คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาเช่าซื้อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อและการชดใช้ค่าใช้ทรัพย์เมื่อมิได้เกิดจากฝ่ายผิดสัญญา
ฟ้องโจทก์อ้างว่า สัญญาเช่าซื้อได้กำหนดวันชำระค่าเช่าซื้อไว้แน่นอน เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ จึงถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันโดยมิจำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1มิได้เป็นผู้ผิดสัญญาเช่าซื้อ เป็นการต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลย-ทั้งสองยังไม่เลิกกัน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ จึงรวมอยู่ในประเด็นที่ว่า สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลย-ทั้งสองเลิกกันแล้วหรือไม่ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 มิได้ผิดสัญญาแต่โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเลิกสัญญาต่อกันแล้ว ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเลิกสัญญาต่อกันแล้ว จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกฟ้องและนอกประเด็น
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ไม่ว่าจะโดยคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือโดยคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากันก็ตาม คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืนให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินค่าใช้ทรัพย์ให้โจทก์นั้น หาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5794/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ชอบ การยอมรับค่าเช่าซื้อที่ชำระไม่ตรงตามกำหนดแสดงว่าไม่ถือเอาข้อกำหนดเรื่องการผิดนัด
โจทก์ยอมรับค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่1ชำระไม่ตรงตามกำหนดตลอดมาแสดงว่าโจทก์ไม่ถือเอาข้อกำหนดสัญญาที่ว่าจำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดสัญญาเป็นอันเลิกกันโดยไม่จำต้องบอกกล่าวเป็นสาระสำคัญเมื่อจะบอกเลิกสัญญาโจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อภายในเวลาที่สมควรก่อนเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยมิได้กำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่ชอบสัญญายังไม่เลิกกันโจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ: การส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ถึงแม้ผู้รับไม่รับเอง ก็ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบ
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงการวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไปส่งที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่1แม้ไม่พบจำเลยที่1และไม่มีผู้ใดรับไว้โดยเกิดจากการที่จำเลยที่1หลีกเลี่ยงไม่ยอมรับก็ถือว่าหนังสือบอกเลิกสัญญาได้ไปถึงจำเลยที่1และมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – ประเด็นใหม่ไม่อุทธรณ์ – สัญญาเช่าซื้อ/กู้ยืม
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและสัญญาเช่าซื้อไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงินตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 เพียงแต่กล่าวมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพราง โดยมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาข้อแรกว่า โจทก์ฟ้องเรื่องเช่าซื้ออันไม่เป็นความจริง ความจริงโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงิน โจทก์ฟ้องจำเลยผิดข้อหาหรือฐานความผิดจำเลยไม่ควรต้องรับผิดตามฟ้องของโจทก์ และจำเลยที่ 1กู้ยืมเงินโจทก์มาเป็นเงิน 250,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ไปแล้วเป็นเงิน 125,489 บาท คงเหลืออีก 124,511 บาท เท่าที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นโจทก์คิดจากจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ต้องชำระให้แก่โจทก์นั้น ล้วนเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำเลยที่ 2 ถูกจำกัดสิทธิในการฎีกา เนื่องจากประเด็นใหม่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและสัญญาเช่าซื้อไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงินตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่2พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่2เพียงแต่กล่าวมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางโดยมิได้อุทธรณ์ขึ้นมาประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่จำเลยที่2ฎีกาข้อแรกว่าโจทก์ฟ้องเรื่องเช่าซื้ออันไม่เป็นความจริงความจริงโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ฟ้องจำเลยผิดข้อหาหรือฐานความผิดจำเลยไม่ควรรับผิดตามฟ้องของโจทก์และจำเลยที่1กู้ยืมเงินโจทก์มาเป็นเงิน250,000บาทเมื่อจำเลยที่1ชำระให้โจทก์ไปแล้วเป็นเงิน125,489บาทคงเหลืออีก124,511บาทเท่าที่จำเลยที่1จะต้องชำระให้แก่โจทก์ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นโจทก์คิดจากจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ต้องชำระให้แก่โจทก์นั้นล้วนเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งและไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อหลังบอกเลิกสัญญา: ครอบคลุมค่าเสียหายตามที่ระบุในสัญญา แม้คำนวณจากราคาค่าเช่าซื้อคงเหลือ
