คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุบัติเหตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และความรับผิดของบิดามารดาต่อการดูแลบุตรผู้เยาว์
แม้จำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญายืมแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ตามสัญญายืมในฐานละเมิดได้อันเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 ยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานละเมิดเพราะจำเลยที่ 2ได้ขับรถของโจทก์โดยประมาทเป็นเหตุให้รถของโจทก์พลิกคว่ำเสียหาย โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ฐานผิดสัญญาไม่ แม้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญายืม มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญายืมก็ตาม ก็หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 ฐานละเมิดด้วยไม่
จำเลยที่ 2 มีความประพฤติไม่เรียบร้อย ขาดการอบรมดูแลที่ดี จำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 2ไม่ดูแลเอาใจใส่ ไม่ห้ามปรามในการเที่ยวเตร่จนดึกดื่น แม้แต่คืนเกิดเหตุก็ยังปล่อยให้ไปเที่ยวดื่มสุราในยามดึกและพาผู้หญิงไปนอนค้างที่โรงแรม แม้เหตุละเมิดเกิดจากการขับรถโดยประมาทมิได้เกิดจากความประพฤติด้านอื่นของจำเลยที่ 2 อันจำเลยที่ 3ที่ 4 จะต้องระมัดระวังดูแลก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่เอาใจใส่ดูแลความประพฤติด้านอื่นของจำเลยที่ 2 ก็แสดงว่าไม่เอาใจใส่ดูแลว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่นั้นจะไปขับรถโดยประมาทอันเป็นความประพฤติอย่างหนึ่งหรือไม่ จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าแรงงานในครอบครัวจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่งก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับ ป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานในครอบครัวได้ด้วย ค่าอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของแพขนานยนต์ต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
จำเลยเป็นเจ้าของแพขนานยนต์รับจ้างบรรทุกรถยนต์ข้ามฟากการที่ลูกจ้างของจำเลยจัดให้รถยนต์บรรทุกสิบล้อที่บรรทุกสินค้าน้ำหนักมากลงในแพขนานยนต์เพื่อบรรทุกข้ามฟากโดยมิได้ระมัดระวังว่าแพขนานยนต์จะรับน้ำหนักได้เพียงใดและจัดให้รถยนต์บรรทุกสิบล้อที่มีน้ำหนักมาก จำนวน 3 คัน จอดไว้ทางด้านท้ายแพขนานยนต์ ทำให้ส่วนท้ายต้องรับน้ำหนักมากและจมลง เป็นเหตุให้รถยนต์ที่บรรทุกอยู่บนแพขนานยนต์ไหลไปทางท้าย และกระแทกกันจนบางคันตกลงในทะเลเห็นได้ว่าลูกจ้างของจำเลยมิได้ระมัดระวังในการรับจ้างบรรทุกรถยนต์จึงได้เกิดเหตุขึ้น นับได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างจำเลยจำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในละเมิดที่ลูกจ้างของจำเลยก่อขึ้นในทางการที่จ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงสละสิทธิเรียกร้องหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นการทำผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า ผู้เอาประกันภัยจะไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นหมายถึงกรณีบุคคลอื่นเรียกร้องผู้เอาประกันภัยชดใช้ค่าเสียหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่กระทำการใด ๆ ตามเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยก่อหนี้อันอาจผูกพันบริษัทที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกโดยบริษัทไม่ยินยอมหาใช่เป็นเงื่อนไขที่ห้ามมิให้ผู้เอาประกันภัยสละสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลใดอันจะมีผลถึงการรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยไม่ และการที่คนขับรถยนต์ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงกับคู่กรณีโดยต่างฝ่ายสละสิทธิเรียกร้องต่อกัน ก็มิใช่ยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลใดตามกรมธรรม์ดังกล่าว ผู้เอาประกันภัยจึงไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์และขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน กรณีความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
การที่จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีสาขาในประเทศไทยหรือไม่และมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีหรือไม่ ไม่รับรู้และรับรอง เป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลอย่างไร และไม่ได้คัดค้านความไม่ถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์นำสืบ ม. ซึ่งเป็นเพียงพนักงานประเมินความเสียหายของโจทก์รับรองหนังสือมอบอำนาจ ดังนี้รับฟังได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ถูกต้องแท้จริง ไม่จำเป็นต้องนำสืบผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ ล. ในฐานะอะไร และมีนิติสัมพันธ์กันอย่างไรกับ ล. เจ้าของรถยนต์คันดังกล่าว อัน ล. ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เมื่อ ล. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าเสียหายจากการละเมิด: การประเมินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการซ่อมแซมและผลกระทบจากอุบัติเหตุ
