พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,244 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่สมบูรณ์เพราะขาดลายมือชื่อโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ลงลายมือชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์ฟ้องแต่ไม่ได้ลงลายมือชื่อโจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) และการที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามมาตรา 161 วรรคหนึ่งก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นประการอื่นนอกจากพิพากษายกฟ้องโจทก์ และมาตรา 161 หาได้เป็นบทบัญญัติซึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้องเสียเมื่อใด ก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุดไม่ ทั้งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ผลกระทบต่อคดีที่ถึงที่สุดแล้ว และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นอันยุติหรือถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปแล้ว ตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่างใช้สิทธิฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์แต่ละคนได้รับ แม้ฟ้องรวมกันมาแต่หนี้ของโจทก์แต่ละคนสามารถแยกออกจากกันได้ หนี้ของโจทก์แต่ละคนจึงไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์เพียงผู้เดียวคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่มีผลไปถึงคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเสียเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10518/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ได้รับวินิจฉัย เนื่องจากประเด็นข้อโต้แย้งมิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยโดยลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ คงจำคุกตลอดชีวิต โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่าไม่ควรลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แสดงว่าโจทก์พอใจที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิต แต่ก็ยังคงลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ที่โจทก์กลับมายื่นฎีกาคัดค้านว่าไม่สมควรลดโทษให้จำเลยนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7031/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจน และประเด็นเพิ่มเติมไม่เป็นสาระต่อคดี
เนื้อหาฎีกาของโจทก์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญล้วนคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น คงมีส่วนเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อยในรายละเอียด มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และด้วยเหตุผลใด จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
แบบก่อสร้างของจำเลยได้รับอนุญาตจากกรุงเทพมหานครให้ก่อสร้างอาคารได้ แสดงว่าแบบก่อสร้างของจำเลยถูกต้อง การออกแบบเฉพาะห้องหม้อแปลงไฟฟ้าและขอบสระว่ายน้ำเมื่อก่อสร้างจริง ห้องหม้อแปลงไฟฟ้าและขอบสระว่ายน้ำมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินต่างเจ้าของน้อยกว่า 3 เมตร ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร การแก้ไขแบบจึงน่าจะต้องแก้ไขเฉพาะ 2 ส่วนนี้ เมื่อโจทก์แก้ไขแบบในระหว่างการก่อสร้างตามความพอใจของโจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้พื้นที่ในอาคาร มิใช่แก้ไขเฉพาะส่วนที่จำเลยออกแบบขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจึงอยู่นอกเหนือจากความรับผิดชอบของจำเลย โจทก์มิอาจอ้างได้ว่าโจทก์ต้องออกแบบก่อสร้างใหม่ทั้งหมด อันจะพึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการออกแบบใหม่นอกเหนือไปจากการแก้ไขแบบในส่วนที่เกี่ยวกับความสูงของห้องหม้อแปลงไฟฟ้าและขอบสระว่ายน้ำ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ปัญหาที่ว่าจำเลยมิได้ควบคุมดูแลและตรวจสอบการปักผัง ขุดเจาะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับจำเลยปฏิบัติงานในหน้าที่บกพร่อง ซึ่งโจทก์ยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระค่าว่าจ้างหรือชำระค่าว่าจ้างแก่จำเลยน้อยลง แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งในประเด็นเรื่องค่าว่าจ้างที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลย แม้จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นข้อฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
แบบก่อสร้างของจำเลยได้รับอนุญาตจากกรุงเทพมหานครให้ก่อสร้างอาคารได้ แสดงว่าแบบก่อสร้างของจำเลยถูกต้อง การออกแบบเฉพาะห้องหม้อแปลงไฟฟ้าและขอบสระว่ายน้ำเมื่อก่อสร้างจริง ห้องหม้อแปลงไฟฟ้าและขอบสระว่ายน้ำมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินต่างเจ้าของน้อยกว่า 3 เมตร ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร การแก้ไขแบบจึงน่าจะต้องแก้ไขเฉพาะ 2 ส่วนนี้ เมื่อโจทก์แก้ไขแบบในระหว่างการก่อสร้างตามความพอใจของโจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้พื้นที่ในอาคาร มิใช่แก้ไขเฉพาะส่วนที่จำเลยออกแบบขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจึงอยู่นอกเหนือจากความรับผิดชอบของจำเลย โจทก์มิอาจอ้างได้ว่าโจทก์ต้องออกแบบก่อสร้างใหม่ทั้งหมด อันจะพึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการออกแบบใหม่นอกเหนือไปจากการแก้ไขแบบในส่วนที่เกี่ยวกับความสูงของห้องหม้อแปลงไฟฟ้าและขอบสระว่ายน้ำ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ปัญหาที่ว่าจำเลยมิได้ควบคุมดูแลและตรวจสอบการปักผัง ขุดเจาะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับจำเลยปฏิบัติงานในหน้าที่บกพร่อง ซึ่งโจทก์ยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระค่าว่าจ้างหรือชำระค่าว่าจ้างแก่จำเลยน้อยลง แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งในประเด็นเรื่องค่าว่าจ้างที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลย แม้จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นข้อฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ริบของกลางโดยศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ มิถือเป็นการเพิ่มเติมโทษ
