พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5084/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนจัดหางาน: จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายเรียกเก็บค่าบริการจัดหางาน แต่ไม่สามารถดำเนินการได้
ผู้เสียหายทั้งสองถูกจำเลยหลอกลวงว่าจำเลยสามารถส่งคนไปทำงานในประเทศคูเวตได้โดยเรียกค่าบริการคนละ 30,000 บาท ผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยไป ความจริงจำเลยไม่สามารถส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศได้แต่อย่างใด ในขณะที่จำเลยพูดหลอกลวงนั้นมีคนอื่นอีก 8 คนอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปอยู่ในบ้านซึ่งจำเลยเช่าให้คนหางานพักอาศัยอยู่ประมาณ 30-40 คน พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปจำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคแรก ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกอบธุรกิจจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศหรือได้ส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศมาบ้างแล้วประกอบกับทางพิจารณารับฟังได้ว่าจำเลยมิได้เจตนาจัดหางานให้แก่คนหางานแต่ประการใด จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30,82.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: การกระทำต่างกรรมต่างวาระ แม้หลอกลวงหลายกลุ่ม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 มีกำหนด 1 เดือน และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 รวม 5 กระทงจำคุกกระทงละ 2 ปี ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนส่วนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนพิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวและลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี ความผิดทั้งสองฐานจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนรับสมัครไปทำงานและรับเงินค่าบริการจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมานั้นฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ว่าจำเลยมิได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย ทั้งมิได้รับเงินไว้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ขอให้ศาลฎีการับฟังพยานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยส่งมาพร้อมฎีกาและขอให้รอการลงโทษจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม
จำเลยหลอกลวงว่าสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ผู้เสียหายแต่ละคนหลงเชื่อจึงมาสมัครงานกับจำเลยและมอบเงินค่าบริการให้ตามที่จำเลยเรียกร้อง โดยกระทำในวันเวลาที่แตกต่างกันรวม 5 ครั้ง แต่ละครั้งจำเลยหลอกลวงประชาชนต่างกลุ่มกันผู้เสียหายแต่ละกลุ่มมาสมัครงานและมอบเงินแก่จำเลยต่างวันเวลากัน เป็นการกระทำโดยเจตนาให้เกิดผลต่อประชาชนแต่ละกลุ่มแยกต่างหากจากกันต่างกรรมต่างวาระ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนรวม 5 กระทง.
การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนรับสมัครไปทำงานและรับเงินค่าบริการจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมานั้นฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ว่าจำเลยมิได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย ทั้งมิได้รับเงินไว้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ขอให้ศาลฎีการับฟังพยานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยส่งมาพร้อมฎีกาและขอให้รอการลงโทษจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม
จำเลยหลอกลวงว่าสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ผู้เสียหายแต่ละคนหลงเชื่อจึงมาสมัครงานกับจำเลยและมอบเงินค่าบริการให้ตามที่จำเลยเรียกร้อง โดยกระทำในวันเวลาที่แตกต่างกันรวม 5 ครั้ง แต่ละครั้งจำเลยหลอกลวงประชาชนต่างกลุ่มกันผู้เสียหายแต่ละกลุ่มมาสมัครงานและมอบเงินแก่จำเลยต่างวันเวลากัน เป็นการกระทำโดยเจตนาให้เกิดผลต่อประชาชนแต่ละกลุ่มแยกต่างหากจากกันต่างกรรมต่างวาระ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนรวม 5 กระทง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานทราบการหลอกลวง แต่ยังรับสมัครงานต่อ เข้าข่ายสนับสนุนการฉ้อโกง
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนทราบดีว่า สำนักงานสาขาลำพูนของบริษัทจำเลยที่ 1ไม่มีเงินทุนดำเนินการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้นำเงินค้ำประกันการเข้าทำงาน ของพนักงานมาจ่าย แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังดำเนินการรับสมัครงานตลอดมาตามพฤติการณ์จำเลยที่ 4ย่อมทราบดีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีงานการรับสมัครพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 สาขาลำพูนดังกล่าวเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้เงินประกันการเข้าทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 4ก็ยังคงดำเนินการให้การหลอกลวงนั้นบรรลุผล เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กระทำผิดจำเลยที่ 4 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงผู้เยาว์เพื่อค้าประเวณีถือเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ
