พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10579/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเกิน 15 หน่วยการใช้ สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย ต้องมีพฤติการณ์สนับสนุน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่มีความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ปรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทงละ 1,800 บาท จำเลยที่ 4 อายุกว่าสิบเจ็ดปี แต่ยังไม่เกินยี่สิบปี ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 ให้ปรับ กระทงละ 900 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ฉะนั้น ความผิดฐานนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนข้อหาความผิดของจำเลยที่ 4 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับ กระทงละ 900 บาท จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 4 จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ (4) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยในข้อหาความผิดนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
ที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยรับฟังลงโทษไม่ได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ฐานร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 172 เม็ด และฟังว่าจำเลยที่ 4 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 15 เม็ด ซึ่งแตกต่างจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันนำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 187 เม็ด ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ยังคงพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 4 ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ทั้งยังกำหนดโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยรับฟังลงโทษไม่ได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ฐานร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 172 เม็ด และฟังว่าจำเลยที่ 4 นำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 15 เม็ด ซึ่งแตกต่างจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันนำเข้าเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 187 เม็ด ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ยังคงพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 4 ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ทั้งยังกำหนดโทษจำเลยที่ 1 และที่ 4 ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9520/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีครอบครองยาแก้ไอ (โคเดอีน) เกิน 250 มิลลิลิตร สันนิษฐานว่ามีไว้จำหน่าย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2545 มาตรา 7 (3) บัญญัติว่า ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 คือ ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า เมื่อนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 มาเป็นส่วนผสมของตำรับยาแล้วไม่ว่ายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จะมีจำนวนเท่าใด ย่อมต้องถือว่าตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ดังกล่าวเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ทั้งสิ้น เช่นนี้การที่จะพิจารณาว่าการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำนวนมากน้อยเพียงใดที่จะต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 181) ฯ จึงต้องถือเอาตามจำนวนของยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 นั้นเองว่า เกินจำนวน 250 มิลลิลิตร หรือ 30 เม็ด หรือ 30 แคปซูลหรือไม่ โดยเฉพาะการที่ได้กำหนดหน่วยเป็นเม็ดหรือแคปซูลด้วยยิ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นการกำหนดตามจำนวนของยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หาใช่ถือเอาตามจำนวนของโคเดอีนที่เป็นส่วนผสมอยู่ไม่ ดังนั้น เมื่อยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมของกลาง อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 มีปริมาตร 3,500 มิลลิลิตร เกินจำนวน 250 มิลลิลิตร จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: การกำหนดจำนวนหนี้ที่แน่นอน และการสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของ อ. โดยจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ระบุจำนวนเงินพร้อมอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอน สามารถคำนวณยอดหนี้ถึงวันฟ้องได้หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน การที่โจทก์อาจได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของ อ. ในภายหลังไม่เป็นเหตุให้หนี้ตามฟ้องกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยมอบบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำไว้ให้แก่โจทก์เป็นประกันแต่มิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์นำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ไว้ สิทธิเรียกร้องในเงินฝากจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์มิได้นำเงินฝากในบัญชีที่วางประกันไว้มาหักจากยอดหนี้ ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงขอให้โจทก์นำเงินฝากมาหักกลบลบหนี้ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ โจทก์จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยมีจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดตามมาตรา 9 โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยมอบบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำไว้ให้แก่โจทก์เป็นประกันแต่มิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์นำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ไว้ สิทธิเรียกร้องในเงินฝากจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์มิได้นำเงินฝากในบัญชีที่วางประกันไว้มาหักจากยอดหนี้ ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงขอให้โจทก์นำเงินฝากมาหักกลบลบหนี้ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ โจทก์จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยมีจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดตามมาตรา 9 โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ล้มละลาย: การส่งหนังสือทวงหนี้ตามภูมิลำเนาและการสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