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ริบของกลางซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองมีไว้และใช้ในการกระทำความผิดมาด้วย แต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยยังมิได้วินิจฉัยในเรื่องของกลาง เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9)ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องและพิพากษาให้ริบของกลางได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง โดยไม่ถือเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางค่าธรรมเนียมศาล และการคืนค่าธรรมเนียมศาลเมื่อศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยต่อไป เท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้สืบพยานจำเลยต่อไปจำเลยทั้งสามจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยทั้งสามไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดี จึงชอบที่จะมีคำสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดในชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151มิใช่สั่งให้ค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดในชั้นอุทธรณ์เป็นพับ
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดี จึงชอบที่จะมีคำสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดในชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151มิใช่สั่งให้ค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดในชั้นอุทธรณ์เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีอาญา เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์แล้ว
เมื่อความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,339 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตยังไม่ถึงที่สุดเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาก่อน หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 ซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ก็เป็นเพียงพิพากษาแก้บทลงโทษความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน โดยเห็นว่าการกระทำผิดของจำเลยฐานนี้ขาดอายุความแล้วจึงลงโทษจำเลยไม่ได้เท่านั้น ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,339 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตนั่นเอง ความผิดฐานนี้ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ซึ่งถึงที่สุดได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5441/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และการพิจารณาฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน
ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาในประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะใช้ดุลพินิจกระทำได้เมื่อปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเสียให้เสร็จสิ้นโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 อันมีลักษณะเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันมาจากการซื้อขายโดยสละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้และตกลงจะแบ่งแยกให้ภายหลัง ประเด็นข้อพิพาทคดีทั้งสองจึงแตกต่างกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 อันมีลักษณะเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันมาจากการซื้อขายโดยสละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้และตกลงจะแบ่งแยกให้ภายหลัง ประเด็นข้อพิพาทคดีทั้งสองจึงแตกต่างกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลงเอกสารในคดีอาญา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในคดีอาญาจำเลยย่อมนำสืบตามข้ออ้างของตน ซึ่งอาจเป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเอกสารใดๆ ได้ทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะประมวลวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีข้อจำกัดห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในบางกรณีไว้ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
( วินิจฉัยทำนองเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่ 1210/2511 )
( วินิจฉัยทำนองเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่ 1210/2511 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาก่อน และพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยซื้อจากจำเลยแล้วจำเลยทำสัญญาเช่า แต่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าจึงบอกเลิกการเช่า ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าและส่งมอบที่พิพาทคืน จำเลยให้การตอนแรกว่า ไม่เคยทำสัญญาขายหรือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ แต่จำเลยกลับให้การตอนหลังว่าถึงอย่างไรจำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลานานแล้ว หรือหากฟังว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ จำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทมาเกินกว่า 1 ปีแล้วซึ่งเท่ากับเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง และขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรก ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การของจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว จำเลยเช่าที่ดินพิพาทหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปีหรือไม่ และวินิจฉัยตามนั้น กับที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืนในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และเมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปีหรือไม่ จึงถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวให้