พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดตามสัญญาประนีประนอมจากตัวแทนเชิด แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจ
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3หรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกา โจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 3 เชิดจำเลยที่ 4ให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 3 ได้เชิดจำเลยที่ 4 อย่างไร เพราะสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นวิศวกรควบคุมการก่อสร้างของบริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกจ้างฝ่ายตรวจสอบอุบัติเหตุของจำเลยที่ 3 ร่วมกันเจรจาและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ณ สำนักงานของจำเลยที่ 3ประกอบกับการที่จำเลยที่ 1 และทนายความของจำเลยที่ 3 ยอมรับผิดตามหนังสือของโจทก์ที่ขอให้ชำระหนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 เห็นชอบในการทำสัญญา-ประนีประนอมยอมความด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้อยู่แล้วยอมให้จำเลย-ที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเขาเองออกเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อมิใช่เป็นเรื่องการตั้งตัวแทนไปทำสัญญาประนีประนอมยอม-ความกันตามปกติแต่เป็นเรื่องตัวแทนเชิด จึงหาจำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนแต่อย่างใดไม่
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นวิศวกรควบคุมการก่อสร้างของบริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกจ้างฝ่ายตรวจสอบอุบัติเหตุของจำเลยที่ 3 ร่วมกันเจรจาและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ณ สำนักงานของจำเลยที่ 3ประกอบกับการที่จำเลยที่ 1 และทนายความของจำเลยที่ 3 ยอมรับผิดตามหนังสือของโจทก์ที่ขอให้ชำระหนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 เห็นชอบในการทำสัญญา-ประนีประนอมยอมความด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้อยู่แล้วยอมให้จำเลย-ที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเขาเองออกเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อมิใช่เป็นเรื่องการตั้งตัวแทนไปทำสัญญาประนีประนอมยอม-ความกันตามปกติแต่เป็นเรื่องตัวแทนเชิด จึงหาจำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: การรับผิดตามสัญญาประนีประนอม แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจ
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3หรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกา โจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 3 เชิดจำเลยที่ 4 ให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 3 ได้เชิดจำเลยที่ 4 อย่างไร เพราะสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นวิศวกรควบคุมการก่อสร้างของบริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกจ้างฝ่ายตรวจสอบอุบัติเหตุของจำเลยที่ 3 ร่วมกันเจรจาและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ณ สำนักงานของจำเลยที่ 3 ประกอบกับการที่จำเลยที่ 1และทนายความของจำเลยที่ 3 ยอมรับผิดตามหนังสือของโจทก์ที่ขอให้ชำระหนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 เห็นชอบในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3รู้อยู่แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเขาเองออกเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อมิใช่เป็นเรื่องการตั้งตัวแทนไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามปกติแต่เป็นเรื่องตัวแทนเชิด จึงหาจำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องกับการส่งสำเนาอุทธรณ์, ประเด็นสาระแห่งคดี, และผลของการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอม
เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยศาลอุทธรณ์จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ว่าโจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องนั้นหรือไม่ ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือจะสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลชั้นต้นอย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์สั่งเพียงว่า "รวม" จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(1) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเสร็จไปแล้ว การที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยย่อมจะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลง ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วหากต่อมาในชั้นพิจารณาและพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เป็นสาระแก่คดีก็พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 การบังคับคดีจะต้องเป็นไปตามคำพิพากษา รายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นจดไว้ในวันทำคำพิพากษาตามยอมให้โจทก์จำเลยและจำเลยร่วมนั้น แม้จะมีถ้อยคำที่แตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็ไม่มีผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วมตลอดจนคำพิพากษาตามยอมเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าข้อความที่ศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอน จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้าง และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครอบคลุมความรับผิดของนายจ้าง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 เจ้าของรถสองแถวคันเกิดเหตุ มิได้ปฎิเสธ ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ผู้ขับรถสองแถว ขณะเจรจาเรื่องค่าเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้อ้างว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่ารถสองแถวคันเกิดเหตุของตนและมาร่วมในการเจรจาเรื่องค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทุกครั้งที่มีการเจรจากันดุจ จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของตน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างและปฎิบัติ หน้าที่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำไป สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี มีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้ค่าซ่อมรถตามที่โจทก์เรียกร้อง คู่กรณีไม่ติดใจเอาความทางอาญาอีกต่อไป ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับเท่านั้น ส่วนข้อความยอมรับผิดชดใช้ค่าซ่อมรถนั้นไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องชำระวิธีการชำระ อันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก ข้อความในสำเนารายงานดังกล่าวมิใช่เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างหลุดพ้นความรับผิดในมูลละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6337/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีหลังคำพิพากษาตามยอม: ระยะเวลาเริ่มต้นนับจากกำหนดชำระหนี้ในสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษา ตามยอมพร้อมออกคำบังคับในวันที่ 29 เมษายน 2520 โจทก์จำเลย ลงชื่อรับทราบคำบังคับกำหนดให้จำเลยใช้เงินตาม สัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 6 เดือน การที่โจทก์จะมีสิทธิบังคับคดีและขอให้ศาลออกหมาย บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271,273,276 ได้นั้นจะต้องให้ระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยได้ภายในสิบปีตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2520 จนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2530
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลภายนอกจากสัญญาประนีประนอม สัญญาฉบับหลังไม่ผูกพันโจทก์
