คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอมยอมความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 674 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9746/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การยกเลิกและการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุละเมิด
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นระหว่างคู่กรณีมีผลให้ระงับสิทธิเรียกร้องของคู่กรณีเดิมและก่อให้เกิดสิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่หลังจากทำแล้วคู่กรณีย่อมจะแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นหรือยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ได้ตามสมัครใจเมื่อต่อมาคู่กรณีได้แสดงเจตนายกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว จึงไม่จำต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9400/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนผันเงื่อนเวลาในสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลต่อการผิดสัญญา
แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ไปแถลงขอให้งดการบังคับคดีแก่โจทก์ไว้ภายใน 7 วัน ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตามแต่โจทก์ก็ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาซึ่งเป็นข้อสาระสำคัญตามสัญญาแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ไปแถลงขอ งดการบังคับคดีภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ผ่อนผันให้ใหม่ จึงเป็นการปฏิบัติตามข้อผ่อนผันของโจทก์หรือถือว่าจำเลยทั้งสองได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่โจทก์อ้าง ทั้งไม่ปรากฏความเสียหายแก่โจทก์ในส่วนเกี่ยวกับการงดการบังคับคดี กรณีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกร้องบังคับให้คืนเงินและบังคับคดีตามข้อสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ, การฟ้องคดีก่อนกำหนด, การละเมิด, การป้องกันความเสียหาย, การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าตามรายงานประจำวันกำหนดให้จำเลยปฎิบัติตามข้อตกลงภายในวันที่30เมษายน2534โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้องดังนั้นข้อที่จำเลยฎีกาว่ารายงานประจำวันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยโดยมิชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามรายงานประจำวันจำเลยรับว่าจะดำเนินการป้องกันความเสียหายแก่ที่ดินของโจทก์โดยจะทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่30เมษายน2534และรับว่าจะไม่ขุดดินในแนวสโลปอีกแต่หลังจากทำบันทึกตามรายงานประจำวันดังกล่าวเมื่อวันที่24มิถุนายน2531แล้วจำเลยไม่ปฎิบัติตามข้อตกลงในรายงานประจำวันดังกล่าวโดยยังกลับขุดดินทำให้ที่ดินของโจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ขึ้นอีกโจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ ตามรายงานประจำวันระบุว่าจำเลยยอมรับผิดชอบในความเสียหายในเนื้อที่ดินของฝ่ายโจทก์และผู้เสียหายรายอื่นทุกแปลงและจะกระทำการต่างๆเพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของดินฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการนำดินมาถมและทำคันดินก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินของฝ่ายโจทก์อีกถือได้ว่าตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีในรายงานประจำวันดังกล่าวจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นหมดสิ้นไปและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7150/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซ่อมรถยนต์ที่ไม่ชัดเจน ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดยังคงอยู่
บันทึกตกลงค่าเสียหายระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้กระทำละเมิดระบุว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมตามที่ฝ่ายโจทก์เรียกร้อง โดยจะมอบหมายให้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุที่ชนรถยนต์ของโจทก์เป็นผู้นำรถยนต์ของโจทก์ไปซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิม ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีการตกลงเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าซ่อมไว้เป็นที่แน่นอนและจำเลยที่ 2ไม่ได้ร่วมตกลงด้วย จึงไม่แน่ว่าจำเลยที่ 2 จะยินยอมซ่อมรถยนต์ของโจทก์หรือไม่ เพียงใด ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันแก่กันจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดจึงไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7033/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันตามสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ทั้งห้าได้มอบหมายให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับ ฉ.ดำเนินการทำสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวม โจทก์ทั้งห้าจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวจะกลับมาโต้แย้งว่า โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือไม่ผูกพันโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่ได้ และข้อความตามสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมกับบันทึกต่อท้าย มีลักษณะเป็นการที่คู่ความตกลงระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไป โดยให้ทรัพย์สินนอกเหนือจากที่ปรากฏในสัญญาเป็นของผู้ใดในขณะทำสัญญาก็คงให้เป็นของผู้นั้น สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และโจทก์ทั้งห้าต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว ดังนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสองตกลงให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ไม่จำต้องชำระบัญชีกันอีกตามป.พ.พ.มาตรา 1061

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7033/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ต้องชำระบัญชี
โจทก์ทั้งห้าได้มอบหมายให้โจทก์ที่1และที่2กับฉ.ดำเนินการทำสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมโจทก์ทั้งห้าจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวจะกลับมาโต้แย้งว่าโจทก์ที่3ถึงที่5มิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือไม่ผูกพันโจทก์ที่3ถึงที่5ไม่ได้และข้อความตามสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมกับบันทึกต่อท้ายมีลักษณะเป็นการที่คู่ความตกลงระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไปโดยให้ทรัพย์สินนอกเหนือจากที่ปรากฎในสัญญาเป็นของผู้ใดในขณะทำสัญญาก็คงให้เป็นของผู้นั้นสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850และโจทก์ทั้งห้าต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวดังนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสองตกลงให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันไม่จำต้องชำระบัญชีกันอีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1061

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความจากข้อฉ้อฉลและผลกระทบต่อบุคคลนอกคดี
การฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 คนหนึ่ง รวมทั้งเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมนั้น ศาลจึงจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ มีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษา ศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์ เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสอง การจำหน่ายคดีออกจากสารบบทำให้ศาลไม่สามารถบังคับตามคำขอได้
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยทั้งสองนั้นโจทก์จะต้องฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่กรณีที่ทำนิติกรรมการที่โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกจากสารบบความจะทำให้ศาลไม่สามารถพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์ได้เพราะจำเลยที่1เป็นบุคคลนอกคดีเสียแล้วปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์, สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ขับรถโดยสาร-ประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิด จำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิด เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 จำนวนเงิน 90,000 บาท โจทก์ที่ 5และที่ 6 จำนวนเงินคนละ 60,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2ที่ 5 และที่ 6 แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ.ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5ตกลงใช้เงินจำนวน 150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1 จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 แทนผู้เยาว์ทั้งสาม ซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 1574 (8) เดิม (มาตรา 1574 (12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5
การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5266/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกคดีและสิทธิในการปล่อยทรัพย์: การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและการอ้างว่าเป็นสินสมรส
แม้ผู้ร้องจะเป็นภริยาของจำเลยแต่ก็มิได้ถูกฟ้องด้วยจึงเป็นบุคคลภายนอกและชอบที่จะนำคดีตามที่กล่าวอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นการจัดการสินสมรสโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอมด้วยไปฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนเป็นอีกคดีหนึ่งจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนในคดีซึ่งตนมิได้เป็นคู่ความด้วยหาได้ไม่ การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา288ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าวเมื่ออ้างว่าทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยร่วมกันเท่ากับยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าของทรัพย์ด้วยผู้ร้องจึงหามีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ไม่
of 68