พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิ/การชำระหนี้ด้วยเช็คใหม่ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตามเช็คเดิม
จำเลยออกเช็ค ชำระหนี้แก่ภริยาโจทก์ 3 ฉบับ ฉบับละ 40,000 บาทธนาคารปฏิเสธการจ่ายแล้ว 2 ฉบับ ส่วนอีก 1 ฉบับ คือเช็ค พิพาทยังไม่ถึงกำหนดใช้ เงิน ต่อมาจำเลยชำระเงินสด 12,000 บาท และชำระด้วย เช็ค ที่ ด. ออกและจำเลยสลักหลังจำนวน 108,000 บาท ตาม เช็คเอกสารหมาย จ.8 แทนเช็ค 3 ฉบับ เดิม แล้วขอเช็ค 3 ฉบับ เดิม คืนภริยาโจทก์ยอมคืนให้ 2 ฉบับ ส่วนเช็ค พิพาทไม่ยอมคืนให้ ต่อมาภริยาโจทก์นำเช็ค เอกสารหมาย จ.8 ไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ภริยาโจทก์นำเช็ค เอกสารหมาย จ.8 ไปดำเนินคดี อาญาตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แก่ ด.และจำเลยแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าภริยาโจทก์ตกลง เข้าถือเอาสิทธิตาม เช็ค เอกสารหมาย จ.8 แทนสิทธิที่มีอยู่ตาม เช็ค พิพาทเป็นการสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในเช็ค พิพาทอีกต่อไป รวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดี อาญาแก่จำเลย หากธนาคารปฏิเสธการใช้ เงินตาม เช็ค พิพาทด้วย โจทก์ซึ่ง ทราบข้อตกลงระหว่างภรรยาโจทก์กับจำเลยดังกล่าวดี ได้ นำเช็ค พิพาทไปเรียกเก็บเงิน แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อประกันหนี้: สิทธิของผู้ทรงตั๋วและผลของการตกลงสละสิทธิ
ผู้ร้องสลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ไว้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อประกันหนี้ของผู้ร้องและตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้ห้ามเปลี่ยนมือ การสลักหลังดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินเรียกเก็บเงินตามตั๋วได้ในวันถึงกำหนด โดยไม่ต้องบอกกล่าวการจำนำแก่บริษัทภ.และบังคับเอากับบริษัทภ. ผู้ออกตั๋วได้ และการที่จำเลยที่ 1ทำหนังสือตกลงสละสิทธิที่จะไม่เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้อีกหากการบังคับจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์จะบังคับชำระหนี้โดยการบังคับจำนำตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทภ.ออกให้แก่ผู้ร้องเท่านั้นซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องถูกผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้รายนี้อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การผิดสัญญา, การสละสิทธิ, และการเลิกสัญญา
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์ไปจากจำเลย แล้วชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลาในสัญญา แม้จำเลยจะยอมรับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดโดยไม่ถือว่าการไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดในสัญญาเป็นการผิดสัญญาก็ตาม แต่ต่อมาจำเลยได้ไปยึดรถยนต์คืนเนื่องจากโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อถึง 9 งวด โจทก์ยินยอมให้จำเลยนำรถยนต์กลับไป และทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยว่าโจทก์จะนำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปชำระแก่จำเลยภายในเวลาที่กำหนด หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์สละสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างแก่จำเลยตามบันทึกข้อตกลง ถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์จำเลยได้เลิกสัญญาเช่าซื้อกันตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย คงมีสิทธิเรียกราคาตัวถังและดั๊มที่โจทก์ต่อขึ้นจากจำเลยได้เมื่อหักค่าเสื่อมราคาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระและการสละสิทธิ: ผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อ
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ไปจากจำเลย แล้วชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตาม กำหนดเวลาในสัญญา แม้จำเลยจะยอมรับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ย ในระหว่างผิดนัดด้วย โดย ไม่ถือว่าการไม่ชำระค่าเช่าซื้อตาม กำหนดในสัญญาเป็นการผิดสัญญาก็ตาม แต่ ต่อมาจำเลยได้ ไปยึดรถคืนเนื่องจากโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อถึง 9 งวดโจทก์ยินยอมให้จำเลยนำรถกลับไป และทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยว่าโจทก์จะนำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปชำระแก่จำเลยภายในเวลาที่กำหนด หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์สละสิทธิตาม สัญญาเช่าซื้อ เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างแก่จำเลยตาม บันทึกข้อตกลงถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์จำเลยได้ เลิกสัญญาเช่าซื้อ กันตาม บันทึกข้อตกลงดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนค่าเช่าซื้อที่ชำระไปจากจำเลยและเรียกค่าเสียหาย คงมีสิทธิเรียกราคาตัวถัง และดั๊ม ที่โจทก์ต่อ ขึ้นจากจำเลยได้ เมื่อหักค่าเสื่อมราคาแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิครอบครองที่ดินหลังตายเพื่อชำระหนี้: สิทธิจำเลยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ อ. ได้ทำหนังสือเจตนาสละสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อ อ. ตายแล้ว ให้ที่พิพาทเป็นสิทธิแก่จำเลยเจ้าหนี้แทนการชำระหนี้ เมื่อจำเลยยินยอมตามนี้โดยได้ครอบครองเพื่อตนตั้งแต่ อ. ตาย ก็เป็นสิทธิที่คู่กรณีกระทำได้โดยชอบ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสุดท้ายการครอบครองที่ดินของ อ. จึงเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อ อ. ตาย นับแต่นั้นมาจำเลยหาได้ครอบครองที่พิพาทแทน อ. หรือโจทก์ผู้เป็นทายาท อ. ไม่ จำเลยจึงไม่ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ยึดถือแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการครอบครองไปยังโจทก์ จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่พิพาท โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาที่พิพาทคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิครอบครองที่ดินเพื่อชำระหนี้: สิทธิของเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้เสียชีวิต
การที่ อ. ได้ทำหนังสือเจตนาสละสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไว้ล่วงหน้าว่า เมื่ออ. ตายแล้ว ให้ที่พิพาทเป็นสิทธิแก่จำเลยเจ้าหนี้แทนการชำระหนี้เมื่อจำเลยยินยอมตามนี้โดยได้ครอบครองเพื่อตนตั้งแต่ อ. ตายก็เป็นสิทธิที่คู่กรณีกระทำได้โดยชอบ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสุดท้ายการครอบครองที่ดินของ อ.จึงเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่ออ. ตายนับแต่นั้นมาจำเลยหาได้ครอบครองที่พิพาทแทน อ. หรือโจทก์ผู้เป็นทายาท อ. ไม่ จำเลยจึงไม่ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ยึดถือแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการครอบครองไปยังโจทก์ จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่พิพาทโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาที่พิพาทคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเพิ่มเติม, เช็คลงวันที่ล่วงหน้า, การเรียกร้องหนี้ในคดีล้มละลาย, สละสิทธิเงื่อนเวลา
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระด้วยเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม 13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก สัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้ว และผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับเมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายและต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3ฉบับ ที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความจากข้อตกลงแลกเปลี่ยนเช็ค ทำให้สละสิทธิในเช็คเดิม
การที่โจทก์ร่วมตกลงคืนเช็คพิพาทที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินให้จำเลย เพื่อแลกกับเช็คอีกสองฉบับซึ่งมีจำนวนเงินในเช็ครวมเท่าเช็คพิพาท และโจทก์ร่วมนำเช็คสองฉบับหลังไปเรียกเก็บเงินแล้ว แม้โจทก์ร่วมจะยังไม่ได้คืนเช็คพิพาทให้จำเลยก็ตาม ก็ถือได้ว่าโจทก์ร่วมตกลงเข้าถือเอาสิทธิตามเช็คสองฉบับดังกล่าว และสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ในเช็คพิพาทอีกต่อไป รวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย จึงเป็นการยอมความแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ขออนุญาตศาล การยอมรับค่าชดเชยถือเป็นการสละสิทธิ
นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ทราบว่าลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเป็นกรรมการลูกจ้าง จึงไม่ได้อนุญาตต่อศาลแรงงาน เมื่อนายจ้างดำเนินคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่มีคำสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหายลูกจ้างมายอมรับค่าเสียหายกับค่าชดเชยแล้วแถลงไม่ติดใจกล่าวหานายจ้างเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรม ไม่ติดใจตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ดังนี้ย่อมเป็นข้อแสดงโดยชัดแจ้งว่า ลูกจ้างยอมรับถึงความถูกต้องของการเลิกจ้างกันโดยชอบแล้ว โดยไม่จำต้องให้นายจ้างไปขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างต่อศาลแรงงานอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อต่อสู้ในคำให้การ - การสละสิทธิเรียกร้อง - การวินิจฉัยนอกประเด็น
กรณีที่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อใดเป็นคุณแก่ตน ก็ต้องกล่าวข้อเท็จจริงเป็นข้อต่อสู้ไว้ให้ชัดแจ้งในคำให้การเพื่อให้คดีมีประเด็นข้อพิพาทไว้ คำให้การที่ว่า "โจทก์ฟ้องคดีไม่สุจริตทั้งนี้ก่อนออกจากบริษัท จำเลยโดยความเมตตาต่อโจทก์ ได้มอบเงิน 19,000 บาท ให้โจทก์และผลประโยชน์อื่น ๆ แก่โจทก์โดยจำเลยมิจำเป็นต้องให้โจทก์แต่ประการใดแต่ทั้งนี้เพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม" เป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้สละสิทธิเรียกร้องเงินตามฟ้องของโจทก์หรือไม่