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และนายอรุณทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงเลิกห้างจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 กับต้องชำระหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ทั้งหมดรวมทั้งหนี้ภาษีอากรในคดีนี้ สัญญาฉบับแรกนี้จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ภาษีอากรจากจำเลยที่ 3 โดยตรงได้ เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว
สิทธิของบุคคลภายนอกจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375นั้น จะต้องกระทำโดยคู่สัญญาทุกฝ่าย แต่สัญญาฉบับหลังที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและนายอาภรณ์ผู้ชำระบัญชีฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาฉบับแรกนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและนายอรุณมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาฉบับหลัง สัญญาฉบับหลังจึงไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งได้เกิดมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 แล้ว
สิทธิของบุคคลภายนอกจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375นั้น จะต้องกระทำโดยคู่สัญญาทุกฝ่าย แต่สัญญาฉบับหลังที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและนายอาภรณ์ผู้ชำระบัญชีฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาฉบับแรกนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและนายอรุณมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาฉบับหลัง สัญญาฉบับหลังจึงไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งได้เกิดมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อบุคคลภายนอก การเปลี่ยนแปลงสิทธิ และผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และนายอรุณทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงเลิกห้าง จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 กับต้องชำระหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1ทั้งหมดรวมทั้งหนี้ภาษีอากรในคดีนี้ สัญญาฉบับแรกนี้จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ภาษีอากรจากจำเลยที่ 3 โดยตรงได้ เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว สิทธิของบุคคลภายนอกจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตามป.พ.พ. มาตรา 375 นั้น จะต้องกระทำโดยคู่สัญญาทุกฝ่าย แต่สัญญาฉบับหลังที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและนายอาภรณ์ผู้ชำระบัญชีฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาฉบับแรกนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและนายอรุณมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาฉบับหลัง สัญญาฉบับหลังจึงไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งได้เกิดมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา374 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เกินคำขอ-ฟ้องแทนผู้เยาว์: โจทก์ฟ้องในฐานะคู่สัญญา ไม่ใช่ตัวแทน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องพิพาทเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วแจ้งให้ออกแต่จำเลยไม่ยอมออกไปการที่โจทก์ และจำเลยตกลงกันโดยจำเลยยอมชำระค่าเช่าที่ค้าง(ค่าเสียหาย) แก่โจทก์และโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าห้องต่อไปอีก 1 ปีเป็นข้อตกลง ที่ไม่ฝ่าฝืนกฎหมายและเป็นการตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดี หรือที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดีแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ตามยอมให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้าง (ค่าเสียหาย) ดังกล่าวแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเกินคำขอหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในฟ้อง และถือไม่ได้ว่าเป็นการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์ระบุชื่อโจทก์ผู้ฟ้องว่า"นางวนิดากลั่นประทุมมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายมนตรีพัธเสมาและเด็กหญิงดารณีพัธเสมา โจทก์" มีความหมายแต่เพียงว่าโจทก์มีฐานะเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาวทั้งสองยังไม่แจ้งชัดว่าเป็นการฟ้องแทนผู้เยาว์ เพราะถ้าโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เยาว์จะต้องระบุชื่อผู้เยาว์เป็นโจทก์ในคำฟ้อง เช่นระบุว่าเด็กชายมนตรี พัธเสมาและเด็กหญิงดารณีพัธเสมา โดยนางวนิดากลั่นประทุม มารดาผู้แทนโดยชอบธรรม โจทก์การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยระบุว่าเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรม ของผู้เยาว์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าโจทก์ประสงค์จะแสดงความสัมพันธ์ ของโจทก์กับผู้เยาว์ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสำเนา โฉนดท้ายฟ้องอันเป็นที่ตั้งของตึกแถวพิพาทมากกว่า คำฟ้องของโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท จำเลยได้เข้าทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาเช่าเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งตามสัญญาเช่าดังกล่าวก็ระบุ ชัดแจ้งว่านางวนิดากลั่นประทุม (โจทก์) เป็นผู้ให้เช่า ไม่มีข้อความว่าได้กระทำการแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่อย่างใดโจทก์ ฟ้องคดีขอให้ขับไล่จำเลยอันเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าที่โจทก์เป็นผู้ให้เช่า เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันก็ ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยหาได้ระบุว่าโจทก์กระทำการแทนผู้เยาว์ไม่ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวในฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่า ไม่ได้ฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้ทำการแทนผู้เยาว์กรณีไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5671/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันบุคคลภายนอกคดี แม้ผู้ทำสัญญาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์จำเลยหย่ากันและแบ่งทรัพย์สินซึ่งระบุให้จำเลยโอนที่ดินจำนวน 14 ไร่ ที่บริษัทม. จำกัด เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการเพียงผู้เดียวพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทได้ให้โจทก์ สัญญานี้ระบุด้วยว่า คำพิพากษาตามยอมไม่บังคับถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอกคดี การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เป็นการกระทำในฐานะส่วนตัว มิได้ทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทดังกล่าวข้อตกลงตามสัญญานี้จึงไม่ผูกพันบริษัท ม. จำกัด คำพิพากษาตามยอมไม่อาจบังคับเกี่ยวกับที่ดินจำนวน 14 ไร่ ของบริษัท ม. จำกัดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี การบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนนี้จึงกลายเป็นพ้นวิสัย ดังนี้ ศาลจะบังคับให้จำเลยโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับตามสัญญาประนีประนอม ผู้ร้องไม่ใช่คู่ความ ศาลไม่สามารถบังคับได้โดยตรง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบังคับผู้ร้องจดทะเบียนทางภาระจำยอมตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช้สิทธิบังคับผู้ร้องตามสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้ศาลบังคับคดีเอากับจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับผู้ร้องที่เป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความ.