พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5190/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยผิดนัด: ศาลสั่งดอกเบี้ยตามกฎหมายเมื่อดอกเบี้ยในสัญญาสูงเกินกฎหมาย
ในการที่ธนาคารพาณิชย์ประกอบการธนาคารพาณิชย์นั้นต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 โดยเฉพาะในการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวมาตรา 14 (2) บัญญัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้และหากธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 14 (2) ดังกล่าว ย่อมมีความผิดทางอาญาที่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 300,000 บาท ตามมาตรา 44 และปรากฏว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 (2) ดังกล่าว คือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ดังนั้นธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในประกาศฉบับนี้ ซึ่งตามประกาศฉบับนี้ข้อ 3 กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ สรุปได้ว่าธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้า และอัตราสูงสุดที่จะเรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข และให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยจากลูกค้าทุกประเภทได้ไม่เกินอัตราที่เรียกจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกด้วยส่วนต่างสูงสุดตามที่ประกาศไว้ดังกล่าวแล้วเว้นแต่ในกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขจึงเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราที่ธนาคารพาณิชย์นั้นได้ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ดังนั้นหากลูกค้ามิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขธนาคารพาณิชย์จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราที่ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขไม่ได้ และการฝ่าฝืนนั้น นอกจากจะเป็นการกระทำความผิดทางอาญาดังกล่าวแล้ว การเรียกดอกเบี้ยเช่นว่านั้นยังเป็นการขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันมีผลให้การกำหนดเรียกดอกเบี้ยนั้นตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับผิดชำระเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดซึ่งเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี และเมื่อนำสืบก็ปรากฏว่ามีการคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีทในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 แต่อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีท ร้อยละ 19 ต่อปีเป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยโดยฝ่าฝืนต่อประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) และ 44 ดังกล่าวแล้วดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าว แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงิน ป.พ.พ. มาตรา 224 ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับผิดชำระเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดซึ่งเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี และเมื่อนำสืบก็ปรากฏว่ามีการคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีทในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 แต่อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีท ร้อยละ 19 ต่อปีเป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยโดยฝ่าฝืนต่อประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) และ 44 ดังกล่าวแล้วดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าว แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงิน ป.พ.พ. มาตรา 224 ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีขับไล่ vs. ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาตัดสินฟ้องไม่ซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านของโจทก์แล้วโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไป ขอบังคับให้ขับไล่จำเลยกับใช้ค่าเสียหาย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมกันและศาลพิพากษาตามยอม ข้อโต้แย้งสิทธิตามคำฟ้อง คำให้การและฟ้องแย้งได้ถูกแปลงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าประเด็นแห่งคดีได้มีการวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้วโดยคำพิพากษาตามยอม โจทก์จำเลยมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น จำเลยจึงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอบังคับคดีให้จำเลยชำระเงินจำนวน 600,000 บาท ในคดีดังกล่าว แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอบังคับให้จำเลยออกไปจากที่ดินและบ้านตามฟ้อง เป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่จากการที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ซึ่งจำเลยผิดสัญญา และเป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยนอกเหนือจากการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุคนละอย่างกัน จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการต่างประเทศตามมาตรา 824
แม้โดยหลักทั่วไปว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก เมื่อตัวแทนกระทำการแทนตัวการไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนแล้ว ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายที่ตัวแทนได้ทำไปดังกล่าวนั้น โดยตัวแทนไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดต่อบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 ก็ตาม แต่ในกรณีตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศนั้นเป็นกรณีที่มี มาตรา 824 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนเช่นนี้ต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง ซึ่งหมายความว่า ตัวแทนเช่นว่านี้ต้องมีความรับผิดด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศกับจำเลยที่ 2 ตัวแทนที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 รวมกันมา และศาลได้พิจารณาเห็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกคนหนึ่งได้ตาม มาตรา 824
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/46)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/46)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเลิกบริษัทกับบุคคลภายนอก: ผลบังคับใช้เมื่อยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกบริษัท
บันทึกตกลงเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน หนี้สินและภาระความรับผิดชอบต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฝ่ายหนึ่งกับ ย. อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการจัดการแบ่งปันทรัพย์สินและชำระหนี้สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่ให้เสร็จสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ยังเป็นนิติบุคคล ข้อตกลงในการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินจึงยังไม่อาจมีผลบังคับได้ บันทึกตกลงเลิกบริษัทจึงไม่อาจถือเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จะอาศัยข้อตกลงในบันทึกดังกล่าวบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4121/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ชอบ หากเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม แม้มีเหตุจากสัญญาเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าเสียหายและลงโฆษณาขอขมาจำเลยที่ 1 ในหนังสือพิมพ์โดยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ยอมปลอดจำนองที่ดินที่ได้จำนองไว้เป็นประกันการกู้เงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย แต่สัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 อ้างรวมทั้งที่ดินที่จำนองตามสัญญาดังกล่าวเป็นคนละส่วนกับสัญญาและที่ดินที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้อง ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดทางสัญญา: ศาลพิพากษาเกินขอบเขตคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่รับฟัง