ก่อนฟ้องคดีล้มละลายโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือลงวันที่ 5 กันยายน 2548 เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ได้นำหนังสือดังกล่าวไปส่งให้จำเลยที่บ้านเลขที่ 5/619 อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลย แต่ไม่พบจำเลยและไม่มีผู้ใดรับไว้ เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จึงมีหนังสือให้จำเลยไปรับหนังสือดังกล่าว แต่จำเลยไม่ไปรับหนังสือภายในกำหนด เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จึงส่งหนังสือคืนแก่โจทก์ หลังจากนั้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้อีกครั้งหนึ่งโดยส่งให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาดังกล่าว ปรากฏว่ามี อ. ซึ่งระบุว่าเป็นย่าของจำเลยเป็นผู้รับไว้แทน ดังนั้นจากพฤติการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรอันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการแล้ว แต่เหตุที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไม่สามารถส่งหนังสือทวงถามให้แก่จำเลยได้ในครั้งแรกเกิดจากการที่จำเลยหลีกเลี่ยงไม่ไปรับหนังสือดังกล่าวภายในกำหนด จึงถือว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งแรกด้วยแล้ว เมื่อในการส่งหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งที่ 2 มีผู้รับไว้แทน จึงฟังได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้และการสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี กรณีจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่จำเลยไม่สืบพยานกรณีจึงไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ส่วนที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่า จำเลยได้รับโอนที่ดิน 1 แปลง เพียงพอชำระหนี้ได้นั้น คดีนี้จำเลยขอเลื่อนการนัดฟังคำพิพากษาหลายครั้งเพื่อเจรจาประนอมหนี้กับโจทก์ จนกระทั่งปรากฏว่าเช็คที่ญาติของจำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์นั้น ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ จึงมีการโอนที่ดินให้แก่จำเลยก่อนวันนัดฟังคำพิพากษา 3 วัน พฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่าเป็นการโอนที่ดินให้เพื่อเป็นพยานหลักฐานให้ศาลพิพากษายกฟ้องในคดีล้มละลาย ซึ่งมีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่ค้างชำระตามคำพิพากษาคดีแพ่งอีกต่อไปเนื่องจากพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว และกรณีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานและการสันนิษฐานทางกฎหมาย
ในความผิดฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นแม้โจทก์มิได้ระบุมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องและได้ระบุมาตรา 23 อันเป็นบทกำหนดโทษของมาตรา 11 ไว้ในคำขอท้ายฟ้องแล้ว คำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานนี้จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) เมื่อคำว่า "สถานีวิทยุคมนาคม" ตามมาตรา 4 หมายความว่า ที่ส่งวิทยุคมนาคม ที่รับวิทยุคมนาคม หรือที่ส่งและรับวิทยุคมนาคม และคำว่า "วิทยุคมนาคม" หมายความว่า การส่งหรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียงหรือการอื่นใดซึ่งสามารถเข้าใจความหมายได้ด้วยคลื่นแฮรตเซียน เมื่อเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยติดตั้งไว้สามารถรับฟังข้อความจากผู้ใช้วิทยุสื่อสารได้ การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 แล้ว การต้องใช้คลื่นความถี่เท่าใด เป็นข้อกำหนดสำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมในการใช้คลื่นความถี่ให้ถูกต้อง หาจำต้องเป็นการตั้งสถานีเครื่องรับส่งในระยะความถี่ไม่น้อยกว่า 25 วัตต์ หรือมีขีดความสามารถรับส่งได้ในระยะทางไม่น้อยกว่า 25 กิโลเมตร หรือต้องเป็นการติดต่อหรือประกาศแจ้งออกไปสู่บุคคล องค์กร หรือต่อประชาชนในการประกาศข่าวสาร ส่ง หรือรับข่าวสารข้อความใด ๆ ได้ชัดเจนไม่
การที่จำเลยสั่งให้นาย ต. นำเมทแอมเฟตามีน 40 เม็ด ไปมอบให้นาง ม. และนาย ต. ยอมทำตามคำสั่งของจำเลย ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับนาย ต. มีลักษณะเป็นตัวการตัวแทน จึงเป็นการส่งมอบระหว่างผู้กระทำผิดด้วยกันเอง หาใช่เป็นการให้อันจะถือว่าเป็นการจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
การที่จำเลยสั่งให้นาย ต. นำเมทแอมเฟตามีน 40 เม็ด ไปมอบให้นาง ม. และนาย ต. ยอมทำตามคำสั่งของจำเลย ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับนาย ต. มีลักษณะเป็นตัวการตัวแทน จึงเป็นการส่งมอบระหว่างผู้กระทำผิดด้วยกันเอง หาใช่เป็นการให้อันจะถือว่าเป็นการจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาเอกสาร) และการสันนิษฐานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ผู้ร้องได้อ้างส่งต้นฉบับของเอกสารทั้งหมดต่อศาลชั้นต้นประกอบคำเบิกความของ ช. ผู้รับมอบอำนาจผู้ร้อง แต่ศาลชั้นต้นได้คืนต้นฉบับเอกสารให้ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ โจทก์ไม่ได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับในขณะที่ผู้ร้องได้รับคืนต้นฉบับเอกสารนั้นว่าไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ผู้ร้องส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับทุกฉบับ จึงเป็นการตกลงกันว่าสำเนาเอกสาร ตามที่โจทก์ฎีกานั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงยอมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา 93 (1) การที่ต่อมาโจทก์คัดค้านสำเนาเอกสารดังกล่าวเมื่อสืบพยานปาก ช. เสร็จแล้ว จึงไม่ทำให้การรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวโดยชอบแล้วเสียไป
