติ แม้ในช่วงระหว่างปี 2540 ถึง 2542 ผลประกอบการยังขาดทุนแต่ก็สามารถลดยอดขาดทุนลงได้มากในปี 2542 ส่วนผลประกอบการในปี 2543 ดีขึ้นมาก โดยจำเลยยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 เพื่อชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งของรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2543 มียอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนปีปัจจุบันที่ยื่นแสดงรายการไว้สูงถึง50,779,121.63 บาท และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด. 1 ก.) กับได้ชำระภาษีสำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม 2543 เป็นเงินประมาณ 700,000 บาท แม้เอกสารหนังสือเสนอขอชำระหนี้แก่โจทก์จะมิใช่เอกสารทางบัญชีที่แสดงรายได้และผลกำไรในปี 2543 แต่สามารถนำมาพิจารณาประกอบเพื่อแสดงถึงสถานภาพของจำเลยว่าการประกอบกิจการของจำเลยยังสามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยดี ประกอบกับโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้หลังจากศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เพียง 1 ปีเศษและจำเลยเคยยื่นข้อเสนอในการชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนหน้าถูกฟ้องคดีนี้ ซึ่งโจทก์ก็มิได้โต้แย้งว่าจำเลยมิได้ยื่นข้อเสนอเช่นนั้น แสดงว่าจำเลยมิได้ละเลยในการชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนั้นเมื่อไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นยื่นฟ้องจำเลยและไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานโจทก์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น แสดงว่าจำเลยยังมีความน่าเชื่อถือในการประกอบกิจการและฐานะทางการเงินมิใช่เป็นเพียงการคาดคะเน ฉะนั้น เมื่อจำเลยยังประกอบกิจการอยู่เป็นปกติ ยังมีรายได้และผลกำไร จึงอยู่ในวิสัยและมีลู่ทางที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ กรณียังมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, ประกันภัย, ล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายยังคงอยู่แม้มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถไปจากโจทก์ โดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เอาประกันภัยระบุให้โจทก์เป็น ผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยนั้น สัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้ออันมีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 เพื่อทดแทนความเสียหายให้แก่โจทก์อีกทางหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเพื่อให้ได้รับชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนจากข้อผูกพันตามสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งหรือทั้งสองฉบับจนกว่าจะได้รับครบถ้วน การที่รถที่เช่าซื้อประสบอุบัติเหตุเสียหายจนซ่อมแซมไม่ได้ และโจทก์ได้เข้าถือเอาผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัย แต่ผู้รับประกันภัยถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ดังกล่าว ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าการเข้าถือเอาประโยชน์ของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยได้รับชดใช้ค่าเสียหายแล้ว เพราะการยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นเพียงการปฎิบัติตามขั้นตอนที่บังคับไว้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายเพื่อรักษา สิทธิเรียกร้องเอาไว้และเป็นการไม่แน่นอนว่าจะได้รับชำระหนี้ เพราะคำขออาจถูกยกหรืออนุญาตทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนก็ได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597-5598/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผนฟื้นฟูกิจการ: ศาลยืนชอบด้วยกฎหมายเมื่อเจ้าหนี้ได้รับประโยชน์มากกว่าการล้มละลาย
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/30 นำมาใช้กับการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการด้วย ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจสั่งให้เจ้าหนี้งดออกเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ได้ แต่การงดออกเสียงในที่ประชุมคงมีผลเฉพาะในที่ประชุมเจ้าหนี้ซึ่งเป็นการดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นหามีผลถึงชั้นพิจารณาของศาลด้วยไม่ เพราะในการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของศาลตามมาตรา 90/57 ให้ศาลพิจารณาข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิออกเสียงตามมาตรา 90/30 ซึ่งไม่ได้ลงมติยอมรับแผนด้วย การที่ศาลล้มละลายกลางรับคำร้องคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ 285 ไว้พิจารณาก่อนที่จะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยมาตรา 90/57
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ที่จะให้มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด ไม่ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ภาษีอากรใด ๆ ตามประมวลรัษฎากรหรือตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ก็ตามทั้งนี้เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการชำระสะสางภายใต้กรอบของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จสิ้นไป หากรณีใดซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต้องการให้หนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือหนี้สามัญหรือประสงค์จะคุ้มครองหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษก็จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่หนี้ภาษีอากรที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเป็นกรณีพิเศษแล้ว ภายใต้บังคับมาตรา 90/57(2) ประกอบมาตรา 130(6) สิทธิของเจ้าหนี้รายที่ 285 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ หมวด 3/1 บัญญัติถึงผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะโดยชัดแจ้งแล้วตามมาตรา 90/60วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 56 และ 77 มาใช้โดยอนุโลมได้