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 วรรคสอง มีข้อความว่า "แม้ว่าสัญญาจะเลิกไปตามการบอกเลิกแล้วก็ตาม การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้นไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องของเจ้าของ (โจทก์) ที่จะเรียกให้ผู้เช่า (จำเลยที่ 1) รับผิดบรรดาค่าเสียหาย ค่าใช้จ่ายอื่นใด ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้โดยผู้เช่าตกลงยินยอมรับผิดชอบทุกประการ" ข้อความดังกล่าวกำหนดถึงกรณีเมื่อจำเลยที่ 1ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องบรรดาค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อทุกประการ ดังนี้ ค่าเสียหายดังกล่าวหมายความรวมถึงค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องโดยใช้วิธีคำนวณจากราคาค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่ตามฟ้องข้อ 4.1 ด้วย โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จึงหาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อหลังบอกเลิกสัญญา: ค่าเสียหายรวมถึงส่วนต่างค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระ
สัญญาเช่าซื้อข้อ6วรรคสองมีข้อความว่า"แม้ว่าสัญญาจะเลิกไปตามการบอกเลิกแล้วก็ตามการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้นไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องของเจ้าของ(โจทก์)ที่จะเรียกให้ผู้เช่า(จำเลยที่1)รับผิดบรรดาค่าเสียหายค่าใช้จ่ายอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้โดยผู้เช่าตกลงยินยอมรับผิดชอบทุกประการ"ข้อความดังกล่าวกำหนดถึงกรณีเมื่อจำเลยที่1ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วโจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องบรรดาค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อทุกประการดังนี้ค่าเสียหายดังกล่าวหมายความรวมถึงค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องโดยใช้วิธีคำนวณจากราคาค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่ตามฟ้องข้อ4.1ด้วยโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จึงหาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, การผิดนัดชำระ, ค่าเสียหาย, อายุความ, การประมูลทรัพย์
การที่โจทก์รับเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อรถยนต์แล้วนำไปจ่ายให้แก่รัฐเป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเท่านั้นดังนั้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่ประมูลขายได้ ในสัญญาเช่าซื้อมีข้อสัญญาว่าจำเลยที่1ต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่จะต้องจ่ายถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญานั้นข้อตกลงเช่นนี้เป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้ากรณีเลิกสัญญาเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับและในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา190/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหาย, เบี้ยปรับ, อายุความ, ดอกเบี้ย - การกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสมและอายุความ
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แต่ผิดสัญญาโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อออกประมูลขายไปตามใบเสร็จรับเงินซึ่งระบุว่าค่าประมูลรถยนต์365,000บาทภาษีมูลค่าเพิ่ม25,550บาทยอมรวม390,550บาทเมื่อปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่1ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ตามฟ้องกันเมื่อวันที่14กันยายน2533ก่อนที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534ซึ่งเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้บังคับการที่โจทก์ได้รับเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม25,550บาทจากผู้ซื้อนำไปจ่ายให้แก่รัฐเป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเท่านั้นภาษีมูลค่าเพิ่ม25,550บาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่ประมูลขายได้ ข้อสัญญาที่ว่าผู้เช่าซื้อต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่จะต้องจ่ายถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญานั้นข้อตกลงเช่นนี้เป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้แทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้ากรณีเลิกสัญญาเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับและในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา190/30มิใช่อายุความหกเดือนตามมาตรา563 ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ค่าติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์มิใช่เงินอื่นใดที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นโมฆะแม้โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สูญหายคืนเงินดาวน์ฐานลาภมิควรได้
ขณะโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อก็ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายไป อันทำให้สัญญาเช่าซื้อระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 เงินค่าเช่าซื้อล่วงหน้าทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินดาวน์ส่วนหนึ่ง และทำเป็นสัญญากู้ให้ไว้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้หรือโดยเหตุซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) และ 247
of 49