คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศุลกากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร, การอุทธรณ์ภาษี, และเงินเพิ่มทางภาษีอากร: ศาลฎีกาวินิจฉัยการประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการบังคับชำระภาษีอากร
จำเลยนำสินค้าของเด็กเล่นจากเมือง ฮ่องกง เข้ามาในราชอาณาจักรเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบแล้วปรากฏว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง จึงแจ้งการประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มเติม เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินที่ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จึงต้องถือว่าการประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นเป็นอันชอบแล้ว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ผู้ประกอบการค้าต้องชำระเงินเพิ่มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อไม่ชำระภาษีการค้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นทางแก้กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดศุลกากร: สำแดงเท็จ, หลีกเลี่ยงภาษี, อายุความ, และการระงับคดีที่ไม่เป็นผล
ความผิดตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 เป็นเรื่องสำแดงรายการสินค้าอันเป็นเท็จ แต่ จำเลยนอกจากได้สำแดงรายการสินค้าอันเป็นเท็จแล้วยังได้ นำสินค้าที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในพระราชอาณาจักรอันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและฉ้อภาษีของ รัฐบาล ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม มาตรา 27 ที่แก้ไขแล้ว
จำเลยขอทำความตกลง ระงับคดีต่อ กรมศุลกากร ตาม มาตรา 102102 ทวิ อธิบดีกรมศุลกากรอนุมัติให้รับทำความตกลง ระงับคดีโดยให้จำเลยชำระค่าซื้อของกลางคืนเป็น 3 งวด งวดละหนึ่งเดือนโดย มีธนาคารเป็นผู้ค้ำประกัน แต่ จำเลยมิได้ดำเนินการตามข้อตกลง อธิบดีกรมศุลกากรจึงขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้คดียังไม่ระงับ
อายุความตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 เป็นอายุความในทางแพ่งเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าภาษีอากร ไม่ใช่อายุความการฟ้องคดีอาญา จำเลยกระทำผิดฐาน ไม่สำแดงรายการให้ตรงตาม ความจริง เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและฉ้อภาษีของ รัฐบาล เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2517 มีความผิดตาม มาตรา 27 ซึ่ง มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินสิบปี มีอายุความ 15 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(2) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดศุลกากร: สำแดงเท็จ, หลีกเลี่ยงภาษี, อายุความ, การระงับคดีที่ไม่สมบูรณ์
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99เป็นเรื่องสำแดงรายการสินค้าอันเป็นเท็จ แต่จำเลยนอกจากได้สำแดงรายการสินค้าอันเป็นเท็จแล้ว ยังได้นำสินค้าที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในพระราชอาณาจักรอันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและฉ้อภาษีของ รัฐบาล ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 27ที่แก้ไขแล้ว จำเลยขอทำความตกลงระงับคดีต่อกรมศุลกากรตามมาตรา 102,102 ทวิอธิบดีกรมศุลกากรอนุมัติให้รับทำความตกลงระงับคดีโดยให้จำเลยชำระค่าซื้อของกลางคืนเป็น 3 งวด งวดละหนึ่งเดือน โดยมีธนาคารเป็นผู้ค้ำประกัน แต่จำเลยมิได้ดำเนินการตามข้อตกลงอธิบดีกรมศุลกากรจึงขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ คดียังไม่ระงับ อายุความตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10เป็นอายุความในทางแพ่งเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าภาษีอากร ไม่ใช่อายุความการฟ้องคดีอาญา จำเลยกระทำผิดฐานไม่สำแดงรายการให้ตรงตามความจริง เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและฉ้อภาษีของ รัฐบาล เมื่อวันที่25 ตุลาคม 2517 มีความผิดตามมาตรา 27 ซึ่งมีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินสิบปี มีอายุความ 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(2) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดศุลกากร: สำแดงเท็จ หลีกเลี่ยงภาษี, อายุความฟ้องคดีอาญา
ความผิดตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99เป็นเรื่องสำแดงรายการสินค้าอันเป็นเท็จ แต่ จำเลยนอกจากได้สำแดงรายการสินค้าอันเป็นเท็จแล้วยังได้ นำสินค้าที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในพระราชอาณาจักรอันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและฉ้อภาษีของ รัฐบาล ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม มาตรา 27 ที่แก้ไขแล้ว จำเลยขอทำความตกลง ระงับคดีต่อ กรมศุลกากร ตาม มาตรา 102102 ทวิ อธิบดีกรมศุลกากรอนุมัติให้รับทำความตกลง ระงับคดีโดยให้จำเลยชำระค่าซื้อของกลางคืนเป็น 3 งวด งวดละหนึ่งเดือนโดย มีธนาคารเป็นผู้ค้ำประกัน แต่ จำเลยมิได้ดำเนินการตามข้อตกลง อธิบดีกรมศุลกากรจึงขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้คดียังไม่ระงับ อายุความตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 เป็นอายุความในทางแพ่งเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าภาษีอากร ไม่ใช่อายุความการฟ้องคดีอาญา จำเลยกระทำผิดฐาน ไม่สำแดงรายการให้ตรงตาม ความจริง เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและฉ้อภาษีของ รัฐบาล เมื่อวันที่25 ตุลาคม 2517 มีความผิดตาม มาตรา 27 ซึ่ง มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกินสิบปี มีอายุความ 15 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(2) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2527คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพคดีอาญา และข้อจำกัดในการโต้แย้งข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา รวมถึงการบังคับใช้บทลงโทษตามกฎหมายศุลกากร
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง คดีต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยมีเจตนากระทำผิดดังโจทก์ฟ้อง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยฐานนำเงินตราไทยออกไปนอกราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 ซึ่งกฎหมายมาตรานี้บัญญัติเกี่ยวกับโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดว่า.. สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปีหรือทั้งปรับทั้งจำ บทกฎหมายดังกล่าวมิได้ให้ดุลพินิจศาลที่จะใช้อำนาจปรับให้น้อยกว่านั้นหรือเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อศาลชั้นต้นปรับจำเลยเป็นเงินสี่เท่าของจำนวนเงินตราที่นำออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจปรับให้น้อยลง หรือลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเก็บรักษาสินค้าเพื่อศุลกากร ไม่ถือเป็นการรับฝากตามสัญญาขนส่งและเก็บรักษา
การที่จำเลยรับฝากสินค้าเพื่อให้เจ้าของสินค้าไปดำเนินพิธีการทางศุลกากร มิใช่รับฝากจากบุคคลทั่วไปโดยเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จเป็นการค้าปกติ จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกักของของศุลกากรเพื่อเรียกเก็บภาษีค้างชำระ แม้ไม่ใช่สินค้าเดียวกัน
มาตรา 112 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารมีอำนาจกักของในกรณีที่ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกค้างชำระค่าอากรเพื่อประโยชน์ในอันที่จะจัดเก็บภาษีอากรได้รวดเร็วสมความมุ่งหมาย แม้จะไม่ใช่สินค้ารายเดียวกันกับที่ยังค้างชำระค่าอากรอยู่ก็ตามดังนั้น เมื่อโจทก์ต้องชำระภาษีอากรที่ถูกเรียกเก็บเพิ่มสำหรับสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาครั้งก่อนและรับของไปแล้วแต่โจทก์ไม่ยอมชำระ จำเลยจึงไม่ยอมรับตรวจสอบรับรองตามระเบียบพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้ารายใหม่ที่โจทก์นำเข้า เพื่อโจทก์จะได้เสียภาษีอากรที่ยังไม่ได้ชำระในส่วนที่ขาดไปสำหรับการนำเข้าครั้งก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกักของของศุลกากรกรณีค้างชำระภาษี แม้ไม่เกี่ยวกับสินค้ารายเดียวกัน
มาตรา 112 เบญจแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารมีอำนาจกักของในกรณีที่ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกค้างชำระค่าอากรเพื่อประโยชน์ในอันที่จะจัดเก็บภาษีอากรได้รวดเร็วสมความมุ่งหมาย แม้จะไม่ใช่สินค้ารายเดียวกันกับที่ยังค้างชำระค่าอากรอยู่ก็ตามดังนั้น เมื่อโจทก์ต้องชำระภาษีอากรที่ถูกเรียกเก็บเพิ่มสำหรับสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาครั้งก่อนและรับของไปแล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมชำระ จำเลยจึงไม่ยอมรับตรวจสอบรับรองตามระเบียบพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้ารายใหม่ที่โจทก์นำเข้า เพื่อโจทก์จะได้เสียภาษีอากรที่ยังไม่ได้ชำระในส่วนที่ขาดไปสำหรับการนำเข้าครั้งก่อนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรศุลกากร จำเลยมีอำนาจสืบราคาตลาดเพื่อประเมินราคาอันแท้จริงได้
