คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลแขวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2378/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องเนื่องจากไม่มีมูล
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง ข้อหายักยอกทรัพย์ ศาลแขวง ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดทางอาญา พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ กรณีเช่นนี้คู่ความต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.๒๔๙๙ มาตรา ๒๒ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๐๓ มาตรา ๑๐ แม้โจทก์จะได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงมา ก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฎีกาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2378/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในศาลแขวง: คดีไม่มีมูลอาญา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง ข้อหายักยอกทรัพย์ ศาลแขวงไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดทางอาญาพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ กรณีเช่นนี้คู่ความต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 มาตรา 22 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 10 แม้โจทก์จะได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงมาก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฎีกาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและการอุทธรณ์คำพิพากษา ยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 22 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ
คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงพิจารณาพิพากษาเมื่อศาลแขวงไต่สวนมูลฟ้องแล้วว่าไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 22 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ ห้ามโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
แม้ศาลชั้นต้นจะได้กล่าวความไว้ในคำพิพากษามีข้อความต่าง ๆ ดังที่โจทก์อ้างว่าเป็นเรื่องนอกสำนวนหรือมีข้อเท็จจริงผิดไปจากสำนวนก็ดีเมื่อข้อความเหล่านั้นไม่เป็นข้อความสำคัญอันเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้อาศัยเฉพาะความตามที่โจทก์ยกขึ้นอ้างนั้นแต่ประการเดียวเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและการอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องในคดีอาญา: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงพิจารณาพิพากษาเมื่อศาลแขวงไต่สวนมูลฟ้องแล้ว ว่าไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 22 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ ห้ามโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
แม้ศาลชั้นต้นจะได้กล่าวความไว้ในคำพิพากษามีข้อความต่าง ๆดังที่โจทก์อ้างว่าเป็นเรื่องนอกสำนวนหรือมีข้อเท็จจริงผิดไปจากสำนวนก็ดีเมื่อข้อความเหล่านั้นไม่เป็นข้อความสำคัญอันเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้อาศัยเฉพาะความตามที่โจทก์ยกขึ้นอ้างนั้นแต่ประการเดียว เป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องอาญา และการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในศาลแขวง: กรณีหมิ่นประมาท ลักทรัพย์
โจทก์รู้เรื่องความผิดที่กล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทเปิดเผยความลับและทำให้เสียทรัพย์และรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 1กรกฎาคม 2510 แล้วโจทก์มาฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 322, 358 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2510 เกินกำหนด 3 เดือน โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96
ศาลแขวงวินิจฉัยคดีข้อหาฐานลักทรัพย์ว่าการกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่ากระทำโดยทุจริต พอแปลความหมายได้ว่าพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง จทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเอาทรัพย์ไปด้วยเจตนาทุจริตเป็นลักทรัพย์ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงอยู่แล้ว เมื่อมีฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญาและการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ศาลแขวง
โจทก์รู้เรื่องความผิดที่กล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทเปิดเผยความลับและทำให้เสียทรัพย์และรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2510 แล้วโจทก์มาฟ้องคดีขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 322, 358 เมื่อวันที่7 พฤศจิกายน 2510 เกินกำหนด 3 เดือน โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96
ศาลแขวงวินิจฉัยคดีข้อหาฐานลักทรัพย์ว่าการกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่ากระทำโดยทุจริต พอแปลความหมายได้ว่าพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเอาทรัพย์ไปด้วยเจตนาทุจริตเป็นลักทรัพย์ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงอยู่แล้ว เมื่อมีฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการกักกันผู้กระทำผิดซ้ำในศาลแขวง
ผู้ว่าคดีศาลแขวงย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า พนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 43 ทั้งนี้โดยนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 5 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (5) ฉะนั้นจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้กักกันจำเลยได้
กักกันมิใช่โทษอาญา แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 39 (1) ซึ่งมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก (คำพิพากษาฎีกาในที่ประชุมใหญ่ที่ 1455/2511) ฉะนั้น จึงย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาให้กักกันจำเลยตามที่ผู้ว่าคดีฟ้องขอมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกักกันของ ผู้ว่าคดีศาลแขวง และอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามประมวลกฎหมายอาญา
ผู้ว่าคดีศาลแขวงย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า พนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 43 ทั้งนี้โดยนัยแห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 5 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5) ฉะนั้นจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้กักกันจำเลยได้
กักกันมิใช่โทษอาญา แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 39(1) ซึ่งมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก(คำพิพากษาฎีกาในที่ประชุมใหญ่ที่ 1455/2511) ฉะนั้น จึงย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาให้กักกันจำเลยตามที่ผู้ว่าคดีฟ้องขอมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: แม้พ้นกำหนดผัดฟ้อง อธิบดีกรมอัยการยังอนุญาตฟ้องได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 9 ได้ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการไว้อย่างกว้างขวางในอันที่จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปว่า คดีอาญาคดีใดที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้ว หากผู้ว่าคดีมิได้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับก็ดี หรือเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงไปแล้วมิได้มีการขอผัดฟ้องก็ดี อธิบดีกรมอัยการจะเห็นสมควรอนุญาตให้ฟ้องคดีนั้น ๆ หรือไม่ แม้ในการสอบสวนไม่มีการขอผัดฟ้อง ทั้ง ๆ ที่ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวตลอดมานับแต่วันเวลาที่จำเลยถูกจับก็ตามเมื่ออธิบดีกรมอัยการได้พิจารณาแล้ว อนุญาตให้ฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
บทบัญญัติมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯมุ่งถึงการควบคุมตัวผู้ต้องหาเป็นสารสำคัญ ส่วนกำหนดเวลาที่พนักงานสอบสวนหรือผู้ว่าคดีจะต้องปฏิบัติในการยื่นฟ้องหรือขอผัดฟ้องผู้ต้องหา ย่อมเป็นไปตามมาตรา 7 อำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามความในมาตรา 9หาได้ถูกลบล้างแต่ประการใดไม่ (อ้างฎีกาที่ 661/2503 และ 133/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจอนุญาตฟ้องได้ แม้พ้นกำหนดผัดฟ้อง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 9 ได้ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการไว้อย่างกว้างขวางในอันที่จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปว่า คดีอาญาคดีใดที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้ว หากผู้ว่าคดีมิได้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับก็ดี หรือเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงไปแล้วมิได้มีการขอผัดฟ้องก็ดี อธิบดีกรมอัยการจะเห็นสมควรอนุญาตให้ฟ้องคดีนั้น ๆ หรือไม่ แม้ในการสอบสวนไม่มีการขอผัดฟ้องทั้ง ๆ ที่ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวตลอดมานับแต่วันเวลาที่จำเลยถูกจับก็ตามเมื่ออธิบดีกรมอัยการได้พิจารณาแล้วอนุญาตให้ฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
บทบัญญัติมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯมุ่งถึงการควบคุมตัวผู้ต้องหาเป็นสารสำคัญ ส่วนกำหนดเวลาที่พนักงานสอบสวนหรือผู้ว่าคดีจะต้องปฏิบัติในการยื่นฟ้องหรือขอผัดฟ้องผู้ต้องหา ย่อมเป็นไปตามมาตรา 7 อำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามความในมาตรา 9 หาได้ถูกลบล้างแต่ ประการใดไม่ (อ้างฎีกาที่ 661/2503 และ 133/2506)
of 25