แผนฟื้นฟูกิจการเป็นเพียงข้อตกลงร่วมกันของบรรดาเจ้าหนี้ ลูกหนี้เกี่ยวกับวิธีการในการชำระหนี้ ตลอดจนการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ หมวด 3/1 การที่เจ้าหนี้อุทธรณ์คัดค้านว่าแผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 และมิใช่กรณีต้องดำเนินการตามมาตรา 264 เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการเป็นไปตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่าบทบัญญัติมาตรา 90/58 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยกฎหมาย และศาลย่อมใช้ดุลพินิจให้ความเห็นชอบด้วยแผนดังกล่าวได้
ในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลางเจ้าหนี้ได้ยกปัญหาว่า แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีรายการไม่ครบถ้วนตามมาตรา 90/42หรือไม่ ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการไม่เป็นไปตามลำดับกฎหมายว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายหรือไม่ และแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า เมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่มาในคำร้องคัดค้านแล้ว เมื่อปัญหาทั้งสามข้อเป็นเหตุสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาแผนการที่ศาลล้มละลายกลางไม่ได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตามข้อกำหนดคดีล้มละลายฯ
กระบวนการฟื้นฟูกิจการหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตามมาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายได้กำหนดให้แผนต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบดุลพินิจให้ตรวจสอบว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผนตลอดจนโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผน มิใช่พิจารณาแต่เพียงตรวจสอบรายการต่าง ๆ ว่ามีครบถ้วนตามรูปแบบหรือไม่ แผนฟื้นฟูกิจการของผู้ทำแผนมีรายละเอียดในแผนตั้งแต่ส่วนที่ 2 เหตุผลที่ทำให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ถึงส่วนที่ 15 ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายรวมตลอดทั้งเอกสารที่แนบมากับแผน แผนฟื้นฟูกิจการจึงมีรายการและรายละเอียดครบถ้วนตามมาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58(1)และวรรคสองแล้ว
การฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติเฉพาะเรื่องกลุ่มเจ้าหนี้ไว้ตามมาตรา 90/42 ทวิ(3)ว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจจัดได้เป็นหลายกลุ่ม และมาตรา 90/42 ตรี กำหนดว่าสิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่กลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน ดังนั้นหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) มิใช่ว่าเจ้าหนี้ในลำดับเดียวกันจะต้องแบ่งเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อผู้ทำแผนได้จัดให้เจ้าหนี้ไม่มีประกันซึ่งอยู่ในลำดับตามมาตรา 130(7) ออกเป็น 7 กลุ่ม จัดให้เจ้าหนี้รายที่ 287 อยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้ไม่มีประกันกลุ่มที่ 4 ข้อเสนอของผู้ทำแผนในการชำระหนี้และกำหนดเงื่อนไขในการชำระหนี้ย่อมผิดแผกแตกต่างกันไปตามข้อเท็จจริงและเหตุผลไม่ถือว่าข้อเสนอในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ไม่มีประกันไม่เท่าเทียมกัน แต่สิทธิของเจ้าหนี้รายที่ 287 ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 4 ชอบที่จะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน จะนำสิทธิของเจ้าหนี้ไม่มีประกันในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาเปรียบเทียบกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4851/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองหลังล้มละลาย: นิติกรรมเป็นโมฆะ เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้โดยตรง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24 และ 25 การที่บุคคลล้มละลายจำนองที่ดินของตนแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นภายหลังที่ศาลได้พิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อันมีผลผูกพันในที่ดินที่จะต้องถูกบังคับคดีในที่สุดหากไม่ชำระหนี้ และฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะไม่ได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นิติกรรมจำนองจึงตกเป็นโมฆะ มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย แม้หากการกระทำของลูกหนี้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์และมีหนี้ที่จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่หนี้ดังกล่าวก็เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์ไม่มีอาจนำมาขอยื่นรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27,91 และ 94 โจทก์ชอบที่จะฟ้องลูกหนี้เป็นจำเลยโดยตรง โจทก์จะฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ยืนยันหลักการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย การชำระหนี้ตามลำดับบุริมสิทธิ และการใช้ดุลพินิจของศาล