จำเลยขับรถยนต์ประมาทตัดหน้ารถไฟโจทก์เป็นเหตุให้รถไฟโจทก์ชนและเสียหายค่าใช้จ่ายในโรงงานที่โจทก์คิดเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ105.5 ของค่าแรง 1 หน่วย และค่าควบคุมอัตราร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในโรงงาน และค่าที่โจทก์เสียไปในการสืบสวนสอบสวนเหตุที่เกิดละเมิด แม้พนักงานของโจทก์อ้างว่าเป็นระเบียบของโจทก์ให้ถือปฏิบัติโดยนำวิธีการคำนวณมาจากสถิติก็ตาม ถือไม่ได้ว่าค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลจากการทำละเมิด ค่ายกรถตกรางซึ่งโจทก์คิดเป็นค่าโอเวอร์เฮดชาร์จ ค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงานและค่าควบคุมเพิ่มขึ้นมานั้น สำหรับค่าโอเวอร์เฮดชาร์จ กับค่าควบคุมซึ่งคิดในอัตราร้อยละ 51 และร้อยละ 25 ของค่าแรงยกรถตามลำดับ โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการซ่อมอย่างไร และมีหลักการคิดคำนวณอย่างไร จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการละเมิดส่วนค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงาน โจทก์มิได้นำสืบว่าเหตุใดเมื่อจ่ายค่าแรงแล้วต้องจ่ายค่าอาหารอีกจึงเป็นค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อน ค่าจัดรถพิเศษช่วยอันตรายซึ่งโจทก์เพิ่มค่าควบคุมเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 20 สำหรับรถโดยสารและในอัตราร้อยละ 15 สำหรับรถสินค้า พนักงานของโจทก์อ้างว่าคิดคำนวณจากระเบียบของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการทำละเมิดเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะหลายส่วนจากอุบัติเหตุจากการทำงาน
โจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ต้องสูญเสียอวัยวะหลายส่วนของร่างกาย คือ หนังศีรษะ ใบหูข้างขวา และคิ้วทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นการสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกายนายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือนโดยจ่ายตามประเภทการสูญเสียอวัยวะที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับที่ 2) ข้อ 1(16) อันเป็นการสูญเสียอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (1) ถึง (15)มีกำหนดระยะเวลาการจ่ายตามที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือคณะกรรมการที่ปรึกษาพนักงานเงินทดแทนกำหนดรวมกัน แต่ไม่เกินสิบปีคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีมติให้กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์รวม 4 ปี 6 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเป็นรายเดือนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือนตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่ใช่จ่ายตามที่โจทก์ต้องสูญเสียอวัยวะในแต่ละส่วนของร่างกายแยกเป็นส่วน ๆ ไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: คำพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง, สินสมรส, และอำนาจฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสอง ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแทน ศ. บุตรจำเลยที่ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยประมาท ชนรถยนต์โจทก์ซึ่งมี ก. ภรรยาโจทก์เป็นผู้ขับได้รับความเสียหายคดีส่วนอาญาคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น เป็นเรื่องที่พนักงานอัยการและจำเลยที่ 1 ฟ้อง ก. ในข้อหาว่าขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีประเด็นเพียงว่า ก.ขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายหรือไม่ จึงมิใช่ประเด็นโดยตรงในคดีนี้ซึ่งมีประเด็นว่า ศ. ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ได้รับความเสียหาย หรือไม่ คำพิพากษาในคดีก่อนส่วนอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ในวันเกิดเหตุโจทก์ได้นั่งไปในรถยนต์คันเกิดเหตุด้วย จึงเป็นผู้ครอบครองรถคันดังกล่าว โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับ ก. ด้วยนั้นจำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิได้เป็นปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ และที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่ารถยนต์คันที่เกิดเหตุเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ก. โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยทั้งสองก็มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิได้เป็นปัญหาที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และในศาลอุทธรณ์เช่นกัน แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ไม่มีเหตุสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ และอำนาจฟ้องคดี
แม้โจทก์เป็นเพียงผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่ถูกชน แต่ถ้าโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อ การครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวเป็นการครอบครองโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของ และตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมรถยนต์คันดังกล่าวให้คงสภาพใช้การได้ดีตลอดเวลาหากมีผู้ทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์คันดังกล่าวได้รับความเสียหายย่อมถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบรรยายตามความเข้าใจของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ สำนวนคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 300 ซึ่ง ก. เป็นผู้เสียหาย และตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งรัฐเป็นผู้เสียหายสำหรับโจทก์ในคดีนี้ไม่ใช่คู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญานั้นในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในสำนวนคดีอาญาดังกล่าว แต่เป็นกรณีที่ต้องฟังข้อเท็จจริงกันใหม่จากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบกันในสำนวนคดีนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยซึ่งขับรถยนต์โดยสารกับ ส. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายนั่งซ้อน ท้ายมาต่างประมาทด้วยกัน มิใช่เป็นการร่วมกันกระทำละเมิด ผู้ตายมิได้มีส่วนทำความผิดด้วย และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกันเป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม ตามป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบด้วยมาตรา 291 จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยกับ ส. จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ส. ด้วยกันเอง.
of 47