คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองโดยสุจริตและการฟ้องซ้ำ กรณีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่น
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยนี้กับพวกรวม 2 คน รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยจนกว่าจะรื้อถอนบ้านพิพาทศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าจำเลยได้เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทที่เจ้าของบ้านพิพาทคนก่อนได้ปลูกสร้างขึ้นไว้โดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 และมาตรา 1310 กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีความประมาทเลินเล่อ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้านพิพาทจะขอให้บังคับจำเลยกับพวกรื้อถอนบ้านพิพาทไม่ได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหาย แม้คดีก่อนคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีนี้ แต่คดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินของโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายเพียงใด ประเด็นดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้วในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและสิทธิในการใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างสาธารณูปโภค
จำเลยที่ 1 ทำการปรับปรุงถนนบนที่ดินที่ ส.อุทิศเป็นสาธารณประโยชน์โดยก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวเขตเป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา และจำเลยที่ 3 ได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามแนวขอบถนนจำนวน4 ต้น โดยมี ส.เจ้าของที่ดินชี้แนวเขตในการสร้างถนน และโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างทั้งโจทก์และ ส.ก็ยังเข้าใจว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 3 จึงมิได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้รื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้ากับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้
โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหาย แต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้
สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ป.พ.พ.มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ.มาตรา1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลูกสร้างคดีนี้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1310 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินของพระภิกษุ: การตกเป็นของวัดตามกฎหมาย แม้ผู้ซื้อจะสุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุ ส.ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ และพระภิกษุ ส.ไม่ได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือทำพินัยกรรมไว้เป็นอย่างอื่น ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ซึ่งเป็นวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1623 ดังนี้ ไม่ว่าโจทก์จะซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เพราะตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์พ.ศ.2505 มาตรา 34 ที่วัดจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้ซื้อที่ดินจะสุจริต แต่หากปล่อยปละละเลยให้ครอบครองต่อ อาจเสียกรรมสิทธิ์ได้
จำเลยเข้าครอบครองและปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทมากว่า10 ปี จนจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์มาก่อนที่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจาก ว.เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม แม้จำเลยจะมิได้จดทะเบียนสิทธินั้น จึงไม่อาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ซื้อที่ดินนั้นมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคสอง ได้ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เองก็มิได้ดำเนินการเพื่อแสดงสิทธิดังกล่าวแก่จำเลย กลับปล่อยปละละเลยให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจนกลายเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์ต่อมาอีก ฉะนั้น เมื่อจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมานับตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยรั้ว การใช้สิทธิโดยสุจริตของส่วนราชการ และความรับผิดของผู้เช่า
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 นำชี้ให้จำเลยที่ 3ก่อสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ16 ตารางวา เมื่อรั้วที่จำเลยที่ 3 ก่อสร้างตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 นำชี้รุกล้ำที่ดินของโจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2จะอ้างว่าเป็นการกระทำเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 ไม่ได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์กรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าจึงมีคำสั่งให้ ว. ไปรังวัด พบว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วเกินเขตที่เช่าไปประมาณ 1.80 เมตร จึงให้จำเลยที่ 3 รื้อรั้วออกไปแล้วก่อสร้างใหม่ให้อยู่ในแนวเขตที่เช่า แต่โจทก์อ้างว่ารั้วที่ก่อสร้างใหม่ยังคงรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่อีกจำเลยที่ 2 ได้ให้ ว. ไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งและได้มีหนังสือนัดให้ทนายโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปร่วมตรวจสอบ ก็ไม่ปรากฏว่ารั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด มาปรากฏว่ารั้วรุกล้ำเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปตรวจสอบ การที่โจทก์กล่าวหาว่าก่อสร้างรั้วรุกล้ำแนวเขตที่ดินสืบเนื่องมาจากโฉนดที่ดินที่พิพาทเป็นโฉนดที่ดินแบบเก่า การโต้แย้งของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 และกรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ที่ดินของรัฐ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3ในฐานะผู้เช่าจะต้องยึดถือตามแนวเขตที่จำเลยที่ 2 นำชี้หาใช่เป็นการกระทำโดยพลการไม่การก่อสร้างรั้วก็กระทำตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ยืนยันแนวเขตที่เช่า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำการโดยสุจริต ไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ไม่เป็นธรรม เจ้าพนักงานต้องใช้ดุลพินิจอย่างสุจริตและเท่าเทียมกัน
