คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743-1744/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสและการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายในกรณีไม่มีกฎหมายจดทะเบียน
คนจีนแต่งงานกันในประเทศจีน ซึ่งในขณะนั้นไม่มีกฎหมายให้จดทะเบียนสมรส เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดจากสามีภริยานี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสันดานเด็กเกิดหลังการสมรสโดยไม่จดทะเบียน และการพิสูจน์ความเป็นบุตร
ชายกับหญิงแต่งงานอยู่กินกันตามประเพณีโดยไม่จดทะเบียนสมรสเมื่อสามีคนก่อนตายได้ 3 เดือน มีเด็กเกิดหลังสามีคนก่อนตาย 1 ปีเศษหลังจากอยู่กินกับชายคนใหม่ 9 เดือน ไม่ขัดต่อ มาตรา 1519,1521 ชายตายก่อนเด็กเกิด 1 เดือน หญิงมารดาเด็กร้องขอและศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของชายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสอดตามกฎหมายและการแปลงหนี้เป็นสัญญากู้ แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลผูกพัน
อันสินสอดนั้นตามกฎหมายเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส และเมื่อมีข้อตกลงจะให้สินสอดแก่กันแล้ว การให้สินสอดภายหลังการสมรสย่อมทำได้เพราะไม่มีอะไรห้ามซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาทำสัญญาหมั้นคือก่อนสมรส
บิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และ ว.ทำพิธีแต่งงานกัน และโจทก์เต็มใจยอมสมรสมารดาโจทก์ได้เตือนให้โจทก์ได้เตือนให้โจทก์และ ว.ไปจดทะเบียนสมรส แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียน โดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือนก็มีเหตุต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้ จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้
จำเลยและ ว.บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดามารดาโจทก์ในวันสมรสถึงกำหนด จำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว.เพื่อมิให้เสียพิธีแต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน หลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงินสินสอดที่ตกลงจะให้ มารดาโจทก์ต้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญากู้ ดังนี้ แม้โจทก์กับ ว.จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่เมื่อการที่มิได้จดทะเบียนสมรสนั้น จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้ที่แปลงหนี้มานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสอด, สัญญาแปลงหนี้, และผลบังคับใช้สัญญา แม้ไม่มีการจดทะเบียนสมรส
อันสินสอดนั้นตามกฎหมายเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสและเมื่อมีข้อตกลงจะให้สินสอดแก่กันแล้ว การให้สินสอดภายหลังการสมรสย่อมทำได้เพราะไม่มีอะไรห้ามซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาทำสัญญาหมั้นคือก่อนสมรส
บิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และ ว. ทำพิธีแต่งงานกัน และโจทก์เต็มใจยอมสมรสมารดาโจทก์ได้เตือนให้โจทก์และ ว ไปจดทะเบียนสมรส แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียนโดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือนก็มีเหตุต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้
จำเลยและ ว. บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดามารดาโจทก์ในวันสมรส ถึงกำหนดจำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว. เพื่อมิให้เสียพิธี แต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกันหลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงินสินสอดที่ตกลงจะให้ มารดาโจทก์ต้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญากู้ ดังนี้ แม้โจทก์กับ ว. จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่เมื่อการที่มิได้จดทะเบียนสมรสนั้น จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้ที่แปลงหนี้มานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2357/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสอด: สัญญาผูกพันแม้ฝ่ายหญิงบรรลุนิติภาวะแล้ว
สินสอดเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 วรรคสาม โดยไม่จำกัดว่าหญิงซึ่งยอมสมรสนั้นบรรลุนิติภาวะแล้วหรือยัง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองตกลงจะให้สินสอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาของนางสาว ต. เพื่อตอบแทนในการที่นางสาว ต.ยอมสมรสกับบุตรของจำเลยทั้งสอง และต่อมานางสาว ต. กับบุตรโจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว แม้นางสาว ต. จะบรรลุนิติภาวะก่อนสมรส จำเลยทั้งสองก็จะต้องรับผิดชำระเงินสินสอดให้โจทก์ตามที่สัญญาไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสมรส/การบอกล้างสัญญา & สิทธิของทายาท
กฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ได้บังคับว่า ถ้าคู่สมรสไม่หย่าขาดจากกันจะทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อสามีภริยาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกัน หลังจากประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้วย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะ สัญญาดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ตราบใดที่สามีภริยายังมิได้บอกล้าง ย่อมต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้อยู่เสมอซึ่งมีผลให้เป็นการแยกสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1487 ส่วนที่แยกออกตกเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายและต่างฝ่าย ต่างมีกรรมสิทธิ์มีอำนาจจัดการและจำหน่ายสินส่วนตัวนั้นได้โดยลำพังตามมาตรา 1486 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสซึ่งมิใช่กรณีบอกล้างโมฆียะกรรม แต่เป็นการขอบอกล้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1461นั้น โดยสภาพเป็นการเฉพาะตัวของสามีหรือภริยาเท่านั้น เมื่อฝ่ายใดถึงแก่กรรม สิทธิบอกล้างย่อมระงับสิ้นไป ไม่ตกทอดไปยังทายาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกของผู้ตาย ทายาทไม่มีสิทธิบอกล้างได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69-70/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ยังไม่สิ้นสุดตามกฎหมาย แม้แยกกันอยู่ และสิทธิในสินสมรสของภริยาหลวง
สามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5แยกกันอยู่โดยไม่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา ภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้ทำหนังสือหย่าขาดกัน ยังถือว่าเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย
สามีและภริยาน้อยอันชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนบันทึกฐานะของภริยาได้ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 แต่ไม่มีสิทธิจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้นภริยาหลวงย่อมขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69-70/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ยังไม่สิ้นสุดแม้แยกกันอยู่ และผลของการจดทะเบียนสมรสใหม่
สามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แยกกันอยู่โดย ไม่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา ภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้ทำหนังสือหย่าขาดกัน ยังถือว่าเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย
สามีและภริยาน้อยอันชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนบันทึกฐานะของภริยาได้ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 แต่ไม่มีสิทธิจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้น ภริยาหลวงย่อมขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมจากกิจการงานสมรส: สิทธิในการกันส่วนทรัพย์สินจากการบังคับคดี
ผู้ร้องรู้เห็นด้วยในการที่ภรรยาผู้ร้องออกเช็คแลกเงินสด ไปจากโจทก์เงินที่นำมาใช้จ่ายในการซื้อที่ดินและตึกแถวที่ถูกโจทก์บังคับคดี ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ภรรยาผู้ร้องยืมไปจากโจทก์โดยวิธีออกเช็คแลกเงินสดนั้นเองดังนี้ ผู้ร้องจึงขอกันส่วนในจำนวนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไม่ได้เพราะหนี้ที่ภรรยาผู้ร้องเป็นหนี้โจทก์ เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการงานที่ผู้ร้องและภรรยาทำด้วยกัน จึงเป็นหนี้ร่วมผูกพันสินสมรสส่วนของผู้ร้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576-1577/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินจัดซื้อก่อนสมรส: เป็นสินสมรสหากตกลงร่วมกันจัดหาเพื่อใช้สอยหลังแต่งงาน
ฝ่ายชายให้เถ้าแก่ไปหมั้นหญิงและกำหนดวันแต่งงานกันแล้วได้ตกลงกันให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้จัดซื้อเครื่องใช้สอยในครอบครัวเตรียมไว้สำหรับให้ชายหญิงจะได้ใช้สอยเมื่ออยู่กินด้วยกัน ถึงกำหนดชายหญิงนั้นก็ได้สมรสกัน ดังนี้ ถือว่าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาเมื่อมีการสมรส แม้จะได้จัดหาซื้อไว้ก่อนวันสมรสก็ไม่ถือว่าเป็นสินเดิมของหญิง
of 25