พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์: สิทธิฟ้องของโจทก์จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิครอบครองรถ ณ เวลาทำสัญญาประกัน
ผู้เอาประกันภัยรถบรรทุกหมายเลขทะเบียน 80-1287 ศรีสะเกษไว้กับจำเลยที่ 3 ได้แก่ร. โดยทำสัญญาประกันภัยเมื่อวันที่24 มกราคม 2528 มีระยะเวลาประกันภัยตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2528ถึงวันที่ 25 มกราคม 2529 ขณะทำสัญญาประกันภัยห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีสะเกษ ต.ไทยเจริญ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้รถโดยถือกรรมสิทธิ์รถบรรทุกคันดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 1 เพิ่งรับโอนสิทธิครอบครองและใช้รถโดยถือกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2528 หลังจากทำสัญญาประกันภัยรถบรรทุกคันดังกล่าวไปแล้วและไม่มีการโอนสิทธิตามสัญญาประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยรถบรรทุกคันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการรับปากช่วยฝากเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบก ศาลฎีกายืนยันผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
จำเลยตกลงกับ ร.ว่าถ้าให้เงิน60,000บาทบุตรของร.จะเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบกได้ร. ได้ต่อรองเหลือ 50,000 บาทและ ร.ได้มอบเงินแก่จำเลยจนครบถ้วนแล้วแต่ต่อมาบุตรของร.สอบเข้าเรียนไม่ได้ เพราะจำเลยไม่สามารถช่วยให้เข้าเรียนได้ก็เป็นการหลอกลวง ร.ทั้งไม่ปรากฏว่าร. ได้ให้เงินแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปให้แก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการสอบคัดเลือกให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต การที่จำเลยรับว่าจะช่วยบุตรของ ร.จึงเป็นการหลอกลวงร. เพื่อต้องการได้เงินจาก ร.เท่านั้นไม่ถือว่าร. ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้เจ้าพนักงาน อันเป็นการใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดร. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย และมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยหลอกลวงและได้รับเงินไปจากผู้เสียหายหรือไม่ เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องไม่สิ้นสุดแม้โอนสิทธิ, โจทก์ร่วมมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ได้
ขณะเสนอคำฟ้อง โจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงมีอำนาจฟ้อง แม้ภายหลังฟ้องคดีโจทก์จะโอนที่ดินและตึกแถวให้โจทก์ร่วม อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป โจทก์ร่วมเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากโจทก์ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี มีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายในคดีอาญา ส่งผลให้สิทธิในการฟ้องระงับ
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหาย จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้เสียหาย ถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙(๒) แต่ศาลอุทธรณ์ ไม่ดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว กลับวินิจฉัยอุทธรณ์ ของจำเลย แล้วพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
จำเลยรับของโจรรถจักรยานยนต์ 2 คัน ไว้ในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นแต่ละคดีตามจำนวนรถจักรยานยนต์เป็น 2 คดี เมื่อได้ความว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์คันหนึ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งเป็นคดีนี้อีกเพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เช่าฟ้องผู้รับโอนต้องผ่าน คชก.ก่อน จึงมีสิทธิฟ้องคดี
การฟ้องขอให้ผู้รับโอนนาให้แก่ผู้เช่า โดยอ้างว่าผู้ให้เช่าขายไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้น ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย กล่าวคือต้องร้องขอต่อ คชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยก่อน หากไม่พอใจคำวินิจฉัย คชก.ตำบลก็ต้องอุทธรณ์ไปยัง คชก.จังหวัด เมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่พอใจจึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านามิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขอคืนรถยนต์ของกลาง: เจ้าของรถมีสิทธิฟ้องเมื่อไม่ได้รู้เห็นการกระทำผิด
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางที่บรรทุกแร่ผิดกฎหมายและถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดแล้วส่งมอบให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาไว้ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 ต่อมาอธิบดีของจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้ ค.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ดำเนินการฟ้องขอคืนรถยนต์ของกลางต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น ดังนี้เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดทั้งได้ยื่นฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ของกลางแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 14 เบญจ วรรคสี่ นอกจากนี้การที่จำเลยทั้งสองยึดรถยนต์ของกลางซึ่งเป็นของโจทก์ไว้นั้นก็เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ด้วย โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อติดตามเอาคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรขาเข้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการฟ้องขอคืนเงิน พร้อมดอกเบี้ย
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงจึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางประกันเงินค่าอากรอีกส่วนหนึ่งได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้ว ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระเงินค่าอากรเพิ่มเป็นเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แม้โจทก์มิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนและมิได้บอกกล่าวให้จำเลยคืนเงินตามฟ้องก่อนนั้น ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องนั้น จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่าที่โจทก์ชำระไปให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 112 จัตวา วรรคท้าย ซึ่งคดีนี้โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าพิพาทเท่าที่โจทก์ซื้ออันอนุมานได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ที่จำเลยอ้างว่าต่ำกว่าราคาประเมินที่จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงประเมินภาษีอากรขาเข้าตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 47/2531 ข้อ 1.8 ที่ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 6 เดือนนั้น จำเลยไม่ได้นำสืบให้ประจักษ์ว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นจำนวนเท่าใด หลักฐานที่ว่ามีผู้นำเข้ารายอื่นในช่วง 6 เดือนดังกล่าวไม่มีในเอกสารที่ส่งจึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจะเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับสินค้าพิพาทหรือไม่ ยังฟังไม่ได้ว่าราคาที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาสินค้าพิพาทและประเมินภาษีอากรขาเข้าของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิฟ้องใหม่: ศาลฎีกาวินิจฉัยการถอนฟ้องในคดีก่อน ไม่ทำให้สิทธิฟ้องคดีเดิมของโจทก์หมดไป
แม้ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตถอนฟ้องว่า โจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยอีกต่อไป ก็มีความหมายว่า ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีก ทั้งมิใช่เป็นการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้น การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้ถือเช็คมีสิทธิฟ้อง แม้ได้รับชำระหนี้แล้ว คดีไม่ระงับ
จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้ ย.เพื่อชำระหนี้ เช็คดังกล่าวเป็นเช็คให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ย.ย่อมโอนให้แก่ผู้เสียหายด้วยการส่งมอบให้กันตามป.พ.พ. มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 ผู้เสียหายจึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบเมื่อผู้เสียหายนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
ขณะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ผู้เสียหายเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย จึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) แม้ต่อมาภายหลังผู้เสียหายจะได้รับชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าวจาก ย. ก็ไม่ทำให้ฐานะการเป็นผู้เสียหายของผู้เสียหายในคดีอาญาหมดไป ทั้งการชำระหนี้ของ ย.แก่ผู้เสียหายก็เป็นการชำระหนี้ตามกฎหมายที่ ย.จะต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย มิใช่เป็นการชำระหนี้แทนจำเลย จึงไม่ทำให้คดีระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 แต่อย่างใด โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้อง
ขณะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ผู้เสียหายเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย จึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) แม้ต่อมาภายหลังผู้เสียหายจะได้รับชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าวจาก ย. ก็ไม่ทำให้ฐานะการเป็นผู้เสียหายของผู้เสียหายในคดีอาญาหมดไป ทั้งการชำระหนี้ของ ย.แก่ผู้เสียหายก็เป็นการชำระหนี้ตามกฎหมายที่ ย.จะต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย มิใช่เป็นการชำระหนี้แทนจำเลย จึงไม่ทำให้คดีระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 แต่อย่างใด โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้อง