แม้การใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71(1) เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา 71 วรรคสองว่า ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1)แต่เจ้าพนักงานประเมินจะใช้ดุลพินิจประเมินให้เสียภาษีตามบทบัญญัติในมาตราอื่นก็ได้ หากเจ้าพนักงานประเมินใช้ดุลพินิจประเมินให้โจทก์เสียภาษีตามมาตรา 71(1) ผู้เสียภาษีก็มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยดังกล่าวและใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลตามมาตรา 30(2) ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ดุลพินิจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ตามมาตรา 71(1) เป็นการถูกต้องและชอบหรือไม่ด้วย เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจำเลยได้มีหมายเรียกตามประมวลรัษฎากรแจ้งไปยังโจทก์ให้นำบัญชี เอกสาร และหลักฐานการลงบัญชีไปส่งมอบโจทก์ได้ไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินและได้ส่งมอบบัญชีและเอกสารต่าง ๆ เอกสารที่โจทก์นำส่งทำให้เจ้าพนักงานประเมินสามารถคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของโจทก์ได้ ซึ่งปรากฎว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ แต่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีโจทก์ในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับ ตามมาตรา 71(1) โดยอ้างว่า เนื่องจากโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล(แบบ ภ.ง.ด.50) ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้ต่อมาโจทก์จะได้ยื่นแบบแสดงรายการหลังจากที่ได้รับหมายเรียกแล้วก็ตาม ซึ่งหากประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ตามมาตรา 24 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์ไม่มีภาษีที่จะต้อง ชำระเพราะจากการตรวจสอบในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ แต่หากประเมินภาษีตามมาตรา 71(1)โจทก์จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ คิดเป็นภาษี 2,865,243.67 บาท แต่การตรวจสอบภาษีรายของบริษัทดี. ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในเขตเดียวกันปรากฎว่าบริษัทดังกล่าวมิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภายหลังจากที่ได้รับหมายเรียกตรวจสอบแล้วเช่นเดียวกับโจทก์ จากการตรวจสอบพบว่าบริษัท ดี. มีผลประกอบการกำไรสุทธิ ซึ่งหากเจ้าพนักงานประเมิน ประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) จะได้ภาษีจำนวนมากกว่าการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 24 แต่เจ้าพนักงานประเมินก็มิได้ทำการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) เมื่อโจทก์ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีด้วยดี และไม่ปรากฎว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทั้งผลการตรวจสอบภาษีก็ปรากฎว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ เจ้าพนักงานประเมินไม่ควรประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 71(1) ซึ่งในคดีภาษีอากรการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานต้องกระทำด้วยความสุจริตและเป็นธรรมและต้องปฎิบัติต่อผู้เสียภาษีทุกคนอย่างเท่าเทียมกันเมื่อการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์และรายของบริษัท ดี.มีข้อเท็จจริงเหมือนกัน พ. เจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์และกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รายโจทก์ก็ชอบที่จะใช้ดุลพินิจในการประเมินภาษีโดยใช้หลักเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกันด้วย การที่ พ. ใช้ดุลพินิจไม่ประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) สำหรับรายบริษัท ดี. ทั้งจากการตรวจสอบปรากฎว่าบริษัทดังกล่าวมีผลประกอบการกำไรสุทธิ แต่ใช้ดุลพินิจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 71(1) ทั้งที่จากการตรวจสอบปรากฎว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ จึงเป็นการเลือกปฎิบัติและไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี การประเมินของเจ้าพนักงานจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ และเมื่อการประเมินไม่ชอบจึงทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์สิน ต้องทำตามขอบเขตอำนาจและสุจริต หากไม่เป็นไปตามนั้น สัญญาไม่ผูกพันทายาท
เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามคำสั่งศาลแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 และจะต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วันตามมาตรา 1728 หากในการจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทของ อ. จำเป็นต้องขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเพื่อนำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจนำที่ดินนั้นไปขายได้ หลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการแสดงให้เห็นว่า เป็นการจัดการมรดกหรือมีการทำบัญชีทรัพย์มรดก การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ก็มิใช่เพื่อจะนำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันให้แก่ทายาทของ อ.แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินส่วนหนึ่งของเงินมัดจำที่โจทก์มอบให้ไว้ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไปใช้จ่ายในคดีล้มละลายที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง อีกทั้งก่อนโจทก์และจำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทกันจำเลยที่ 1 และโจทก์รู้อยู่แล้วว่าทายาทของ อ. ไม่ต้องการให้ขายที่ดินแปลงพิพาท โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ อ.ได้ยื่นคำขออายัดที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ กับได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ อ.และศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ อ.แทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ เมื่อมิใช่เป็นการทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ อ.ทั้งยังเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน โดยไม่สุจริต นอกจากนี้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจปรับเข้ากับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 และมาตรา 1740 ได้ เพราะมิใช่กรณีที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการที่จำเป็นตามมาตรา 1736 หรือเป็นการขายทรัพย์ เพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 1740 ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จึงไม่ผูกพันทายาทของ อ. โจทก์จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8499/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนและหลังการขอให้ล้มละลาย และข้อยกเว้นการคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 นั้นการที่ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะยกเหตุตามบทมาตราดังกล่าวนี้ขึ้นกล่าวอ้างปฏิเสธว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนได้นั้น ก็แต่เฉพาะกรณีที่ได้รับโอนทรัพย์มาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8มิได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาก่อนวันดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะได้รับโอนมาจากจำเลย โดยตรงหรือได้รับโอนมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตามสิทธิของผู้คัดค้านย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน ผู้คัดค้านที่ 4ถึงที่ 8 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนคำร้อง ของ ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 7 ที่ขอให้ศาลฎีการอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อนเนื่องจากมีคำขอให้ยกเลิกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความเห็นของผู้ร้องให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แล้วนั้น แต่เมื่อปรากฏว่ายังมีเจ้าหนี้คือ โจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามคำขอ และคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องรอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8122/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ แม้ไม่รู้ว่าเป็นที่ดินผู้อื่น โจทก์ซื้อที่ดินโดยรู้ว่ามีผู้ครอบครองจึงไม่สุจริต
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยเชื่อว่าเป็นที่ดินของตนเองด้วยการรับมรดกมาจากบิดา แม้จำเลยจะเพิ่งทราบว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลยก่อนฟ้องประมาณ 3 ปีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้ว หาจำต้องเป็นการครอบครองโดยรู้อยู่ว่าเป็นที่ดินของบุคคลอื่นไม่
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 32 ไร่เศษ โดยเห็นบ้านจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าว แต่ไม่ได้ซักถามว่าบ้านจำเลยอยู่ในหรือนอกเขตโฉนดที่ดินที่ซื้อขายกัน และจำเลยอยู่โดยสิทธิอันใด พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์รู้ว่ามีผู้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินบางส่วนของที่ดินที่โจทก์รับซื้อมาจากผู้ขาย กรณีดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนไว้โดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แต่โจทก์ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินดังกล่าวไม่มีหน้าที่ไปจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองให้แก่จำเลย เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดที่ดินต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8122/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้ครอบครองจะเชื่อว่าเป็นที่ดินของตนเอง และผู้ซื้อไม่สุจริต
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยเชื่อว่าเป็นที่ดินของตนเองด้วยการรับมรดกมาจากบิดา แม้จำเลยจะเพิ่งทราบว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลยก่อนฟ้องประมาณ 3 ปีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 10 ปีจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วหาจำต้องเป็นการครอบครองโดยรู้อยู่ว่าเป็นที่ดินของบุคคลอื่นไม่ โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 32 ไร่เศษ โดยเห็นบ้านจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าว แต่ไม่ได้ซักถามว่าบ้านจำเลยอยู่ในหรือนอกเขตโฉนดที่ดินที่ซื้อขายกัน และจำเลยอยู่โดยสิทธิอันใด พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์รู้ว่ามีผู้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินบางส่วนของที่ดินที่โจทก์รับซื้อมาจากผู้ขาย กรณีดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนไว้โดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่โจทก์ผู้มีชื่อ ในโฉนดที่ดินดังกล่าวไม่มีหน้าที่ไปจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองให้แก่จำเลย เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดที่ดินต่อไป
of 117