พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา สิทธิโจทก์ไม่ผูกพันกับความผิดทางอาญา ศาลไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ป. เป็นจำเลยในคดีอาญา ข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่าพยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด แต่ในคดีแพ่งนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาฝากทรัพย์ แล้วจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีนี้ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม คดีนี้จึงมิใช่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เพราะคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นหมายความถึงการที่จำเลยไปกระทำความผิดในทางอาญาและก่อให้เกิดความเสียหายในทางแพ่งเกี่ยวพันกันโดยตรงขึ้นมา ดังนั้น เมื่อคดีนี้มิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแล้ว จึงไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงในส่วนอาญามาผูกพันทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองหลังการขายทอดตลาด: สิทธิของโจทก์และฐานะของผู้ซื้อทรัพย์จำนอง
จำเลยซื้อทรัพย์สินซึ่งติดจำนองมาจากการขายทอดตลาดของศาลในคดีที่บริษัท ธ. ฟ้องเรียกเงินกู้จาก พ. โจทก์ผู้ทรงสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์นั้นได้ แต่จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้จำนอง ฐานะของจำเลยเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิไถ่ถอนจำนอง ซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมรับโจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาล เพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นตามมาตรา 738 และมาตรา 739 และถ้าจำเลยมิได้ใช้สิทธิเสนอไถ่ถอนจำนองดังกล่าว หากโจทก์จะบังคับจำนองก็ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่จำเลยจึงจะบังคับจำนองได้ตามมาตรา 735 มิใช่ว่าโจทก์จะอาศัยสิทธิความเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาติดตามบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้นได้ทันที การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ แต่จำเลยมิได้เป็นคู่ความในดคีดังกล่าวและประเด็นแห่งคดีเป็นคนละอย่างกัน กรณีมิใช่เรื่องสืบสิทธิที่จะถือว่าเป็นเรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษหลายกรรมต่างวาระในความผิดอนาจารและกระทำชำเรา โจทก์มีสิทธิขอให้ลงโทษทุกกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.3 ว่า ต่อมาภายหลังเกิดเหตุตามฟ้องข้อ 1.2 ซึ่งฟ้องข้อ 1.2 เกิดเหตุเมื่อประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2559 จนกระทั่งถึงประมาณเดือนเมษายน 2560 ต่อเนื่องกันตลอดมา วันที่เท่าใดไม่ปรากฏชัด เวลากลางวัน จำเลยกระทำอนาจารและกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลย โดยจำเลยใช้อวัยวะเพศของจำเลยกระทำกับอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ด้วยการสอดใส่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย เพื่อสนองความใคร่ของจำเลย ทั้งนี้ไม่ว่าผู้เสียหายจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม โดยเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันอีกรวมจำนวนยี่สิบครั้ง การที่ระบุตอนท้ายฟ้องข้อ 1.3 ว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันอีก รวมจำนวนยี่สิบครั้ง เป็นการบรรยายรายละเอียดให้เห็นแล้วว่า จำเลยกระทำผิดลักษณะเดียวกันตามฟ้องข้อ 1.3 รวม 20 ครั้ง ต่างกรรมต่างวาระกัน และโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยทุกกรรม โดยโจทก์อ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องข้อ 1.3 เพียงกรรมเดียว จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8324/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 ศาลอนุญาตได้แม้จำเลยคัดค้านหากยังไม่ได้ยื่นคำให้การ
ป.วิ.พ. มาตรา 175 ไม่ได้ระบุให้โจทก์ต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว โดยจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี เป็นการใช้สิทธิขอถอนฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ได้โดยไม่จำต้องฟังจำเลยที่ 2 ก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำคัดค้านคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ แต่คำคัดค้านมิใช่คำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2479/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ที่ดินจากการขายฝาก: สิทธิของโจทก์เมื่อถูกอายัด และการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลง
โจทก์ทั้งสองพร้อมที่จะชําระค่าสินไถ่ให้แก่จำเลย แต่เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ เนื่องจากที่ดินพิพาทถูกอายัดไว้ชั่วคราวในคดีอื่น อันมิได้เกิดจากความผิดของโจทก์ทั้งสอง แสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาขอไถ่ที่ดินพิพาทจากจำเลยภายในกําหนดเวลาที่ตกลงกันไว้แล้ว จึงไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์ทั้งสองจะต้องขอขยายระยะเวลาไถ่ที่ดินพิพาทออกไปอีก
การไถ่ที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมต่างตอบแทนที่โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ชําระค่าสินไถ่ให้แก่จำเลย และจำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะยังไม่ชําระค่าสินไถ่ให้แก่จำเลยและไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์ทั้งสองจะต้องนําค่าสินไถ่ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์
หลังจากคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทสิ้นผล จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองชําระค่าสินไถ่พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของค่าสินไถ่ ซึ่งเกินกว่าที่ตกลงในสัญญาขายฝาก โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะโต้แย้งได้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไปไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทโดยชอบและโจทก์ทั้งสองสละสิทธิไถ่ที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งสองมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยกำหนดวันเวลาที่จะไปจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาท จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้ว แต่เพิกเฉย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรับค่าสินไถ่ตามที่ตกลงกันไว้ได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไถ่
คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองเป็นคู่ความร่วมในคดีที่มีมูลความแห่งคดีอันไม่อาจแบ่งแยกได้ แต่โจทก์ทั้งสองต่างยื่นฎีกามาแต่ละฉบับแยกต่างหากจากกัน โดยต่างเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเต็มตามทุนทรัพย์ จึงชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์ทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคท้าย
การไถ่ที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมต่างตอบแทนที่โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ชําระค่าสินไถ่ให้แก่จำเลย และจำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะยังไม่ชําระค่าสินไถ่ให้แก่จำเลยและไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์ทั้งสองจะต้องนําค่าสินไถ่ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์
หลังจากคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทสิ้นผล จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองชําระค่าสินไถ่พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของค่าสินไถ่ ซึ่งเกินกว่าที่ตกลงในสัญญาขายฝาก โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะโต้แย้งได้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไปไถ่การขายฝากที่ดินพิพาทโดยชอบและโจทก์ทั้งสองสละสิทธิไถ่ที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งสองมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยกำหนดวันเวลาที่จะไปจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินพิพาท จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้ว แต่เพิกเฉย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรับค่าสินไถ่ตามที่ตกลงกันไว้ได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไถ่
คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองเป็นคู่ความร่วมในคดีที่มีมูลความแห่งคดีอันไม่อาจแบ่งแยกได้ แต่โจทก์ทั้งสองต่างยื่นฎีกามาแต่ละฉบับแยกต่างหากจากกัน โดยต่างเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเต็มตามทุนทรัพย์ จึงชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์ทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะและการยอมความของผู้เสียหาย ไม่กระทบสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดีอาญา
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ และฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้จำเลยที่ 1 นำเงินมาชดใช้ให้แก่ผู้ร้องทั้งสองจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็ไม่ถือว่าเป็นการยอมความ อันจะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวระงับไป แต่มีผลทำให้คดีในส่วนแพ่งของผู้ร้องทั้งสองที่ยื่นคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ระงับไปเท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทและการถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน การกระทำไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
แม้จำเลยจะออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมเพื่อให้โจทก์ร่วมถอนฟ้องจำเลยในคดีที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดอาญาแผ่นดินก็ตาม แต่การที่โจทก์ร่วมจะถอนฟ้องคดีดังกล่าวหรือไม่ ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ร่วมอันพึงกระทำได้ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคหนึ่ง โดยกฎหมายมิได้ห้ามโจทก์ซึ่งฟ้องคดีความผิดอาญาแผ่นดินไว้แล้วจะถอนฟ้องไม่ได้ การที่โจทก์ร่วมรับเช็คพิพาทจากจำเลยแล้วถอนฟ้องในคดีที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานฟ้องเท็จ ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คพิพาทมิได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อย จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกหลังตกลงกันได้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกเฉพาะส่วนสิทธิโจทก์ และขอบเขตสิทธิในทรัพย์สิน
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามมิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงตามสำเนาหนังสือเอกสารหมาย จ.17 โดยแจ้งชัดเป็นสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ แต่โจทก์ทั้งสามก็กล่าวอ้างสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องว่าที่ดินพิพาททั้งสามแปลงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่โจทก์ทั้งสามมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรม การที่โจทก์ทั้งสามนำสืบถึงข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายตามสำเนาหนังสือเอกสารหมาย จ.17 เกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องในการที่โจทก์ทั้งสามขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายแบ่งแยกที่ดินพิพาททั้งสามแปลงให้แก่โจทก์ทั้งสามคนละหนึ่งส่วนตามกฎหมาย จึงมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการขอให้บังคับแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสามนำสืบแตกต่างกับฟ้องหรือนอกฟ้องนอกประเด็น
การที่โจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสองได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นหนังสือและต่างได้ลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือตามสำเนาหนังสือเอกสารหมาย จ.17 กรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันต่อกันและได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในบันทึกที่โจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสองตกลงกันนั้น การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 37 ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามตามสิทธิอันพึงมีพึงได้แก่โจทก์ทั้งสามตามบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย ดังนั้น โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิฟ้องร้องให้บังคับคดีเพื่อให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายตามสำเนาหนังสือเอกสารหมาย จ.17 การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย แต่การฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคแปด บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด" ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงสามารถนำคำพิพากษาของศาลไปให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาได้ และการเพิกถอนดังกล่าวมิใช่หนี้ที่เป็นการทำนิติกรรมที่ศาลจะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 62649 ให้แก่ตนเองแล้วจำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560 แต่เพียงผู้เดียว จากนั้นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองไว้แก่สหกรณ์การเกษตร ป. เป็นการกระทำภายหลังวันที่ 6 สิงหาคม 2560 