พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ทำให้ไม่สามารถรอการลงโทษได้ แม้โจทก์มิได้บรรยายในฟ้อง
การที่จำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงไม่อาจรอการลงโทษให้จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56 และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้วจึงจะรอการลงโทษให้ไม่ได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้วก็ตาม แต่ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งระบุว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้ว เช่นนี้ ก็ไม่สามารถรอการลงโทษให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1872/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีน ศาลพิจารณาพฤติการณ์และลงโทษตามความผิดฐานครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 77 เม็ด ไว้ในครอบครองอยู่ภายในห้องพักของจำเลยนั้น ถึงแม้มีจำนวนมิใช่น้อย แต่ก็อยู่ในวิสัยที่อาจมีไว้เพื่อเสพเองก็ได้ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ของจำเลยในการครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายคงฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น และศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องได้ เพราะความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำความผิดที่รวมอยู่ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองทั้งตามคำขอท้ายฟ้องยังระบุมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ซึ่งเป็นบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไว้ด้วยแล้ว
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 และ 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และ 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งกฎหมายเดิมและกฎหมายใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้ฉบับเดิมบังคับแก่จำเลยในส่วนนี้ ส่วนบทกำหนดโทษนั้น มาตรา 67 กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดและกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 และ 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และ 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งกฎหมายเดิมและกฎหมายใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้ฉบับเดิมบังคับแก่จำเลยในส่วนนี้ ส่วนบทกำหนดโทษนั้น มาตรา 67 กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดและกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท และการกำหนดค่าทนายความเกินอัตราที่ศาลชั้นต้นกำหนดได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหลายรายการ แม้ผู้ร้องอุทธรณ์ตอนแรกเฉพาะทรัพย์สินบางรายการว่าเป็นของผู้ร้อง ส่วนตอนหลังอุทธรณ์ว่าทรัพย์สินรายการที่เหลือก็เป็นของผู้ร้องโดยซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายในราคาถูก จึงทำให้บิลเงินสดและใบส่งของชั่วคราวไม่มีชื่อร้านผู้จำหน่ายสินค้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ร้อง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าทรัพย์สินบางรายการในตอนหลังของอุทธรณ์เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายถูกรวมอยู่ด้วย หาใช่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์โต้แย้งทรัพย์สินในรายการส่วนที่เหลือไม่ เมื่อมีราคารวมกันเกินกว่าห้าหมื่นบาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์และราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ แม้โจทก์ได้รับเงินบังคับคดีบางส่วนแล้ว
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยต้องนำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
โจทก์ได้รับเงินจำนวน 2,081,182.34 บาท จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วแต่ยังคงเหลือหนี้ที่ขาดอยู่อีก 1,342,867.90 บาท จำเลยจะอ้างว่าเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนได้รวมเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 หาได้ไม่
โจทก์ได้รับเงินจำนวน 2,081,182.34 บาท จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วแต่ยังคงเหลือหนี้ที่ขาดอยู่อีก 1,342,867.90 บาท จำเลยจะอ้างว่าเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนได้รวมเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการว่าความของข้าราชการ: การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับโดยตรง
การที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย การที่ผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้แทนนิติบุคคลมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ในคดีก่อนตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งเช่นนี้หาได้ไม่ เพราะกรณีของผู้ร้องไม่มีกฎหมายสารบัญญัติบทใดสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าธรรมเนียมศาลกับการรับพิจารณาอุทธรณ์: ศาลต้องรับอุทธรณ์หากวางค่าธรรมเนียมครบถ้วน
ในวันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์จำเลยได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมและค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน ก็เป็นเรื่องของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่จะมีคำสั่งต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดโดยไม่แจ้งเหตุ ทำให้ศาลจำหน่ายคดีได้ และไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินกู้ยืมและจำนอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก จำเลยให้การต่อสู้คดี ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ทวิ วรรคหนึ่งได้ กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12413/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การเรียกรับเงินนอกศาลเพื่อวิ่งเต้นล้มคดี ไม่ถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล
หลังจากผู้ร้องเรียนได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาเรียกและรับเงินจากผู้ร้องเรียนจำนวน 120,000 บาท โดยอ้างว่าจะนำไปใช้วิ่งเต้นล้มคดีกับพนักงานอัยการและผู้พิพากษา แต่การเรียกและรับเงินนั้นได้กระทำที่บ้านของผู้ร้องเรียนและที่บ้านของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งอยู่ห่างไกลจากศาลชั้นต้นมาก ไม่มีผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล หรือเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้กระบวนพิจารณาของศาลดำเนินไปโดยเที่ยงธรรมและรวดเร็วส่วนกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามาศาลกับผู้ร้องเรียนทุกนัดนั้นเป็นเพราะผู้ถูกกล่าวหามีภาระหน้าที่ในฐานะผู้รับมอบฉันทะจากนายประกัน ให้นำตัวผู้ร้องเรียนส่งศาลตามสัญญาขอปล่อยชั่วคราว และการพูดกับผู้ร้องเรียนว่าไม่ต้องกลัวถึงอย่างไรก็ไม่ติดคุกสามารถวิ่งเต้นได้อยู่แล้วนั้น ก็เป็นแต่เพียงการปลอบใจผู้ร้องเรียนให้คลายวิตกกังวลในผลคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเกี่ยวโยงเป็นกรรมเดียวกับการเรียกการรับเงินจำนวนดังกล่าวที่เกิดขึ้นนอกบริเวณศาล ดังนั้นแม้การหลอกลวงเรียกรับเงินว่าจะนำไปวิ่งเต้นล้มคดีกับพนักงานอัยการและผู้พิพากษาจะเข้าข่ายเป็นความผิดอาญาร้ายแรง กระทบต่อชื่อเสียงเกียรติคุณของสถาบันในกระบวนการยุติธรรม สมควรที่จะลงโทษให้หลาบจำมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป แต่เมื่อการกระทำความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นนอกบริเวณศาล กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและการมีอำนาจพิจารณาคดี ศาลต้องพิจารณาว่าการประทับฟ้องก่อนหน้านี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามที่ศาลชั้นต้นเป็นศาลแรกไว้แล้ว ต่อมาโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยทั้งสามข้อหาเดียวกันต่อศาลจังหวัดปัตตานี ฟ้องคดีหลังของโจทก์ที่ศาลจังหวัดปัตตานีจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 อันส่งผลให้คำสั่งประทับฟ้องของศาลจังหวัดปัตตานีไม่ชอบไปด้วยกรณีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 (เดิม) ที่ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้ว ต้องเป็นกรณีที่ศาลอื่นรับประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น คดีนี้ศาลจังหวดปัตตานีมีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรมดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ให้จำหน่ายคดีโจทก์และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนมานั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12207/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์อาการป่วยเพื่อขอเลื่อนคดี ศาลมีอำนาจตรวจอาการและไม่อนุญาตเลื่อนหากไม่พิสูจน์ได้
เมื่อศาลสงสัยว่าทนายจำเลยมีอาการป่วยร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้หรือไม่ ศาลมีอำนาจที่จะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปทำการตรวจดูว่าทนายจำเลยป่วยจริงตามคำร้องขอเลื่อนคดีหรือไม่ การที่ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจทนายจำเลย โดยให้แพทย์ตรวจอาการแสดงว่า ศาลมีความสงสัยตามควรแล้วว่าทนายจำเลยจะป่วยเจ็บตามคำร้องถึงกับจะมาศาลไม่ได้จริงหรือไม่ เมื่อทนายจำเลยมีภาระพิสูจน์แต่มิได้พิสูจน์ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนการนั่งพิจารณาและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป จึงชอบแล้ว
ชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ พยานจำเลยซึ่งคือตัวจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่ามีเหตุขัดข้องว่ามีเหตุอันควรอย่างไรจึงมาศาลไม่ได้ จำเลยไม่มีพยานมาสืบโจทก์จึงไม่มีอะไรให้ต้องสืบคัดค้าน คดีเสร็จการพิจารณาและเมื่อศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจึงต้องงดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่และให้ยกคำร้อง เพราะการไต่สวนคำร้องต่อไปจะเท่ากับเป็นการอนุญาตให้ฝ่ายจำเลยเลื่อนคดี
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาสั่งให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ 167
ชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ พยานจำเลยซึ่งคือตัวจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่ามีเหตุขัดข้องว่ามีเหตุอันควรอย่างไรจึงมาศาลไม่ได้ จำเลยไม่มีพยานมาสืบโจทก์จึงไม่มีอะไรให้ต้องสืบคัดค้าน คดีเสร็จการพิจารณาและเมื่อศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจึงต้องงดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่และให้ยกคำร้อง เพราะการไต่สวนคำร้องต่อไปจะเท่ากับเป็นการอนุญาตให้ฝ่ายจำเลยเลื่อนคดี
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาสั่งให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ 167