พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอน: สิทธิในการรับค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีความว่า "เริ่ม 1 เมษายน 2525 เป็นเวลา 1 ปีหรือมากกว่า ตามที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงกันเมื่อสิ้นสุดการจ้าง งานปีแรก" นั้น มิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน เพราะจะจ้างอย่างน้อย 1 ปีแล้วไม่จ้างต่อไปอีกก็ได้ หรือเมื่อครบ 1 ปี แล้วอาจตกลงจ้างกันต่อไปเกินกว่า 1 ปีก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการสะสมวันหยุดพักผ่อน: ข้อบังคับบริษัทที่กำหนดการสละสิทธิหากไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไม่ขัดกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ10 วรรค 2 ซึ่งบัญญัติใจความว่า นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีไว้และนำไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้ มิใช่เป็นบทบังคับ แต่เป็นการให้สิทธินายจ้างและลูกจ้างที่จะทำความตกลงกัน เมื่อนายจ้างและลูกจ้างไม่ได้ทำความตกลงกันในข้อนี้ ข้อบังคับของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า ถ้าไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ให้ถือว่าสละสิทธิและหมดสิทธิที่จะนำไปสะสมไว้ในปีต่อไป จึงใช้บังคับได้ และการสละสิทธิดังกล่าวก็หาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578-1580/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินสมทบทุนเมื่อทำงานเกิน 10 ปี แม้ลาออกก่อนเกษียณ หรือถูกเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำงานรับจ้างจำเลยมา 11 ปี 3 เดือนแล้วลาออก โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสมทบทุนตามข้อบังคับของจำเลยจำเลยต่อสู้คดีด้วยเหตุข้อเดียวว่า โจทก์ต้องทำงานรับจ้างจำเลย 12 ปีจึงจะมีสิทธิรับเงินสมทบทุน ดังนี้ เมื่อข้อบังคับของจำเลยมีความว่า"ในกรณีที่พนักงานผู้ที่ทำงานมากับบริษัทเกินกว่าสิบปีแล้วลาออกก่อนเกษียณอายุโดยเหตุจำเป็นและพนักงานผู้นั้นได้ทำความดีไว้แก่บริษัทเป็นอย่างมาก บริษัทอาจจะพิจารณาจ่ายเงินทุนครบเกษียณอายุให้ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ดุลพินิจของบริษัท" โจทก์ซึ่งทำงานมาเกินกว่า10 ปีก็ต้องได้รับเงินสมทบทุนจากจำเลย เพราะจำเลยไม่เคยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์มิได้ทำความดีอย่างมากไว้แก่ บริษัทอันจะเป็นเหตุให้จำเลยใช้ดุลพินิจไม่จ่ายเงินสมทบทุนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาขัดแย้งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน สิทธิค่าล่วงเวลา
จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำทำงานนอกเวลาทำงานตามปกติโดยทำสัญญาว่า การรับจ้างทำงานของโจทก์เป็นการทำงานที่มีลักษณะจ้างเหมา โดยมีค่าจ้างตามอัตราเงินเดือนแต่ไม่มีค่าจ้างทำงานล่วงเวลา ดังนี้ สัญญาดังกล่าวไม่มีผลบังคับ เพราะขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 34 ซึ่งมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย จำเลยจึงต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้สหภาพยินยอม ก็ต้องจ่ายตามกฎหมาย
แม้การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะเป็นสิทธิของนายจ้างที่ จะเป็นผู้กำหนดก็ตาม แต่การหยุดนั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ดังนั้น การที่นายจ้างประกาศหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างที่ยังไม่มีสิทธิหยุดกับลูกจ้างที่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้วให้ได้หยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้างจึงไม่ชอบ
การที่สหภาพแรงงานยินยอมให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีได้ โดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นประโยชน์แก่สมาชิกสหภาพแรงงานแต่อย่างใด การกระทำของสหภาพจึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น แม้ลูกจ้างจะไม่คัดค้านประกาศ และการประชุมชี้แจงของนายจ้างก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าลูกจ้างยินยอมที่จะไม่รับค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
การที่สหภาพแรงงานยินยอมให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีได้ โดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นประโยชน์แก่สมาชิกสหภาพแรงงานแต่อย่างใด การกระทำของสหภาพจึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น แม้ลูกจ้างจะไม่คัดค้านประกาศ และการประชุมชี้แจงของนายจ้างก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าลูกจ้างยินยอมที่จะไม่รับค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกออกจากงานเมื่ออายุครบ 60 ปี ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างมีข้อบังคับว่า ถ้าลูกจ้างคนใดมีอายุครบ 60 ปี ในระหว่างปี ลูกจ้างคนนั้นมีสิทธิที่จะเลือกออกจากงานในวันถัดจากวันที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือในวันสิ้นปีงบประมาณที่เกษียณอายุก็ได้ ดังนั้นการที่ลูกจ้างใช้สิทธิเลือกออกจากงานก่อนสิ้นปีงบประมาณเมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปีแล้ว ซึ่งข้อบังคับของนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเลือกทำได้ จึงเป็นการเลิกจ้างหาใช่เป็นลาออกจากงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเลือกออกจากงานตามข้อบังคับนายจ้างเมื่ออายุครบ 60 ปี มิใช่การลาออก แต่เป็นการเลิกจ้าง
