คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลอนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเข้าใจผิดเรื่องวันนัดคดี: ศาลอนุญาตให้ระบุพยานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพราะตัวโจทก์ซึ่งเป็นชาวชนบทอายุ 70 ปีเศษเข้าใจว่าศาลสั่งนัดพร้อมอีก (นัดพร้อมมา 3 ครั้งแล้วและบอกทนายโจทก์เช่นนั้นทนายโจทก์จึงมอบฉันทะให้เสมียนมาฟังคำสั่งและวันนัดสืบพยาน เช่นนี้ เห็นได้ว่าไม่ใช่โจทก์จงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลให้โจทก์ระบุพยานและนัดสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1) ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้นย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณีโดยคู่กรณีมีเจตนาลวงที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้ว จะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยนำสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1)ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกันหากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้วจะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้ว่าหนี้กู้ยืมเป็นหนี้จากการเล่นแชร์ ศาลอนุญาตให้สืบได้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเรียกเงินตามสัญญากู้ซึ่งผู้ร้องขัดทรัพย์จะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องขัดทรัพย์สู้ว่าเป็นหนี้ในการเล่นแชร์ ไม่ใช่หนี้กู้ยืม และได้ชำระหนี้เสร็จแล้ว ผู้ร้องย่อมนำสืบถึงวิธีการเล่นแชร์และการชำระหนี้ในการเล่นแชร์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องคดีเช็ค: แม้ฟ้องอ้างมาตราไม่ครบถ้วน แต่เนื้อหาความผิดชัดเจน ศาลอนุญาตให้แก้ไขได้
หน้าฟ้องข้อหาว่า ผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้เข็ด คำบรรยายฟ้องก็ชัดแจ้งว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินโดยมีเจตนาจะมิให้มีการใช้เงินตามเช็ค แก่ในช่องกฎหมายและบทมาตราที่โจทก์ถือว่าจำเลยกระทำความผิดนั้นลงไว้แต่เพียงว่า มาตรา 3(1) (3) (5) ดังนี้ เมื่อมีพฤติการณ์แสดงว่าน่าจะเนื่องจากความพลั้งเผลอ โจทก์จึงมิได้พิมพ์หรือเขียนชื่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ลงข้างหน้ามาตรา และหากให้โจทก์ทำเสียให้ครบบริบูรณ์ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายแล้ว ศาลย่อมสั่งให้โจทก์แก้ไขคำขอท้ายฟ้องให้ครบบริบูรณ์ (คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ แล้วแถลงข้อบกพร่องนี้ก่อนสืบพยานโจทก์)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลาง: ศาลอนุญาตแก้ไขคำร้องได้ และไม่จำกัดเวลาการขอคืนก่อนคดีถึงที่สุด
คำร้องขอคืนของกลางนั้นไม่ใช่เป็นการฟ้องกล่าวหาผู้ใดกระทำผิดกฎหมาย และไม่ใช่คำร้องในทางแพ่ง ศาลจึงอนุญาตให้แก้ไขได้โดยไม่ต้องสอบถามคู่ความก่อน
คำร้องขอคืนของกลางไม่จำต้องอ้างตัวบทกฎหมาย ศาลยกขึ้นปรับวินิจฉัยเองได้
ร้องขอคืนทรัพย์ของกลางก่อนคดีถึงที่สุดได้ เพราะตามมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเพียงว่า ในการที่เจ้าของแท้จริงจะร้องขอต่อศาลให้สั่งคืนทรัพย์สินในกรณีที่ศาลสั่งริบตามมาตรา 33 นั้น จะต้องร้องขอคืนต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดเท่านั้น หาได้บัญญัติห้ามไม่ให้ร้องขอคืนก่อนกำหนดดังกล่าวนี้ไม่ แต่ถ้าร้องขอคืนเกินกว่าหนึ่งปีนับจากวันมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ตกอยู่ในเกณฑ์ถูกบัญญัติห้ามตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลต้องพิจารณาเหตุผล หากมิได้จงใจหรือมีเหตุสมควร ศาลควรอนุญาต
การที่จำเลยยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลจะอนุญาตให้ยื่นได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่า การที่จำเลยไม่ได้ยื่นภายในกำหนดนั้น เป็นเพราะจำเลยจงใจหรือไม่จงใจ หรือเพราะมีหรือไม่มีเหตุสมควรประการอื่น ถ้าปรากฏว่าจำเลยมิได้จงใจหรือจำเลยมีเหตุที่เกิดความจำเป็นแก่จำเลยอันสมควรผ่อนผันให้ได้ ก็ให้ศาลรับคำให้การไว้
ในกรณีดังกล่าวนี้ ถ้าข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ หรือว่าจำเลยมีเหตุสมควรประการอื่นอย่างใด ศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อน ก่อนที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าจากความหลงลืม ศาลอาจอนุญาตได้หากไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
การที่จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเพราะความหลงลืม มิใช่เป็นเพราะจำเลยมีเจตนาจงใจไม่ยื่นโดยมีเล่ห์เหลี่ยมประการใดและที่จำเลยขอยื่นบัญชีระบุพยานภายหลังนี้ ก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบศาลควรอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนดและสิทธิในการต่อสู้คดี ศาลมีอำนาจอนุญาตยื่นได้หากไม่ใช่การจงใจขาดนัด
กรณีที่จำเลยไม่ยื่นคำให้การตามกำหนดและศาลได้มีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้วนั้นเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยมาศาลและแถลงว่าป่วย จึงมิได้ยื่นคำให้การตามกำหนด โจทก์ไม่คัดค้านเช่นนี้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งในรายงานพิจารณาอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ภายในเวลากำหนดโดยไม่จำต้องให้จำเลยทำเป็นคำร้องขอเข้ามาได้ไม่เป็นการผิดวิธีพิจารณาอย่างใด
เมื่อจำเลยยื่นคำให้การเกินเวลาที่ศาลนัดไว้ ศาลควรพิจารณาและมีคำสั่งในการที่จำเลยยื่นคำให้การนั้นไว้เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาเช่า: ศาลอนุญาตให้จำเลยสืบพยานเพื่อพิสูจน์เจตนาที่แท้จริงของสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดิน แล้วจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินนั้นในวันเดียวกัน ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดไถ่คืนแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าที่ดิน จำเลยต่อสู้ว่า ความจริงเป็นเรื่องกู้เงินโดยเอาที่ดินเป็นประกัน ส่วนการเช่าที่ดินนั้นเป็นการเลี่ยงกฎหมาย เผื่อถ้าจำเลยไถ่ที่ดินจะได้คิดแทนดอกเบี้ยซึ่งเกินกว่าอัตราในกฎหมาย คดีนี้จำเลยไม่ได้ไถ่ที่ดินคืน และจำเลยไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่เช่าที่ดินที่เช่าเป็นที่ว่างเปล่าไม่ควรมีค่าเช่าถึงอัตราที่กำหนดเป็นค่าเช่ากันไว้ เช่นนี้ เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่า สัญญาเช่าไม่สมบูรณ์ เพราะมิได้มีเจตนาที่จะให้ผูกพันด้วยการเช่ากันจริง ๆ จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานมาสืบได้
of 21