คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกในการขายทรัพย์มรดกและการผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่1เป็นทายาทและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของว.ท. และส. ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์และจำเลยที่1ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยก่อนจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทจำเลยที่1ได้เรียกประชุมทายาทโดยมีจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้ง3คนและมีทายาทอื่นรวมทั้งห. ผู้แทนของโจทก์ร่วมประชุมด้วยที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการนำที่ดินพิพาทจัดการหาผลประโยชน์เข้ามากองมรดกต่อไปหลังจากมีการขายที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่1ก็ได้แบ่งปันเงินที่ได้ให้แก่ทายาทตามส่วนถือได้ว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทไปในขอบเขตอำนาจของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574มาใช้บังคับไม่ได้นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทไม่เป็นโมฆะ จำเลยที่1และที่2ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมแต่คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความในคดีเมื่อจำเลยที่1และที่2ยอมโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดกแม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดนั้นก็ตามก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1719โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่1มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยล้มละลายไร้สิทธิฟ้องคดีอื่นเกี่ยวกับทรัพย์สิน อำนาจเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 กำหนดว่าเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี เพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอในคดีแพ่งเรื่องอื่นที่จำเลยถูกฟ้องเพื่อมิให้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลย และบัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลกระทบต่อสิทธิลูกหนี้ในการดำเนินคดี
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22กำหนดว่าเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจำเลยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดีเพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอในคดีแพ่งเรื่องอื่นที่จำเลยถูกฟ้องเพื่อมิให้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไวยาวัจกรจัดการทรัพย์สินวัด: หนังสือมอบหมายและการแต่งตั้งทนายความ
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2536ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ระบุว่า "ไวยาวัจกร"หมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้ง..และจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ไวยาวัจกร ผู้ได้รับแต่งตั้งก่อนวันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ถือว่าเป็นไวยาวัจกรตามกฎมหาเถรสมาคมต่อไปเมื่อนาย ป. ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านให้เป็นไวยาวัจกรเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2536 โดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 8 จึงถือว่าเป็นไวยาวัจกรอยู่ย่อมมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ
ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่า นาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตามแต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนาม และในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป.ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้
ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้าน จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน การดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง นาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการจึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้ คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คที่ออกหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ ผู้สั่งจ่ายไม่มีอำนาจกระทำการ
หนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ไม่อาจนำมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27,91และ94 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา24บัญญัติห้ามมิให้จำเลยกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยในระหว่างจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายจึงเท่ากับเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งจำเลยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวการกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่จำเลยสั่งจ่ายชำระให้โจทก์จึงเป็นโมฆะโจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาฟ้องจำเลยให้รับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานป่าสงวนมีอำนาจสั่งรื้อถอนและดำเนินคดีอาญาได้ โจทก์ไม่มีสิทธิห้าม
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติ อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ออกคำสั่งจังหวัด โดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และสั่งให้โจทก์ทำการรื้อถอน แก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน 30 วัน แม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่คนละตำบลและคนละอำเภอก็ตาม แต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้อำเภอแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 ป.ที่ดินมาตรา 9, 108, 108 ทวิ ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้น เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดังกล่าว ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไปอีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินลูกหนี้ล้มละลาย ไม่ล่วงล้ำจัดการทรัพย์สินนิติบุคคลแยกต่างหาก