จำเลยกับพวกใช้อุบายหลอกลวงนางสาว ป. กับนางสาว จ.ผู้เยาว์อ้างว่าจะพาไปทำงานแต่กลับพาไปขายให้เป็นหญิงโสเภณี ดังนี้เห็นได้ว่า ที่จำเลยหลอกลวงผู้เยาว์ทั้งสองก็โดยเจตนาจะให้เกิดผลต่างกรรมกัน แม้จะพาผู้เยาว์ทั้งสองไปในครั้งเดียวคราวเดียวก็เป็นการกระทำต่อผู้เยาว์แต่ละคนโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ จำเลยมีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารรวม 2 กระทง ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสองกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่มีมูลหนี้เนื่องจากเกิดจากการหลอกลวง สัญญาเป็นโมฆะและไม่ต้องชำระหนี้
จำเลยทั้งสามนำสืบว่า ป. สามีโจทก์หลอกลวง บ. บุตรจำเลยที่ 1 ส.หลานจำเลยที่2พ. บุตรจำเลยที่ 3 กับพวกรวม 8 คนว่าสามารถจัดส่งบุคคลทั้งแปดไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้โดยเรียกเงินจากบุคคลทั้งแปดคนละ 52,000 บาท บ. ส.และพ.มีเงินให้ ป. ไม่ถึงคนละ 52,000 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ให้โจทก์ยึดถือไว้โดยมิได้รับเงินจากโจทก์เลย เมื่อปรากฏในภายหลังว่าความจริง ป. ไม่สามารถส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศดังกล่าวตามที่อวดอ้างได้ จำเลยทั้งสามจึงขอให้โจทก์คืนหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและโฉนดที่ดินที่มอบให้โจทก์ไว้เป็นประกัน แต่โจทก์ไม่ยอมคืนให้ดังนี้นอกจากจะเป็นการนำสืบถึงที่มาหรือมูลเหตุแห่งการทำสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องแล้ว ยังเป็นการนำสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่มีมูลหนี้เป็นสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ มิใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับว่าจะต้องมีมาแสดง จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้จากการหลอกลวงร่วมกันและถือเช็คโดยไม่สุจริต
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อให้โจทก์นำไปเปลี่ยนเช็คเดิมจากเจ้าหนีด้วยเจตนาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำลวงของโจทก์ ทั้ง ๆ ที่ได้มีการชำระเงินตามเช็คเดิมแล้ว เช็คพิพาทจึงไม่มีมูลหนี้ โจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาทไว้โดยไม่สุจริต จะถือว่าโจทก์ซึ่งใช้อุบายให้จำเลยออกเช็คพิพาทเป็นผู้ทรงโดยชอบหรือเป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมาจากเจ้าหนี้หาได้ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานต่างประเทศสำคัญกว่าการกระทำ หากไม่มีเจตนาจริง แม้หลอกลวงก็ไม่ผิด พ.ร.บ. จัดหางาน
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในฐานความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในความผิดฐานนี้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532มาตรา 13 การกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคแรกนั้นผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะจัดหางานให้คนงานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง แต่โจทก์บรรยายฟ้องในฐานความผิดฉ้อโกงว่า จำเลยทำอุบายจัดตั้งสำนักงานจัดหางานขึ้นดำเนิน ธุรกิจติดต่อ และจัดหางานเพื่อส่งไปทำงานต่างประเทศความจริงจำเลยมิได้จัดตั้งสำนักงานจัดหางานและไม่เคยติดต่องานในต่างประเทศเพื่อจัดส่งคนงานไปทำงานแต่อย่างใด จำเลยเพียงกล่าวอ้างขึ้นหลอกลวงประชาชนเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ได้ความแจ้งชัดว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยกล่าวอ้างการจัดตั้งสำนักงานจัดหางานขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหาย โดยหวังจะได้ค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงประชาชนเพื่อประโยชน์ทางการเงินถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยทำการหลอกลวงประชาชนโดยวิธีประกาศโฆษณา ณ ที่หน้าที่ทำการของจำเลย และโดยทางหนังสือพิมพ์หลายครั้ง ทั้งมีผู้เสียหายหลายคนมาสมัครไปทำงานในต่างประเทศกับจำเลยตามที่จำเลยหลอกลวงคนละวันคนละเวลากันและจ่ายเงินให้แก่จำเลยไปคนละวันคนละเวลากัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงประชาชนเพื่อประโยชน์ในการทำงานต่างประเทศถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยทำการหลอกลวงประชาชนโดย วิธี ประกาศโฆษณา ณที่หน้าที่ทำการของจำเลย และโดย ทางหนังสือพิมพ์ หลายครั้ง ทั้งมีผู้เสียหายหลายคนมาสมัครไปทำงานในต่างประเทศ กับจำเลยตาม ที่จำเลยหลอกลวงคนละวันคนละเวลากันและจ่ายเงินให้แก่จำเลยไปคนละวันคนละเวลากัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สินล้นพ้นตัว: ศาลยืนตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้จำเลยอ้างถูกหลอกลวง
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย แต่นำสืบว่าได้ลงชื่อในสัญญากู้กับสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่ทำไปเพราะความโง่ เขลาเบาปัญญาถูกนาย ว. หลอกลวง ทางนำสืบของจำเลยต่างกับคำให้การจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้
การฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องโจทก์ จำเลยต่างมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ตามคำฟ้องและคำให้การ เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังไม่ได้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง จึงมีข้อพิจารณาต่อไปว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 14 และมาตรา 9 หรือไม่
การฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องโจทก์ จำเลยต่างมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ตามคำฟ้องและคำให้การ เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังไม่ได้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง จึงมีข้อพิจารณาต่อไปว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 14 และมาตรา 9 หรือไม่