คำฟ้องของโจทก์แสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 เพียง 2 ข้อว่า ข้อหนึ่งจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ อันเป็นความรับผิดตามสัญญาซื้อขาย และข้อสองจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้ากับจำเลยที่ 1 เพราะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (3) เท่านั้น ไม่มีข้อหาว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว อุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามมาตรา 1490 (1) เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้านธีระพร การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านธีระพรซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตร ตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันตามมาตรา 1490 (1) แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในเรื่องที่นอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 249 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์และในการประกอบกิจการของร้านธีระพร จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับขนสินค้าทางทะเล: ความรับผิดในสัญญา และอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลในประเทศไทยในการทำพิธีการรายงานเรือเข้าออกต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้รับแต่งตั้งมอบหมายให้สามารถลงชื่อในใบตราส่งในฐานะตัวแทนแทนนายเรือและเรียกเก็บเงินค่าระวางเพื่อโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการทำสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น มิใช่ผู้ขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญารับขนสินค้าทางทะเลกับโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งแทนจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ แล้วจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญานั้นต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งและโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งแต่ลำพังตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
ในเรื่องหนี้เงินต่างประเทศ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินไทยได้ และในวรรคสอง บัญญัติว่าการเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ดังนี้ จำนวนเงินบาทที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระแก่โจทก์จะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่มีการชำระหนี้แก่โจทก์จริง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่มีคำพิพากษาหรือในวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันมีคำพิพากษา หากในวันดังกล่าวอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทจำนวนมากกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในวันชำระหนี้กันจริง ก็จะมีผลให้จำเลยที่ 2 ต้องชำระหนี้มากกว่าจำนวนเงินที่ต้องชำระจริง จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
ในเรื่องหนี้เงินต่างประเทศ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินไทยได้ และในวรรคสอง บัญญัติว่าการเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ดังนี้ จำนวนเงินบาทที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระแก่โจทก์จะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่มีการชำระหนี้แก่โจทก์จริง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่มีคำพิพากษาหรือในวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันมีคำพิพากษา หากในวันดังกล่าวอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทจำนวนมากกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในวันชำระหนี้กันจริง ก็จะมีผลให้จำเลยที่ 2 ต้องชำระหนี้มากกว่าจำนวนเงินที่ต้องชำระจริง จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมที่ไม่สมบูรณ์ตามฟอร์ม แต่มีเจตนาชัดเจนในการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดิน และผลของสัญญาค้ำประกันที่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์
จำเลยที่ 1 ไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบเงินที่ยืมให้แก่จำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงจะชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 แทนการโอนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 ในขณะทำสัญญาแต่ตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 หากไม่โอนยินยอมชดใช้เงิน ซึ่งเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าทำนองเบี้ยปรับ สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญากู้ยืมเงินอันจะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
สัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต แม้เป็นสัญญาค้ำประกันหนี้อันสมบูรณ์ แต่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงถือว่าเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยโจทก์ทั้งสองยังคงได้รับชำระเงินจากจำเลยทั้งสอง เพียงแต่ได้รับชำระเป็นจำนวนน้อยกว่าจำนวนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสองจึงยังเป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งความรับผิดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกแก่จำเลยทั้งสองฝ่ายที่แพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง
สัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต แม้เป็นสัญญาค้ำประกันหนี้อันสมบูรณ์ แต่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงถือว่าเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยโจทก์ทั้งสองยังคงได้รับชำระเงินจากจำเลยทั้งสอง เพียงแต่ได้รับชำระเป็นจำนวนน้อยกว่าจำนวนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสองจึงยังเป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งความรับผิดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกแก่จำเลยทั้งสองฝ่ายที่แพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเพิกถอนสิทธิเช่าสร้างและชดใช้เงิน เมื่อทรัพย์สินถูกเวนคืน สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุด การบังคับคดีต่อทรัพย์สินอื่นชอบด้วยกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ถ้าไม่สามารถเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้าง และสัญญาเช่าสร้างได้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินแก่โจทก์หากเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างได้แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าสร้างให้โจทก์ได้ ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินแก่โจทก์แม้ก่อนศาลมีคำพิพากษาที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 เช่าสร้างอาคารได้ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ แต่จำเลยที่ 2 หรือที่ 3 ไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าสร้าง สัญญาเช่าสร้างจึงยังมิได้ยกเลิกหรือเพิกถอนไป หากมีการยกเลิกการเวนคืนที่ดินสัญญาเช่าสร้างก็ยังคงมีผลอยู่เช่นเดิม ตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนเมื่อที่ดินตามสัญญาเช่าสร้างถูกเวนคืนอันทำให้ไม่มีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาให้เพิกถอนเพื่อโอนให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าสภาพแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างไม่เปิดช่องให้กระทำได้ กรณีจึงต้องดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในลำดับต่อมา คือจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันและข้อยกเว้นการระงับหนี้ แม้มีข้อตกลงที่เป็นโมฆะ
จำเลยเป็นหนี้โจทก์โดยทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงให้ฝ่ายโจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติทั้งหมด 10 ข้อ ในส่วนที่เกี่ยวกับการถอนฟ้องเป็นเรื่องที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่ง 1 คดี จำเลยกับพวกถอนฟ้องคดีอาญา 1 คดี คดีแพ่ง 2 คดี และตกลงประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งอีก 1 คดี คดีแพ่งทั้ง 4 คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดินจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แม้จะฟังว่าข้อตกลงในส่วนที่ให้ฝ่ายจำเลยถอนฟ้องคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีอาญาแผ่นดินซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตาม ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่โจทก์จะได้รับชำระหนี้จำนวน 700,000 บาท จากจำเลยและจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งเป็นหนี้เดิมจึงระงับไปแล้ว