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ได้บัญญัติถึงวิธีการจัดกิจการและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายไว้ตามมาตรา24และมาตรา22ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าจัดการได้เฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่3ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นหาได้มีอำนาจล่วงล้ำไปถึงการจัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่3มิได้เป็นลูกหนี้ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ได้แม้จำเลยที่3จะมีสิทธิได้รับแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างหุ้นจำกัดพ. ก็เป็นเรื่องที่มีมาภายหลังเพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นเท่านั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1269เหตุนี้จึงมิได้เกี่ยวข้องกับกองทรัพย์สินของจำเลยที่3ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ร้องขอเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ ก.ตร. แก้ไขวันเกิดข้าราชการตำรวจ และเหตุผลการไม่อนุมัติแก้ไขวันเกิดจากหลักฐานที่ไม่สอดคล้องกัน
การแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการในสมุดประวัติข้าราชการหรือใน ก.พ.7 ของข้าราชการตำรวจอยู่ในบังคับของมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 ที่ให้ ก.ตร.เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการตำรวจ ก.ตร.จึงเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าเกี่ยวกับการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของข้าราชการตำรวจและในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของก.ตร.ดังกล่าว พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 มาตรา 19ให้ ก.ตร.มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ซึ่งรวมถึงการอนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจด้วย การที่อนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งซึ่งแต่งตั้งโดย ก.ตร.ให้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติให้แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการตำรวจได้พิจารณาและไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่ 25 กันยายน 2475 เป็นวันที่ 29กันยายน 2479 ในการประชุมอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งครั้งที่ 6/2528เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2528 จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีกฎหมายรองรับดังกล่าว และการที่จำเลยที่ 1 ไม่อนุมัติให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จากวันที่ 25 กันยายน 2475 เป็นวันที่ 29 กันยายน 2479จึงเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งที่ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หลักฐานการศึกษาจากโรงเรียนสองแห่งอันได้แก่หลักฐานการศึกษาของโรงเรียนเสนา "เสนาประสิทธิ์" (ม.1)และโรงเรียนเทเวศร์ศึกษา (ม.6) ระบุว่า โจทก์เกิดวันที่ 29 กันยายน 2477ซึ่งเป็นปีเกิดที่แตกต่างออกไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้าง และวันเดือนปีเกิดของ ส.น้องชายโจทก์ตามทะเบียนบ้าน ระบุว่าเกิดวันที่ 16 มีนาคม 2480 ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากวันเดือนปีเกิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพียง 5 เดือนเศษ ขัดกับหลักเกณฑ์ทางการแพทย์ และโจทก์ไม่สามารถจัดส่งสูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิดของโจทก์หรือน้องชายของโจทก์มาประกอบการพิจารณาได้สมุดประวัติข้าราชการของโจทก์ ก็ระบุว่าโจทก์จบจากโรงเรียนประทีปศึกษาชั้น ป.1 พ.ศ.2484 แสดงว่าโจทก์จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่ออายุ 5 ขวบ ซึ่งหมายความว่า โจทก์เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1เมื่ออายุเพียง 4 ขวบซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น ที่อนุกรรมการ ก.ตร. เกี่ยวกับตำแหน่งมีมติไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขวันเดือนปีเกิดในสมุดประวัติข้าราชการของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยเหตุผลและมีพยานหลักฐานสนับสนุนทั้งชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่กรณี มติของอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับตำแหน่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจดูแลรักษาทางน้ำสาธารณสมบัติ และอำนาจฟ้องร้องบังคับใช้
เทศบาลโจทก์ได้รับมอบอำนาจจากกรมเจ้าท่าให้มีอำนาจดูแลรักษาทางน้ำอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน อธิบดีกรมเจ้าท่าผู้ร้องสอดที่ 1 เป็นผู้แทนของกรมเจ้าท่า และได้มอบหมายแต่งตั้งให้เจ้าท่าภูมิภาคที่ 1ผู้ร้องสอดที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาลำน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณที่เกิดเหตุที่จำเลยถม เท ทิ้งหิน กรวด ทราย ดิน และสิ่งของอื่น ๆ ลงที่ชายตลิ่งในแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเหตุให้ประชาชนไม่สามารถใช้แม่น้ำดังกล่าว ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากกรมเจ้าท่าจึงสามารถดำเนินการบังคับตามอำนาจหน้าที่ของผู้ร้องสอดทั้งสองได้อยู่แล้ว ผู้ร้องสอดทั้งสองจึงไม่มีความจำเป็นต้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามบทบัญญัติ ผู้แต่งตั้งไม่มีอำนาจ
กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเลิกกัน เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์หรือข้อความในหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของโจทก์ไม่มีข้อกำหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้ทำหน้าที่ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่ความตาย การจัดการชำระบัญชีจึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1251 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะซึ่งต้องทำโดยพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนได้เสียในการนี้เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ชำระบัญชี เมื่อปรากฏว่าผู้เป็นหุ้นส่วนของโจทก์และผู้จัดการมรดกของ ช.หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ประชุมลงคะแนนเสียงตั้ง บ.เป็นผู้ชำระบัญชีของโจทก์เสียเอง จึงเป็นการตั้งผู้ชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย บ.จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ที่จะมีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้
of 98