ที่โจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสองตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายกัน โดยที่บันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายตามสำเนาหนังสือเอกสารหมาย จ.17 ในส่วนของที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 62649 นั้น เฉพาะแต่จำเลยทั้งสองเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมสามารถกระทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 62649 ได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตายที่ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมนั้นหาได้ไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 และมิใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 ยักย้ายทรัพย์มรดกของผู้ตายส่วนที่ตนจะได้โดยรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่นที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605 โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 62649 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 กลับสู่กองมรดกของผู้ตายและบังคับให้จำเลยที่ 2 ไถ่ถอนจำนองได้
ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 49023 บันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายตามสำเนาหนังสือเอกสารหมาย จ. 17 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ให้แก่โจทก์ที่ 3 และที่ 2 และยังไม่มีการแบ่งปันให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายและจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลงเพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จัดการมรดก แม้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ได้ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 1 แต่ไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนแบ่งปันที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 49023 แทนจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 2 ได้ เพราะกรณีเช่นนี้เป็นสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 คงพิพากษาได้แต่เพียงแสดงกรรมสิทธิ์ว่าโจทก์ที่ 3 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 49023 จำนวน 1 ใน 2 ส่วน เมื่อที่ดินพิพาทดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลงแบ่งปันมรดกของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีสิทธิแบ่งส่วนเอาจากที่ดินพิพาทดังกล่าวได้
การที่โจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสองได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นหนังสือและต่างได้ลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือตามสำเนาหนังสือเอกสารหมาย จ.17 กรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันต่อกันและได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในบันทึกที่โจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสองตกลงกันนั้น การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 37 ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามตามสิทธิอันพึงมีพึงได้แก่โจทก์ทั้งสามตามบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย ดังนั้น โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิฟ้องร้องให้บังคับคดีเพื่อให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายตามสำเนาหนังสือเอกสารหมาย จ.17 การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย แต่การฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้ใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคแปด บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด" ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงสามารถนำคำพิพากษาของศาลไปให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาได้ และการเพิกถอนดังกล่าวมิใช่หนี้ที่เป็นการทำนิติกรรมที่ศาลจะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 62649 ให้แก่ตนเองแล้วจำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560 แต่เพียงผู้เดียว จากนั้นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองไว้แก่สหกรณ์การเกษตร ป. เป็นการกระทำภายหลังวันที่ 6 สิงหาคม 2560 ที่โจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสองตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายกัน โดยที่บันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายตามสำเนาหนังสือเอกสารหมาย จ.17 ในส่วนของที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 62649 นั้น เฉพาะแต่จำเลยทั้งสองเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมสามารถกระทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 62649 ได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตายที่ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมนั้นหาได้ไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 และมิใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 ยักย้ายทรัพย์มรดกของผู้ตายส่วนที่ตนจะได้โดยรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่นที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605 โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 62649 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 กลับสู่กองมรดกของผู้ตายและบังคับให้จำเลยที่ 2 ไถ่ถอนจำนองได้
ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 49023 บันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายตามสำเนาหนังสือเอกสารหมาย จ. 17 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ให้แก่โจทก์ที่ 3 และที่ 2 และยังไม่มีการแบ่งปันให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายและจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลงเพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จัดการมรดก แม้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ได้ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 1 แต่ไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนแบ่งปันที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 49023 แทนจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 2 ได้ เพราะกรณีเช่นนี้เป็นสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 คงพิพากษาได้แต่เพียงแสดงกรรมสิทธิ์ว่าโจทก์ที่ 3 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 49023 จำนวน 1 ใน 2 ส่วน เมื่อที่ดินพิพาทดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลงแบ่งปันมรดกของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีสิทธิแบ่งส่วนเอาจากที่ดินพิพาทดังกล่าวได้