คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญากู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง สัญญาซื้อขายสิทธิสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ สัญญากู้เงิน การชำระหนี้
จำเลยที่1ทำสัญญาซื้อขายสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ให้บริษัทช. ในราคา15ล้านบาทแต่ระบุไว้ในสัญญาเพียง1ล้านบาทส่วนอีก14ล้านบาทได้ทำเอกสารขึ้นสองฉบับคือสัญญากู้จ.1ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1และบันทึกข้อตกลงในการฝากและคืนเอกสารสัญญากู้ที่ฝากไว้กับธนาคารเงิน14ล้านบาทนั้นโจทก์ได้มาจากบ. ออกเช็คเข้าบัญชีของโจทก์แล้วโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายเงิน14ล้านบาทให้จำเลยที่1ข้อตกลงในการฝากและคืนเอกสารสัญญากู้มีว่าถ้าบริษัทช. เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์โดยสมบูรณ์เรียบร้อยแล้วให้จำเลยที่1เป็นผู้มีสิทธิรับเอกสารคืนซึ่งมีผลเท่ากับไม่ต้องชำระหนี้เงินกู้ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับสมาชิกนั้นคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้พิจารณาใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกซึ่งมีจำนวนไม่เกิน30รายสมาชิกอาจโอนการเป็นสมาชิกให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดการโอนสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จึงหาได้กระทำตามความสมัครใจของผู้โอนและผู้รับโอนเท่านั้นไม่ความสำคัญอยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตให้โอนกันด้วยขณะทำสัญญาซื้อขายจำเลยที่1และบริษัทช. จึงไม่มีทางรู้ว่าผลการพิจารณาของคณะกรรมการจะออกมาในรูปใด ไม่มีเหตุที่บริษัทช. ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าซื้อสิทธิให้แก่จำเลยที่1ถึง14ล้านบาทเมื่อการโอนสิทธิแก่กันยังไม่เป็นที่แน่นอนพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าการที่จำเลยที่1ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็เพื่อจะให้จำเลยที่1ได้เงินไปใช้ก่อนสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายหาได้มีเจตนาลวงหรืออำพรางนิติกรรมอื่นไม่ส่วนการตกลงเรื่องโอนสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์นั้นชั้นแรกคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีมติให้บริษัทช. เข้าเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์โดยการรับโอนสิทธิจากจำเลยที่1แต่บริษัทช.จะต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก5ล้านบาทเป็นอย่างน้อย20ล้านบาทภายใน6เดือนบริษัทช. ไม่อาจเพิ่มทุนได้เพราะที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นไม่อนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนการโอนสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทช. กับจำเลยที่1จึงยังไม่สมบูรณ์เรียบร้อยตามสัญญาจำเลยที่1ยังคงเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์อยู่เงื่อนไขที่ให้บริษัทช. เพิ่มทุนนั้นเป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจของบริษัทช. เพราะการเพิ่มทุนต้องมีมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของบริษัทช. หรือบริษัทช. ขัดขวางมิให้สัญญาซื้อขายเป็นผลสำเร็จโจทก์ย่อมมีสิทธิเป็นผู้รับสัญญากู้คืนและฟ้องจำเลยตามสัญญากู้และค้ำประกันได้ซึ่งโจทก์จะได้เงินมาจากใครนั้นไม่ใช่ข้อสำคัญเมื่อจำเลยที่1รับเงินไปจากโจทก์ก็ต้องคืนให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายพิมพ์นิ้วมือในสัญญากู้ต้องมีพยานรับรอง 2 คน หากไม่ครบ สัญญาเป็นโมฆะ
ผู้กู้รับว่าลงลายพิมพ์นิ้วมือในสัญญากู้ซึ่งมีพยานลงชื่อรับรอง ลายพิมพ์นิ้วมือหนึ่งคน และมีผู้ให้กู้ลงชื่อไว้ในช่องผู้ให้กู้แม้จะได้ความ ว่าผู้ให้กู้รู้เห็นการลงลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้ก็ตามแต่เมื่อผู้ให้กู้ มิได้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้ด้วยจึงถือไม่ได้ว่า ผู้ให้กู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้ดังนี้พยานรับรอง ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้จึงมีไม่ถึงสองคน จะถือเสมอกับว่าผู้กู้ ลงลายมือชื่อในสัญญากู้แล้วไม่ได้ขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา9 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องสัญญากู้ และอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย กรณีสัญญามิได้ระบุอัตราดอกเบี้ย
สัญญากู้มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าจะนำดอกเบี้ยมาชำระให้ท่านตามกำหนดระยะเวลา 1 เดือนต่อครั้ง และจะนำต้นเงินมาชำระให้ภายในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2515 ถ้าข้าพเจ้าไม่นำดอกเบี้ยและต้นเงินมาชำระให้ตามกำหนดด้วยเหตุใดๆ ก็ดีข้าพเจ้ายอมให้ท่านฟ้องร้องเรียกเอาต้นเงินและดอกเบี้ยจากข้าพเจ้าได้ตามกฎหมาย"ตีความได้ว่าสิทธิฟ้องร้องเรียกเงินต้นคืนจะเกิดขึ้นเมื่อผู้กู้ผิดนัดในการนำเงินต้นมาชำระคืนด้วยเพราะข้อความในสัญญาระบุว่าจะต้องผิดนัดทั้งในการนำดอกเบี้ยและเงินต้นมาชำระให้ตามกำหนด สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ในการเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยจึงจะเกิดขึ้นเหตุนี้อายุความฟ้องร้องเรียกเงินต้นของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่22 เมษายน 2515 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 20 เมษายน 2525คดีจึงไม่ขาดอายุความ สัญญากู้มิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จึงต้องบังคับตามมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือคิดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยโจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติและสัญญากู้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวได้ อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ในเมื่อเห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164-165/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีแล้ว ย่อมถือเสมือนไม่เคยฟ้อง ทำให้ฟ้องคดีซ้ำได้
