พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา & การตรวจสอบใบมอบอำนาจ: เงื่อนไข & ขอบเขต
ป.วิ.พ. มาตารา 47 วรรคสาม อยู่ภายใต้เงื่อนไข ป.วิ.พ.มาตรา 47 วรรคสอง คือต้องเป็นกรณีที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 วรรคสาม มิได้หมายความว่า ถ้าเป็นใบมอบอำนาจทุกฉบับจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม
แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม
ป.วิ.อ. มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่า ผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญา ก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้
แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม
ป.วิ.อ. มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่า ผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญา ก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3202/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขสัญญาพ้นวิสัยจากการบอกเลิกสัญญา สิทธิเรียกร้องตามสัญญาเป็นอันตกไป
แม้สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์จำเลยมีเงื่อนไขว่า จำเลยจะจ่ายเงินให้ภายใน 40 วัน นับแต่เจ้าของงานได้ผ่านการตรวจรับงานในงวดนั้นแล้ว และจะคืนเงินประกันผลงานหลังจากเจ้าของงานได้รับมอบงานงวดสุดท้ายของจำเลย และออกหนังสือรับรองการมอบงานแล้วรวมกับระยะเวลาการประกันผลงานอีก 1 ปี เมื่อเงื่อนไขดังกล่าวไม่อาจที่จะปฏิบัติได้ เพราะจำเลยได้บอกเลิกสัญญากับเจ้าของงานแล้ว การตรวจรับงานงวดที่ 3 งวดที่ 4 และงวด-สุดท้ายจึงไม่อาจมีขึ้นได้ เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นการพ้นวิสัย และถือว่าเงื่อนไขในข้อตกลงดังกล่าวไม่มี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความมีเงื่อนไข: ค่าจ้างทนายความต้องรอจนกว่าลูกความได้รับเงินจากคดี
จ.บิดาจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินตามสัญญาซื้อขายจากอ. โดย จ. จะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เมื่อได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้ว สัญญาจ้างว่าความที่โจทก์ทำไว้กับ จ.เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 182 และเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนตาม มาตรา 183 วรรคแรก หาใช่เป็นเงื่อนเวลาไม่ เพราะ จ.จะได้รับเงินค่าที่ดินหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตและไม่แน่นอนเมื่อเป็นเช่นนี้ จ. หรือกองมรดกของ จ. จะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จคือ อ. ชำระเงินค่าที่ดินให้แล้ว เมื่อ อ. มิได้ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่ จ.หรือกองมรดกของจ. เลย เงื่อนไขตามสัญญาจึงไม่สำเร็จ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ จ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การเสนอชำระหนี้เพื่อผ่อนผันอายุความต้องมีเงื่อนไขสำเร็จก่อน
ข้อความในเอกสารระบุว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเคยเป็นลูกจ้างโจทก์ขอเสนอตัวเองกลับเข้าทำงานกับโจทก์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อผ่อนใช้หนี้โดยขอทำงานแค่เพียง 2 ปีเท่านั้น และขอรับเงินเดือนตามที่เคยได้รับครั้งสุดท้ายกับเสนอเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินให้โจทก์ว่าจะผ่อนเท่าใด ข้อความเช่นนี้เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนว่าหากโจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงาน จำเลยที่ 1 ก็จะผ่อนชำระเงินตามฟ้องให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับจำเลยที่ 1 เข้าทำงานเงื่อนไขบังคับก่อนจึงยังไม่สำเร็จ ความยินยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ยังไม่เกิดขึ้น จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเบิกเกินบัญชีธนาคาร: การผูกพันตามเงื่อนไขการเปิดบัญชีและดอกเบี้ย
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยยื่นไว้ต่อธนาคารโจทก์และเงื่อนไขการรับเปิดบัญชีกระแสรายวันระบุว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของผู้ฝากไปผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่จ่ายเกินบัญชีนั้นให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินนั้นเป็นต้นไป ถือว่าได้มีข้อตกลงกันไว้ล่วงหน้าแล้วว่าเมื่อจำเลยออกเช็คเบิกเงินเกินจำนวนในบัญชีและโจทก์ยอมจ่ายเงินตามนั้น จำเลยตกลงจ่ายเงินส่วนที่เกินจากเงินในบัญชีคืนแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินเกินจำนวนในบัญชีของจำเลยและโจทก์จ่ายเงินตามเช็คนั้นไป จำเลยจึงต้องจ่ายเงินที่เกินบัญชีแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเพราะไม่ได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเป็นเพียงหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน จึงเป็นเพียงคำเสนอฝ่ายเดียวของจำเลยในการขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการฟ้องคดีประกันสังคม: การวางเงินต่อศาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคมกำแพงเพชร ซึ่งคำสั่งดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีมาสู่ศาล โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น โดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงจะฟ้องคดีได้อันเป็นเงื่อนไขในการยื่นฟ้อง ซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อน เพราะหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลแรงงานกลางที่จะต้องมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ และเมื่อศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีอำนาจที่จะรับคำฟ้องโจทก์ไว้ได้ก็ย่อมมีอำนาจรับเงินที่ต้องวางต่อศาลดังกล่าวได้ด้วย โดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้วางเงินต่อศาลจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการฟ้องคดีแรงงาน: การวางเงินต่อศาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 60
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของข้อ 60 โดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของจำเลย อันเป็นเงื่อนไขในการยื่นฟ้องจึงจะฟ้องคดีได้ซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อน เพราะหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลแรงงานกลางที่จะต้องมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ และเมื่อศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีอำนาจที่จะรับฟ้องโจทก์ไว้ได้ก็ย่อมมีอำนาจรับเงินที่ต้องวางต่อศาลดังกล่าวได้ด้วย โดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้วางเงินต่อศาลจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยก่อนฟ้องคดีค่าทดแทนแรงงาน: เงื่อนไขการฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคมกำแพงเพชร ซึ่งคำสั่งดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 60แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีมาสู่ศาล โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของข้อ 60 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น โดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงจะฟ้องคดีได้อันเป็นเงื่อนไขในการยื่นฟ้อง ซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อน เพราะหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลแรงงานกลางที่จะต้องมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ และเมื่อศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีอำนาจที่จะรับคำฟ้องโจทก์ไว้ได้ก็ย่อมมีอำนาจรับเงินที่ต้องวางต่อศาลดังกล่าวได้ด้วย โดยไม่จำต้องได้รับคำสั่งจากศาลแรงงานกลางก่อนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้วางเงินต่อศาลจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินโดยมีเงื่อนไขอุปการะเลี้ยงดูบุตร ถือเป็นการให้มีค่าตอบแทน
แม้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วน ข้อ 4 จะมีข้อความระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน แต่ในข้อ 6 ยังมีข้อความระบุไว้อีกต่างหากว่า จำเลยที่ 2 ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเกิดแต่จำเลยที่ 1 อีก 3 คนด้วย ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรตามสมควรในระหว่างบุตรยังเป็นผู้เยาว์ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดแจ้งว่าเป็นเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 จำต้องปฏิบัติตามเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ทั้ง 3 คน แทนจำเลยที่ 1 ในส่วนที่จำเลยที่ 1จะต้องรับผิดชอบด้วย อีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยที่ 1 ใช้มูลค่าของที่ดินพิพาทส่วนของตนมอบแก่จำเลยที่ 2 ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบุตรผู้เยาว์ ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องกระทำ จึงถือได้ว่าการให้ดังกล่าวเป็นการให้โดยมีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีเงื่อนไขคดีถึงที่สุด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากคำสั่งศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด
ข้อความในสัญญาค้ำประกันระบุว่า ผู้ร้องจะยอมรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ และคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์อาจยืน ยก แก้ หรือกลับเสียซึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นก็ได้จึงยังฟังเป็นที่แน่นอนและถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ผู้ร้องจึงยังไม่ต้องรับผิด