พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงินหลังยื่นคำร้อง
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่าง อื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้อง เงินบำเหน็จให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ ต้องห้ามตามมาตรา 191
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุและการรับเงินบำเหน็จ ไม่ใช่เหตุยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย หากมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น
ปัญหาที่ว่าลูกจ้างมีคุณสมบัติต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯ โดยมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และปัญหาที่ว่าลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนมากกว่าค่าชดเชยไปโดยไม่ได้โต้แย้ง มีผลเท่ากับว่ายอมรับรองว่าได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วยแล้วนั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลแรงงานกลางจึงจะยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการยกข้ออ้างใหม่ในชั้นอุทธรณ์คดีแรงงาน: เกษียณอายุและการรับเงินบำเหน็จ
ปัญหาที่ว่าลูกจ้างมีคุณสมบัติต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ โดยมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และปัญหาที่ว่าลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนมากกว่าค่าชดเชยไปโดยไม่ได้โต้แย้ง มีผลเท่ากับว่ายอมรับรองว่าได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วยแล้วนั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลแรงงานกลาง จึงจะยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186-190/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเกษียณอายุ: เงินบำเหน็จรวมค่าชดเชยแล้ว ไม่ต้องจ่ายซ้ำ
ระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเนื่องจากปลดเกษียณว่า เงินอันพึงจะได้รับจะต้องถูกหักด้วยเงินประเภทต่าง ๆ ที่จำเลยได้จ่ายไปตามกฎหมาย พระราชกฤษฎีกา หรือกฎข้อบังคับของรัฐบาล ว่าด้วยประโยชน์เนื่องจากทุพพลภาพหรือการออกจากงานเพราะเกษียณอายุหรือมรณกรรม เมื่อค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และการเกษียณอายุก็เป็นการเลิกจ้าง ดังนั้น การที่ลูกจ้างเกษียณอายุและนายจ้างได้จ่ายเงินตามระเบียบดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยแล้ว เงินที่ลูกจ้างได้รับไปนั้นจึงมีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186-190/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ: เงินบำเหน็จรวมค่าชดเชยแล้ว ไม่ต้องจ่ายซ้ำ
ระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเนื่องจากปลดเกษียณว่า เงินอันพึงจะได้รับจะต้องถูกหักด้วยเงินประเภทต่างๆที่จำเลยได้จ่ายไปตามกฎหมาย พระราชกฤษฎีกา หรือกฎข้อบังคับของรัฐบาล ว่าด้วยประโยชน์เนื่องจากทุพพลภาพหรือการออกจากงานเพราะเกษียณอายุหรือมรณกรรม เมื่อค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และการเกษียณอายุก็เป็นการเลิกจ้าง ดังนั้น การที่ลูกจ้างเกษียณอายุและนายจ้างได้จ่ายเงินตามระเบียบดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยแล้ว เงินที่ลูกจ้างได้รับไปนั้นจึงมีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จจำกัดเฉพาะพนักงานประจำตามข้อบังคับนายจ้าง แม้เป็นลูกจ้างชั่วราวก็ไม่ได้รับ
สิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นโดยข้อบังคับของนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิที่จะกำหนดเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนายจ้างได้ จำเลยผู้เป็นนายจ้างกำหนดไว้ว่าพนักงานของจำเลยเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำก็หมายถึงสิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเงินบำเหน็จ: ข้อบังคับนายจ้างกำหนดเฉพาะพนักงานประจำ ลูกจ้างชั่วคราวไม่มีสิทธิ
สิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นโดยข้อบังคับของนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิที่จะกำหนดเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนายจ้างได้ จำเลยผู้เป็นนายจ้างกำหนดไว้ว่าพนักงานของจำเลยเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จแม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำก็หมายถึงสิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831-3832/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้มีระเบียบหักเงินบำเหน็จเป็นค่าชดเชย แต่หากนายจ้างไม่ได้ใช้สิทธิหักจริง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง
แม้ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างจะกำหนดให้นายจ้างมีสิทธิที่จะหักเงินบำเหน็จลงตามจำนวนค่าชดเชยที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง แต่ไม่ปรากฏว่านายจ้างใช้สิทธิดังกล่าว คงปรากฏแต่เพียงว่านายจ้างจ่ายเงินให้ลูกจ้างในลักษณะเป็นเงินบำเหน็จ ถือไม่ได้ว่านายจ้างได้จ่ายเงินค่าชดเชยรวมไปด้วยแล้ว นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จของลูกจ้างชั่วคราวที่ไม่เข้าข่ายพนักงานประจำตามระเบียบ
โจทก์เข้าทำงานกับจำเลยวันที่ 2 กรกฎาคม 2488 และได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2500 ก่อนได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำโจทก์ถูกเรียกกลับเข้าปฏิบัติงานใหม่สองครั้ง ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 5 ของปี พ.ศ. 2498 จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2498 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2499 จำเลยก็เรียกโจทก์มาปฏิบัติงานใหม่อีก ลักษณะงานของโจทก์เป็นการจ้างเฉพาะเวลาที่จำเลยมีงานให้ทำ หมดงานก็ให้โจทก์พักและเมื่อมีงานใหม่จำเลยจะเรียกโจทก์เข้ามาทำงานอีก งานของโจทก์ก่อนวันที่ 5 มีนาคม 2500 จึงมีลักษณะเป็นการชั่วคราวโจทก์จึงเป็นลูกจ้างชั่วคราวมิใช่ลูกจ้างประจำของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินบำเหน็จของลูกจ้างชั่วคราวตามระเบียบพนักงานยาสูบ การจ้างงานเป็นช่วง ๆ ไม่ถือเป็นพนักงานประจำ
โจทก์เข้าทำงานกับจำเลยวันที่ 2 กรกฎาคม 2488และได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2500ก่อนได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำโจทก์ถูกเรียกกลับเข้าปฏิบัติงานใหม่สองครั้ง ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 5 ของปี พ.ศ. 2498 จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2498 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2499 จำเลยก็เรียกโจทก์มาปฏิบัติงานใหม่อีก ลักษณะงานของโจทก์เป็นการจ้างเฉพาะเวลาที่จำเลยมีงานให้ทำ หมดงานก็ให้โจทก์พักและเมื่อมีงานใหม่จำเลยจะเรียกโจทก์เข้ามาทำงานอีก งานของโจทก์ก่อนวันที่ 5 มีนาคม 2500 จึงมีลักษณะเป็นการชั่วคราวโจทก์จึงเป็นลูกจ้างชั่วคราวมิใช่ลูกจ้างประจำของจำเลย