การร้องคัดค้านการจัดกลุ่มเจ้าหนี้จะต้องร้องภายในกำหนดระยะเวลาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง กำหนดไว้ คือภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รับสำเนาแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้แล้ว แต่มายื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเกินกำหนดเวลา 7 วันนับแต่วันดังกล่าว เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งจัดกลุ่มเจ้าหนี้เสียใหม่ตามคำร้องคัดค้านได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ตรี แผนฟื้นฟูกิจการต้องกำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้การชำระหนี้ในกลุ่มเอเป็นการชำระหนี้เงินทุนหมุนเวียนซึ่งมีผู้ให้สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่กิจการของกลุ่มลูกหนี้ตามวงเงินสินเชื่อใหม่ที่มีขึ้นตลอดอายุของแผนฯ จะได้รับชำระคืนเป็นลำดับแรกจากกระแสเงินสดของการบริหารกิจการของลูกหนี้ในวงเงินไม่เกิน 40 ล้านบาท ซึ่งธนาคาร ก. เป็นเจ้าหนี้รายเดียวที่ให้เงินทุนหมุนเวียนใหม่จำนวน 15 ล้านบาท หากไม่มีเงินทุนหมุนเวียนใหม่เพื่อปรับสภาพคล่องทางการเงินกิจการของลูกหนี้ก็จะมีปัญหาและต้องปิดกิจการก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการแผนฟื้นฟูกิจการจึงจำเป็นต้องจัดให้เจ้าหนี้เงินทุนหมุนเวียนรายใหม่ดังกล่าวได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ส่วนหนี้ของธนาคาร ก. จำนวน 15,138,768 บาท ซึ่งมิใช่เงินทุนหมุนเวียนใหม่คงได้รับการชำระหนี้ในกลุ่มอีเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ในกลุ่มสถาบันการเงิน แผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยมาตรา 90/42 ตรี
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58(2) หมายความว่า การดำเนินการแบ่งทรัพย์สินจะต้องเป็นไปตามลำดับบุริมสิทธิที่กำหนดไว้ในมาตรา 130(1) ถึง (6) ส่วนหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) จะได้ส่วนแบ่งอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามการจัดกลุ่มเจ้าหนี้และข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการ มิใช่ว่าหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) จะต้องแบ่งส่วนเท่า ๆ กัน มิฉะนั้นแล้วการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ก็จะไม่มีประโยชน์เมื่อเจ้าหนี้ไม่มีประกันทุกรายได้รับการจัดสรรชำระหนี้ต้นเงินเต็มจำนวนแล้ว ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการได้คำนึงถึงหลักการและทรัพย์ที่เป็นภาระจำนองหรือทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักในการประกอบกิจการย่อมได้รับการจัดสรรชำระหนี้ในเรื่องเงื่อนเวลาและดอกเบี้ยดีกว่าเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันใด ๆ แต่สิทธิของเจ้าหนี้ไม่มีประกันที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันเพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการสามารถปฏิบัติไปได้โดยลูกหนี้ไม่ต้องปิดกิจการแผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยมาตรา 90/58(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดการพิจารณาคดีแพ่งเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินอันเกิดจากการผิดสัญญาจะซื้อขาย จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงมีคำขอให้มีการพิจารณาใหม่ การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยนั่นเอง เมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นในระหว่างการพิจารณาหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับของจำเลยว่า จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาแล้วโดยไม่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (4) ซึ่งบัญญัติให้ศาลที่มีการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยงดการพิจารณาไว้และย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาคดีในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาด้วย ดังนั้น การพิจารณาหลักประกันของศาลชั้นต้นตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี หรือการที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี ล้วนถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีอย่างหนึ่งซึ่งต้องงดการพิจารณาไว้ตามบทกฎหมายดังกล่าวด้วยเช่นกัน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการอ่านคำพิพากษาและศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการพิจารณาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องเพิกถอนการพิจารณานั้นเสียทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดการพิจารณาคดีแพ่งเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินอันเกิดจากการผิดสัญญาจะซื้อขายจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงมีคำขอให้มีการพิจารณาใหม่ การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยนั่นเอง เมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นในระหว่างการพิจารณาหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับของจำเลยว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาแล้วโดยไม่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4)ซึ่งบัญญัติให้ศาลที่มีการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยงดการพิจารณาไว้และย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาคดีในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาด้วย ดังนั้นการพิจารณาหลักประกันของศาลชั้นต้นตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี หรือการที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี ล้วนถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีอย่างหนึ่งซึ่งต้องงดการพิจารณาไว้ตามบทกฎหมายดังกล่าวด้วยเช่นกันการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการอ่านคำพิพากษาและศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการพิจารณาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องเพิกถอนการพิจารณานั้นเสียทั้งหมด
of 192