นายจ้างมีข้อบังคับว่า ถ้าลูกจ้างคนใดมีอายุครบ 60 ปี ในระหว่างปี ลูกจ้างคนนั้นมีสิทธิที่จะเลือกออกจากงานในวันถัดจากวันที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือในวันสิ้นปีงบประมาณที่เกษียณอายุก็ได้ ดังนั้น การที่ลูกจ้างใช้สิทธิเลือกออกจากงานก่อนสิ้นปีงบประมาณเมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปีแล้วซึ่งข้อบังคับของนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเลือกทำได้ จึงเป็นการเลิกจ้างหาใช่เป็นลาออกจากงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตรของลูกจ้างที่ถูกพักงาน นายจ้างไม่ผูกพันต้องจ่าย แม้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน
ระเบียบว่าด้วยการช่วยเหลือลูกจ้างเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรกำหนดว่า ลูกจ้างที่มีสิทธิจะได้รับการช่วยเหลือดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้อันได้แก่เงินที่นายจ้างจ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงาน ลูกจ้างที่ถูกพักงานแม้จะมีระเบียบให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้าง เงินนี้ก็มิใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน นอกจากนี้ระเบียบดังกล่าวยังกำหนดให้ลูกจ้างผู้มีสิทธิเบิกค่าเล่าเรียนบุตรภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้ชำระเงินให้โรงเรียน และมิได้ระบุถึงสิทธิของลูกจ้างที่ถูกพักงาน ดังนั้นระเบียบนี้จึงให้สิทธิเฉพาะลูกจ้างที่ทำงานตามปกติเท่านั้น ลูกจ้างที่ถูกพักงานไม่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเงินค่าเล่าเรียนบุตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อบังคับนายจ้างไม่อาจเปลี่ยนแปลงสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมาย
เงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 29 ผู้ปฏิบัติงานจะมีสิทธิได้รับต่อเมื่อมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เว้นแต่การออกจากงานเพราะเหตุที่ระบุไว้ เช่นเจ็บป่วยไม่สามารถทำงานต่อไปได้ มีระยะเวลาทำงานถึงกำหนดที่กล่าวแล้ว และกรณีผู้ปฏิบัติงานตาย จำเลยก็ยังต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่ทายาทของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานจะไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จเมื่อถูกลงโทษไล่ออกหรือให้ออกตามข้อบังคับของจำเลย และทายาทไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จถ้าผู้ปฏิบัติงานถึงแก่ความตายเพราะกระทำผิดอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยซึ่งถ้าไม่ตายเสียก่อนจะถูกลงโทษไล่ออกหรือให้ออก ดังนี้ เงินบำเหน็จเป็นเงินที่มีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน ข้อ 46,47 และเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ในข้อ 11 วรรคแรกว่า 'การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ ให้ถือเป็นการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน' เมื่อข้อบังคับดังกล่าวออกโดยอาศัยความในมาตรา 18(8) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 แต่บทบัญญัติดังกล่าวเพียงให้คณะกรรมการมีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์ ผู้จัดการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ซึ่งพ้นการเป็นผู้จัดการพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารและครอบครัวของบุคคลดังกล่าวหาได้ให้อำนาจกำหนดให้เงินตามข้อบังคับที่ออกเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานด้วยไม่ ข้อบังคับของจำเลย ข้อ 11 วรรคแรก จึงไม่มีผลให้เงินบำเหน็จ ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นกลายเป็นค่าชดเชย
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ในข้อ 11 วรรคแรกว่า 'การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ ให้ถือเป็นการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน' เมื่อข้อบังคับดังกล่าวออกโดยอาศัยความในมาตรา 18(8) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 แต่บทบัญญัติดังกล่าวเพียงให้คณะกรรมการมีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์ ผู้จัดการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ซึ่งพ้นการเป็นผู้จัดการพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารและครอบครัวของบุคคลดังกล่าวหาได้ให้อำนาจกำหนดให้เงินตามข้อบังคับที่ออกเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานด้วยไม่ ข้อบังคับของจำเลย ข้อ 11 วรรคแรก จึงไม่มีผลให้เงินบำเหน็จ ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นกลายเป็นค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี: เริ่มนับจากระยะเวลาทำงานจริง ไม่ใช่วันเริ่มข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงสภาพการจ้างซึ่งใช้บังคับเพียง 1 ปี มีความว่า ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี 12 วัน ผู้ที่ปฏิบัติงานเกิน 5 ปีมีสิทธิดังกล่าว 18 วัน ในการคำนวณระยะปฏิบัติงานนั้นข้อตกลงมิได้กำหนดให้เริ่มนับแต่เมื่อใดจึงต้องถือตามความเป็นจริง โดยเริ่มคำนวณระยะเวลาการปฏิบัติงานมาแต่แรกมิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันใช้ข้อตกลง เพราะหากคำนวณตั้งแต่วันใช้ข้อตกลงแล้ว จะไม่มีลูกจ้างคนใดได้สิทธิหยุดพักผ่อนเพราะเมื่อครบ 1 ปีก็ต้องเลิกใช้ข้อตกลงนั้นเสียแล้ว