โจทก์เคยนำสัญญากู้มาฟ้องจำเลยครั้งหนึ่งแล้ว แต่เมื่อโจทก์ถอนฟ้องคดีก่อน ย่อมเท่ากับว่าโจทก์ไม่เคยยื่นฟ้องคดีแพ่งดังกล่าวการที่โจทก์นำสัญญากู้ในคดีก่อนมาฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธความถูกต้องของลายมือชื่อในสัญญากู้ และผลต่อความสมบูรณ์ของหนี้
จำเลยให้การว่าลายเซ็นในสัญญากู้ไม่ใช่ของจำเลย สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม คำให้การดังนี้เป็นการปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของสัญญากู้และอ้างว่าหนี้นั้นไม่สมบูรณ์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ เมื่อจำเลยนำสืบและคดีฟังได้ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นของจำเลยแต่จำเลยมิได้เขียนข้อความในสัญญากู้ เท่ากับสัญญากู้ไม่ถูกต้อง หนี้ตามสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ไปจริงดังฟ้อง กรณีจึงหาเป็นการนำสืบและรับฟังนอกประเด็นไปจากข้อต่อสู้ในคำให้การไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีโดยปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารสัญญากู้ และการนำสืบข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับคำให้การเดิม แม้จะมีการยอมรับลายเซ็น
จำเลยให้การว่าลายเซ็นในสัญญากู้ไม่ใช่ของจำเลยสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม คำให้การดังนี้เป็นการปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของสัญญากู้และอ้างว่าหนี้นั้นไม่สมบูรณ์ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ เมื่อจำเลยนำสืบและคดีฟังได้ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นของจำเลยแต่จำเลยมิได้เขียนข้อความในสัญญากู้เท่ากับสัญญากู้ไม่ถูกต้อง หนี้ตามสัญญากู้ไม่สมบูรณ์จำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ไปจริงดังฟ้อง กรณีจึงหา เป็นการนำสืบและรับฟังนอกประเด็นไปจากข้อต่อสู้ในคำให้การ ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3161/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญากู้ที่ให้ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกเงินกู้ก่อนกำหนดได้ ย่อมใช้บังคับได้หากเกิดจากความสมัครใจของผู้กู้
สัญญากู้มีข้อความว่า "ผู้กู้ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญานี้ภายในวันที่ 10 เดือนเมษายน พ.ศ.2524 แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควรและโดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ ผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้เรียกร้องดังกล่าวมานี้ผู้กู้จะชำระหนี้ตามเรียกร้องทันที" ดังนี้ แม้ผู้กู้จะเสียเปรียบผู้ให้กู้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวก็เกิดขึ้นด้วยใจสมัครของลูกหนี้เอง หาเกี่ยวกับสังคมหรือประชาชนไม่จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดเป็นข้อสัญญาที่ใช้บังคับกันได้ผู้ให้กู้จึงฟ้องเรียกเงินกู้คืนก่อนครบกำหนดเวลาตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินที่ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีการฝากเงินไว้กับผู้ให้กู้ ผู้กู้ต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยต้องการตั๋วสัญญาใช้เงินมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์จึงได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โจทก์ได้ออกเช็คตามจำนวนเงินที่กู้แก่จำเลยแล้ว จำเลยมิได้นำเช็คไปรับเงินจากธนาคาร แต่สลักหลังให้โจทก์เพื่อฝากเงินไว้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลยเพื่อนำไปวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์ดังนี้ การที่จำเลยกู้เงินจากโจทก์แล้วฝากเงินไว้แก่โจทก์ แม้จะมีผลทำให้จำเลยเป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้โจทก์ในขณะเดียวกันก็เป็นความสมัครใจของจำเลยเองวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมไม่เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายเพื่อเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อสัญญากู้ที่จำเลยทำขึ้นกับโจทก์เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยตั้งใจจะให้มีผลผูกพัน มิได้มีการอำพรางนิติกรรมอื่นใดจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ จะอ้างว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ไม่บริบูรณ์เมื่อไม่มีการส่งมอบเงิน ผู้กู้มีสิทธิปฏิเสธหนี้ได้
การกู้ยืมเงินเข้าลักษณะยืมใช้สิ้นเปลือง ย่อมบริบูรณ์ต่อ เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม จำเลยย่อมนำสืบได้ว่าจำเลยมิได้กู้ยืมเงินโจทก์ อันเป็นการนำสืบว่าจำเลยมิได้รับมอบเงินกู้จากโจทก์ ซึ่งเป็นเหตุให้สัญญากู้ไม่บริบูรณ์ ทั้งไม่มีมูลหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์จำเลย ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่ผูกมัดจำเลย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ ความรับผิดของจำเลยที่ 2ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส.ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้
of 40