คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สินล้นพ้นตัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม & การบังคับคดี – สิทธิเจ้าหนี้ในการเรียกหนี้จากลูกหนี้แต่ละคน & การฟ้องล้มละลาย
คำพิพากษาในคดีแพ่งที่พิพากษาให้จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ค้ำประกัน หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาด ถ้าได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระจนครบนั้น หมายถึงการบังคับคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ในกรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้หมายความว่าให้โจทก์บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โดยสิ้นเชิงก่อนถ้าได้เงินไม่พอจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ไม่จำเลยที่ 4 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องและบังคับจำเลยที่ 4 ให้ชำระหนี้ที่ยังเหลือจากที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 3 และอาศัยหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท เป็นมูลฟ้องให้ล้มละลายได้
จำเลยกล่าวในฎีกาแต่เพียงว่า ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะให้จำเลยล้มละลายได้มิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ใช่บุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีฐานะมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้ให้ครบได้อย่างไร หรือมีเหตุอื่นใดบ้างที่ไม่ควรให้ล้มละลาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6)พ.ศ.2518 มาตรา 7 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้ยืมเงินแก่ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องหนี้
คดีได้ความว่า เมื่อลูกหนี้กู้ครั้งแรก จำนวนเงิน 21,000 บาทนั้น ลูกหนี้ได้ออกเช็คฉบับหนึ่งให้ไว้อีกด้วย ต่อมาเช็คฉบับนั้นขึ้นเงินไม่ได้เจ้าหน้าที่จึงคืนเช็คนั้นให้แก่ลูกหนี้ไปโดยมิได้รับชำระหนี้เลย ต่อมาอีกประมาณ 1 ปีเศษ ลูกหนี้ที่ 2 ได้ขอกู้เงินเพิ่มอีก 19,000 บาท เจ้าหนี้ก็ให้กู้ไป ต่อมากู้อีก 15,000 บาท เจ้าหนี้ให้กู้ไปอีกซึ่งลูกหนี้ก็ออกเช็คให้ไว้ทั้งสองคราวโดยไม่ลงวันที่ จะออกเช็คเมื่อไรและกู้กันเมื่อไร เจ้าหนี้ก็จำวันไม่ได้ทั้ง ๆ ที่เงินกู้ครั้งแรกยังไม่ได้รับชำระ นอกจากนี้ยังมีเจ้าหนี้อื่นอีกมากมายซึ่งลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้จนถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย พฤติการณ์แสดงว่าเจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงิน 2 คราวหลังนี้เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนเงิน 34,000 บาทนี้ได้ ตามมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ให้กู้ยืมเงินลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว สิทธิในการรับชำระหนี้เป็นโมฆะตามกฎหมายล้มละลาย
คดีได้ความว่า เมื่อลูกหนี้กู้ครั้งแรก จำนวนเงิน 21,000 บาท นั้นลูกหนี้ได้ออกเช็คฉบับหนึ่งให้ไว้อีกด้วยต่อมาเช็คฉบับนั้นขึ้นเงินไม่ได้ เจ้าหนี้จึงคืนเช็คนั้นให้แก่ลูกหนี้ไปโดยมิได้รับชำระหนี้เลยต่อมาอีกประมาณ 1 ปีเศษ ลูกหนี้ที่ 2 ได้ขอกู้เงินเพิ่มอีก 19,000 บาท เจ้าหนี้ก็ให้กู้ไป ต่อมากู้อีก15,000 บาท เจ้าหนี้ให้กู้ไปอีก ซึ่งลูกหนี้ก็ออกเช็คให้ไว้ทั้งสองคราวโดยไม่ลงวันที่ จะออกเช็คเมื่อไรและกู้กันเมื่อไร เจ้าหนี้ก็จำวันไม่ได้ ทั้งๆ ที่เงินกู้ครั้งแรกยังไม่ได้รับชำระนอกจากนี้ยังมีเจ้าหนี้อื่นอีกมากมายซึ่งลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จนถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายพฤติการณ์แสดงว่าที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงิน 2 คราวหลังนี้ เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนเงิน 34,000 บาทนี้ได้ ตามมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้ไม่ต้องบรรยายรายละเอียดหนี้สินล้นพ้นตัวในคำฟ้อง เพียงแต่ระบุตามกฎหมาย
ในการฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายนั้น เจ้าหนี้เพียงแต่บรรยายฟ้องว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(1) และระบุข้อความอื่นตามมาตรา 9(2) และ 9(3) ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว เจ้าหนี้ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างไร ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าหนี้จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพันตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าข้อยุติเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องพิจารณาหลังศาลบังคับคดีแล้ว
เพียงแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์จำนวนเกินกว่า 30,000 บาท จำเลยทราบคำบังคับแล้ว ไม่ชำระหนี้แต่โจทก์ก็ยังไม่ได้ขอหมายบังคับคดี เพราะคดียังอยู่ระหว่างอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดี และจำเลยก็นำสืบว่าสามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นสำคัญ แม้ศาลวินิจฉัยเรื่องหนี้สิน แต่ไม่กระทบผลคำพิพากษา
ประเด็นสำคัญในคดีล้มละลายมีอยู่ว่า จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งมีกำหนดจำนวนหนี้สินแน่นอนเกินกว่าพันบาทหรือไม่ (หลังจากใช้พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 แล้ว จำนวนหนี้สินต้องไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท). เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว. การที่จำเลยจะเป็นหนี้โจทก์จริงหรือไม่. จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องชี้ขาดในชั้นนี้ เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคำพิพากษาที่ยกฟ้องเปลี่ยนแปลงไป.
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ตามเอกสารที่โจทก์อ้างฟ้อง จำเลยได้ยืมเงินไปจากโจทก์. แต่การยืมตามเอกสารบางฉบับ เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว. จำเลยไม่ได้รับสภาพหนี้.จึงขาดอายุความ. ส่วนหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความนั้นไม่จำเป็นต้องชี้ขาดว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใดแน่นอน. เพราะจำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด. ไม่มีเหตุอันควรให้จำเลยล้มละลาย. แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่คำวินิจฉัยที่ว่า จำเลยยืมเงินไปจากโจทก์และหนี้ตามเอกสารบางฉบับยังไม่ขาดอายุความ. อาจมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดในทางแพ่ง จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาคัดค้านได้. (ข้อกฎหมายวรรคท้ายนี้ สรุปจากผลที่ศาลฎีการับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การปิดกิจการและแจ้งความไม่สามารถชำระหนี้เป็นเหตุสันนิษฐานได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เมื่อเจ้าหนี้ทวงถามหนี้ที่ค้างชำระ จำเลยบอกแก่เจ้าหนี้ว่าไม่มีเงินชำระ เป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ปิดธุรกิจและแจ้งไม่มีเงินชำระเป็นเหตุสันนิษฐานได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยปิดสถานที่ประกอบธุรกิจเมื่อเจ้าหนี้ทวงถามหนี้ที่ค้างชำระจำเลยบอกแก่เจ้าหนี้ว่าไม่มีเงินชำระเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายไม่เป็นฟ้องซ้ำคดีแพ่ง หากประเด็นต่างกัน คือ คดีแพ่งชี้สถานะลูกหนี้ ส่วนคดีล้มละลายชี้สถานะหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์นำเจ้าพนักงานยึดทรัพย์ของจำเลย แต่มีผู้ร้องขัดทรัพย์ ทรัพย์ที่เหลือไม่พอชำระหนี้ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย การฟ้องเช่นนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้นเป็นเรื่องชี้ขาดว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่า เมื่อจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ควรตกเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ การวินิจฉัยคดีทั้งสองนี้มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282-1288/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตมาตรา 94(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย: การรับชำระหนี้เมื่อเจ้าหนี้รู้ถึงสถานะหนี้สินล้นพ้นตัว และการโอนหนี้
ความหมายของมาตรา 94 (2) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น ไม่จำเป็นจะต้องปรากฏว่ามีการสมยอมกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในการกระทำหนี้ขึ้น เพียงแต่ว่าในเวลาที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำหนี้ขึ้น เจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ขอรับชำระหนี้นั้นไม่ได้
ถ้าหนี้เดิมยังเป็นของผู้โอน ผู้โอนก็ย่อมขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อมีการโอนหนี้ดังกล่าวนี้แล้ว ผู้รับโอนย่อมขอรับชระหนี้นั้นได้ เพราะเป็นเพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ขอชำระหนี้ กรณีเช่นนี้ ไม่เข้าตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (2) เพราะเป็นหนี้เดิมที่โอนมา ไม่ใช่เป็นหนี้อันเจ้าหนี้ได้ยอมให้ลูกหนี้ (ผู้ล้มละลาย) กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2502)
of 16