โจทก์สำแดงราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเท่ากับราคาสินค้าในบัญชีราคาสินค้าและหลักฐานเอกสารการชำระเงินให้แก่ผู้ขายและโจทก์นำสืบว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาแท้จริงจึงควรเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าซึ่งต้องใช้เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีอากร แต่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 2 นิยามคำว่า 'ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด' หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด ตามความหมายนี้ ราคาที่โจทก์ซื้อสินค้ามาโดยอ้างว่าเป็นราคาแท้จริง จึงมิใช่เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป แม้โจทก์จะนำสืบว่าเคยนำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันมาก่อนในราคาเดียวกับการนำเข้าครั้งนี้ก็ปรากฏว่าเป็นการนำเข้าของโจทก์เอง ซึ่งซื้อจากผู้ขายรายเดียวกัน นอกจากนี้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นแสดงให้เห็นว่าราคาขายเงินสด ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาที่นำเข้าและสถานที่ที่นำเข้า ซึ่งเป็นความหมายของราคาอันแท้จริงในท้องตลาดว่าเป็นราคาเท่าใด ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้า อันจะใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรได้
จำเลยให้เจ้าหน้าที่ซึ่งประจำเมืองฮ่องกง อันเป็นสถานที่ที่โจทก์สั่งซื้อสินค้าเข้ามา สืบราคาตามร้านใหญ่ ๆ หลายร้านราคาที่สืบได้ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน เมื่อนำมาเฉลี่ยแล้วราคาขายปลีกสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,974.87 เหรียญฮ่องกงคำนวณเป็นราคาขายส่งโดยคิดลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นราคาขายส่ง เอฟ.โอ.บี.กิโลกรัมละ 3,180 เหรียญฮ่องกง อันถือเป็นราคาอันแท้จริงที่ซื้อขายกัน คำนวณเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. โดยนำค่าขนส่งทางอากาศและค่าประกันภัยในบัญชีราคาสินค้าตามที่โจทก์สำแดงไว้ บวกเข้าไป ผลออกมาเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. กิโลกรัมละประมาณ 3,200เหรียญฮ่องกง การหาราคาอันแท้จริงของจำเลยได้กระทำตามขั้นตอนมีการคิดคำนวณรายละเอียดต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและเป็นวิธีที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ เป็นการสืบหาราคาในเวลาที่ใกล้เคียงพอสมควรกับเวลาที่โจทก์นำเข้า ฟังได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,200 เหรียญฮ่องกงมิใช่ราคากิโลกรัมละ 750 เหรียญฮ่องกง ดังที่โจทก์สำแดงราคาไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาสินค้านำเข้า: ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
โจทก์สำแดงราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเท่ากับราคาสินค้าในบัญชีราคาสินค้าและหลักฐานเอกสารการชำระเงินให้แก่ผู้ขายและโจทก์นำสืบว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาแท้จริงจึงควรเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าซึ่งต้องใช้เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีอากร แต่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 2 นิยามคำว่า 'ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด' หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด ตามความหมายนี้ ราคาที่โจทก์ซื้อสินค้ามาโดยอ้างว่าเป็นราคาแท้จริง จึงมิใช่เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป แม้โจทก์จะนำสืบว่าเคยนำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันมาก่อนในราคาเดียวกับการนำเข้าครั้งนี้ก็ปรากฏว่าเป็นการนำเข้าของโจทก์เอง ซึ่งซื้อจากผู้ขายรายเดียวกัน นอกจากนี้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นแสดงให้เห็นว่าราคาขายเงินสด ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาที่นำเข้าและสถานที่ที่นำเข้า ซึ่งเป็นความหมายของราคาอันแท้จริงในท้องตลาดว่าเป็นราคาเท่าใด ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้า อันจะใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรได้
จำเลยให้เจ้าหน้าที่ซึ่งประจำเมืองฮ่องกง อันเป็นสถานที่ที่โจทก์สั่งซื้อสินค้าเข้ามา สืบราคาตามร้านใหญ่ ๆ หลายร้านราคาที่สืบได้ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน เมื่อนำมาเฉลี่ยแล้วราคาขายปลีกสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,974.87 เหรียญฮ่องกงคำนวณเป็นราคาขายส่งโดยคิดลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นราคาขายส่ง เอฟ.โอ.บี.กิโลกรัมละ 3,180 เหรียญฮ่องกง อันถือเป็นราคาอันแท้จริงที่ซื้อขายกัน คำนวณเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. โดยนำค่าขนส่งทางอากาศและค่าประกันภัยในบัญชีราคาสินค้าตามที่โจทก์สำแดงไว้ บวกเข้าไป ผลออกมาเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. กิโลกรัมละประมาณ 3,200เหรียญฮ่องกง การหาราคาอันแท้จริงของจำเลยได้กระทำตามขั้นตอนมีการคิดคำนวณรายละเอียดต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและเป็นวิธีที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ เป็นการสืบหาราคาในเวลาที่ใกล้เคียงพอสมควรกับเวลาที่โจทก์นำเข้า ฟังได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทกิโลกรัมละ 3,200 เหรียญฮ่องกงมิใช่ราคากิโลกรัมละ 750 เหรียญฮ่องกง ดังที่โจทก์สำแดงราคาไว้.
of 32