โจทก์ฎีกาว่าผู้ร้องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ไม่ชอบด้วยกฎมหาย แต่มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินอันเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง ผู้ร้องจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานที่เป็นคุณว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายอันเป็นคุณต่อผู้ร้อง
โจทก์ฎีกาว่าผู้ร้องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ไม่ชอบด้วยกฎมหาย แต่มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินอันเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง ผู้ร้องจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานที่เป็นคุณว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายอันเป็นคุณต่อผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานและการสันนิษฐานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินในคดีจำนอง
ผู้ร้องอ้างส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาลชั้นต้นประกอบคำเบิกความของ ซ. แต่ศาลชั้นต้นได้คืนต้นฉบับเอกสารให้ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ โจทก์ไม่ได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับในขณะที่ผู้ร้องได้รับคืนต้นฉบับเอกสารนั้นว่าไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ผู้ร้องส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ จึงเป็นการตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา 93 (1)
โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชน กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายอันเป็นคุณต่อผู้ร้อง
โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชน กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายอันเป็นคุณต่อผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4428/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานว่าทรัพย์สินเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฟอกเงิน และข้อยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับอัยการ
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคสอง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทรัพย์สินของผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเป็นผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานจึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้คัดค้านเท่าที่นำสืบมาไม่สามารถพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานได้ จึงต้องรับฟังว่าทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ถูกยึดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
การดำเนินคดีเกี่ยวกับการร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดิน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคหนึ่ง บังคับให้ยื่นต่อศาลแพ่งและจะต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับในการดำเนินกระบวนพิจารณา แม้ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความซึ่งรวมถึงค่าทนายความจะตกอยู่แก่ฝ่ายที่แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 แต่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง บัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงซึ่งหมายความรวมถึงค่าธรรมเนียมใช้แทนและค่าทนายความให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้คัดค้านทั้งสอง จึงไม่ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามแม้ผู้ร้องจะได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง
การดำเนินคดีเกี่ยวกับการร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดิน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคหนึ่ง บังคับให้ยื่นต่อศาลแพ่งและจะต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับในการดำเนินกระบวนพิจารณา แม้ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความซึ่งรวมถึงค่าทนายความจะตกอยู่แก่ฝ่ายที่แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 แต่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง บัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงซึ่งหมายความรวมถึงค่าธรรมเนียมใช้แทนและค่าทนายความให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้คัดค้านทั้งสอง จึงไม่ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามแม้ผู้ร้องจะได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3605/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานว่าทรัพย์สินเกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด และภาระการพิสูจน์ของจำเลย
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า ...ถ้าปรากฏหลักฐานว่าจำเลยหรือผู้ถูกตรวจสอบเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาเงินหรือทรัพย์สินที่ผู้นั้นมีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะ หรือความสามารถในการประกอบอาชีพ หรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ถูกฟ้องเป็นจำเลยในข้อหาร่วมกันผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เกินปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในการครอบครองเพื่อขาย จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ที่ผู้ร้องขอให้ริบย่อมต้องตามข้อสันนิษฐานของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 2 จึงมีภาระการพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวตามมาตรา 29 (1) (2) ว่า ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 นั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือได้ทรัพย์สินมาโดยสุจริต ที่ผู้คัดค้านที่ 2 นำสืบว่า ทรัพย์สินดังกล่าวได้มาจากการประกอบกิจการบริษัท 2 แห่ง โดยมีหลักฐานเป็นสำเนาใบสำคัญรับและใบเสร็จรับเงิน และเคยชำระภาษีตามสำเนาใบสำคัญจ่าย 2 ฉบับ นั้นไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 2 มีหลักฐานทางบัญชีแสดงรายรับและรายจ่ายของบริษัททั้ง 2 แห่ง หรือบริษัททั้ง 2 แห่ง เคยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อกรมสรรพากร อันแสดงให้เห็นว่าการประกอบกิจการของบริษัทดังกล่าวมีรายได้เพียงใด ข้อนำสืบของผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวได้