คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การนอกเขตอำนาจสอบสวน ไม่ถือเป็นคำรับสารภาพ
จำเลยได้กระทำผิดในท้องที่หนึ่ง แล้วจำเลยเข้าไปหาพนักงานสอบสวนอีกเขตหนึ่งซึ่งไม่มีอำนาจให้เป็นผู้สอบสวนจดคำให้การของตนเช่นนี้ จะถือคำให้การของจำเลยนั้นเป็นคำรับของจำเลย ชั้นสอบสวนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921-923/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนของตำรวจสันติบาล: ต้องพิจารณาขอบเขตตามกฎหมายและข้อบังคับ
ตำรวจสันติบาลมีอำนาจทำการสอบสวนได้เพียงไรหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพหลังต่อสู้คดีเดิม ศาลไม่พิจารณาข้อต่อสู้เดิม และอำนาจสอบสวนเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์แม้จะไม่ปรากฏข้อความว่าให้ยืน ยก แก้หรือกลับ แต่ปรากฏข้อความว่าอุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น ซึ่งแสดงว่า พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั่นเองซึ่ง ถูกต้องตามมาตรา 214 ป.วิ.อาญาแล้ว
ในชั้นแรกจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ และต่อว่าผู้กระทำการสอบสวนทำการสอบสวนโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย แต่ต่อมาจำเลยกลับให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ขอให้ลงโทษจำเลยแต่ในสถานเบา และแยกพิพากษาคดีส่วนตัวของจำเลยให้เสร็จสิ้นไปนั้น เป็นการแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจต่อสู้คดี ตามคำให้การฉะบับแรกนั้นแล้ว ฉะนั้นข้อต่อสู้ของจำเลยชั้นเดิมที่ว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่เป็น+ที่ศาลจะร้องยกขึ้นวินิจฉัย
+จะฟังว่าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในการนี้อาจต้องพิจารณาถึงข้อบังคับกฎหมายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจเป็นข้อประกอบด้วย ตามมาตรา 16 ป.วิ.อาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพภายหลังต่อสู้คดีเดิม: ศาลไม่วินิจฉัยประเด็นอำนาจสอบสวนเดิม
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์แม้จะไม่ปรากฏข้อความว่าให้ยืนยก แก้หรือกลับแต่ปรากฏข้อความว่าอุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น ซึ่งแสดงว่าพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั่นเอง ย่อมถูกต้องตามมาตรา 214 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว
ในชั้นแรกจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ และต่อสู้ว่าผู้ทำการสอบสวนทำการสอบสวนโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย แต่ต่อมาจำเลยกลับให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ขอให้ลงโทษจำเลยแต่ในสถานเบาและแยกพิพากษาคดีส่วนตัวของจำเลยให้เสร็จสิ้นไปนั้น
เป็นการแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจต่อสู้คดี ตามคำให้การฉบับแรกนั้นแล้ว ฉะนั้นข้อต่อสู้ของจำเลยชั้นเดิมที่ว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่เป็นปัญหาที่ศาลจะต้องยกขึ้นวินิจฉัยต่อไป
การที่จะฟังว่าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในการนี้อาจต้องพิจารณาถึงข้อบังคับทั้งหลายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจเป็นข้อประกอบด้วยตามมาตรา 16 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286-287/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการสอบสวนความผิดอาญา: การสอบสวนร่วม ตำรวจ-ข้าหลวง-นายอำเภอ และข้อยกเว้น
ผู้กำกับการตำรวจประจำจังหวัด ทำการสอบสวนความผิดทางอาญา+ได้เกิดขึ้นภายในเขตต์จังหวัดนั้น+กับข้าหลวงประจำจังหวัด โดยมีนายอำเภอท้องที่ร่วมด้วยเพราะขณะนั้นไม่มีตัวนายอำเภอ ดังนี้ ถือว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยคำกะรทรวงมหาดไทยที่ 7164/2488

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286-287/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนร่วม ตำรวจ-ข้าหลวงฯ เมื่อนายอำเภอไม่อยู่: ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้กำกับการตำรวจประจำจังหวัดได้ทำการสอบสวนความผิดทางอาญาซึ่งได้เกิดขึ้นภายในเขตจังหวัดนั้นร่วมกับข้าหลวงประจำจังหวัด โดยไม่มีนายอำเภอท้องที่ร่วมด้วยเพราะในขณะนั้นไม่มีตัวนายอำเภอดังนี้ ถือว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 7164/2488

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822-823/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จในหลายท้องที่: พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับและสอบสวนได้หากยังไม่ทราบท้องที่เกิดเหตุ
เมื่อยังไม่ทราบแน่ว่าจำเลยได้ทำผิดฐานแจ้งความเท็จที่กิ่งอำเภอหนองแซง หรือเบิกความเท็จในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี พนักงานสอบสวนกิ่งอำเภอหนองแซงมีอำนาจจับจำเลยไปสอบสวนได้และการที่พนักงานสอบสวนกิ่งอำเภอหนองแซงแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบว่าจำเลยต้องหาฐานแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ ก็เป็นการถูกต้องด้วยข้อเท็จจริงที่ดำเนินมา เพราะเป็นการไม่แน่ว่ากระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ตาม มาตรา 19(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการสอบสวนนอกเขตพื้นที่: เจ้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีได้ ณ ที่ใดก็ได้ แม้ต่างจังหวัด
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนจะทำการสอบสวน ณ ที่ใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร แม้จะต่างจังหวัดก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการสอบสวนนอกเขตพื้นที่: เจ้าพนักงานมีอำนาจสอบสวนคดีได้ทุกที่ทุกเวลาตามสมควร
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนจะทำการสอบสวน ณ ที่ใดเวลาใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร แม้จะต่างจังหวัดก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาของปลัดอำเภอ แม้ก่อนโอนอำนาจสอบสวน
แม้เป็นเวลาก่อนโอนหน้าที่สอบสวนมายังกรมการอำเภอ ปลัดอำเภอก็มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาได้
of 19