พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,077 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5674/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาตามสัญญาซื้อขายที่ดิน: การตีความตามปกติประเพณีและเจตนาที่แท้จริง แม้ไม่มีข้อตกลงระบุไว้โดยชัดแจ้ง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 ให้ตีความสัญญาไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิจารณาถึงปกติประเพณีด้วย และตามมาตรา 171 ในการตีความแสดงเจตนา ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับที่ดิน เคยทำสัญญาซื้อขายและจัดสรรที่ดินมาแล้วหลายแห่ง มีความรู้ความชำนาญและสันทัดจัดเจนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินยิ่งกว่าจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นสัญญาสำเร็จรูปที่พนักงานของโจทก์จัดทำขึ้น โจทก์มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าจำเลย ย่อมมีอำนาจต่อรองในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทมากกว่าจำเลย แล้วจากทำสัญญาจะซื้อจะยายที่ดินพิพาทแล้วโจทก์มีหนังสือถึงธนาคารพาณิชย์ขอกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนในโครงการรวม 155,000,000 บาท โดยเป็นการขอกู้ยืมเงินเพื่ออาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 43,000,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จะต้องชำระค่าที่ดินพิพาท และบริษัทในเครือของโจทก์เคยมีวงเงินสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ เพื่ออาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินมาแล้ว แสดงให้เห็นว่าในทางปฏิบัติและตามปกติประเพณีของการซื้อที่มีราคาสูง หากผู้จะซื้อที่ดินจะต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชำระราคาที่ดินล่วงหน้า ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นจะต้องให้ธนาคารอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย ประเพณีเช่นว่ามีแม้ไม่ได้เขียนไว้ในสัญญาก็ต้องถือว่าเป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติโดยปริยาย จึงน่าเชื่อว่าโจทก์กับจำเลยมีเจตนาให้ธนาคารอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินในคดีนี้ด้วย แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจะไม่ได้ระบุไว้ก็ตาม เมื่อโจทก์ออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่มีอาวัลของธนาคาร จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินได้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ปราศจากเจตนาจริงและการปล่อยเวลาเนิ่นนาน ทำให้ศาลไม่พิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่าได้จดทะเบียนสมรสกันหลอก ๆ เพื่อหวังประโยชน์ในทางการค้า มิได้มีเจตนาจะอยู่กินเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง ทั้งไม่เคยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแต่อย่างใด เหตุที่จดทะเบียนสมรสกันเนื่องจากเชื่อตามหมอดูทำนายเท่านั้น แต่ผู้ร้องทั้งสองมิได้นำพยานอื่นเข้าสืบประกอบว่าตนมิได้อยู่กินฉันสามีภริยากันจริง และมิได้ส่งสำเนาทะเบียนบ้านว่ามิได้อยู่บ้านหลังเดียวกัน นอกจากนี้ผู้ร้องทั้งสองยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 3 ปีเศษ จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ พฤติการณ์ที่นำสืบเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 แล้วไม่มีเหตุที่จะมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสของผู้ร้องทั้งสองตกเป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถจักรยานยนต์มีสิทธิขอคืนรถได้ แม้จำเลย (บุตร) นำไปใช้กระทำผิด หากไม่มีเจตนาอนุญาตให้ใช้โดยเสรี
แม้ผู้ร้องจะเป็นบิดาของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์และอาศัยอยู่บ้านหลังเดียวกันขณะผู้ร้องไม่อยู่บ้านจะเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ในตู้โดยไม่มีที่ล็อกแต่ได้ความว่าผู้ร้องเคยอนุญาตให้จำเลยใช้รถแต่ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และยังเคยตักเตือนจำเลยว่าอย่าขับรถเร็วและอย่าประมาท ประกอบกับจำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปใช้กระทำความผิดขณะที่ผู้ร้องไปเฝ้ามารดาที่ป่วยที่โรงพยาบาล พฤติการณ์จึงไม่มีข้อส่อแสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยนำรถของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการโดยไม่คำนึงว่าจำเลยจะนำรถไปใช้ในกิจการใดอันจะถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดในลักษณะที่เป็นการเสี่ยงภัยต่อร่างกายและชีวิตของจำเลย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่สมบูรณ์: การแสดงเจตนาที่ไม่ชัดเจน และการกรอกข้อความภายหลังทำให้สัญญายังไม่ผูกพัน
โจทก์นำแบบพิมพ์สัญญาซึ่งยังมิได้กรอกข้อความมาให้จำเลยลงลายมือชื่อโดยอ้างว่าเป็นใบสมัครงาน จำเลยหลงเชื่อจึงลงลายมือชื่อในเอกสารไปโดยจำเลยยังไม่ได้ตกลงกับโจทก์ตามข้อความที่ปรากฏในสัญญา การที่โจทก์นำสัญญาไปกรอกข้อความในภายหลัง แม้จะมีลายมือชื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาก็จะถือว่าจำเลยได้แสดงเจตนาเข้าทำสัญญากับโจทก์ตามข้อความที่ปรากฏในสัญญายังไม่ได้ จึงยังไม่มีผลผูกพันจำเลย โจทก์จะนำสัญญามาฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามหรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานผิดสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่าปะการังและการครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครอง: การพิจารณาความผิดหลายกรรม
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันล่าปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ Scleractinia และ Stylasterina ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งคำว่า "ล่า" นั้นตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คำนิยามไว้ว่า หมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันล่าปะการังแข็งซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองย่อมหมายความถึงปะการังนั้น ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระโดยหาต้องบรรยายถ้อยคำดังกล่าวไว้ในคำฟ้องอีก คำฟ้องโจทก์หาได้เคลือบคลุมไม่
การจะพิจารณาว่า การกระทำใดเป็นความผิดหลายกรรมหรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำเป็นสำคัญ ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง และความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์คุ้มครองมีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกัน จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จ เมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครองและการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบตามฟ้อง ย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบ แยกต่างหากจากการเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ถือได้ว่าความผิดทั้งสองฐานเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การจะพิจารณาว่า การกระทำใดเป็นความผิดหลายกรรมหรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำเป็นสำคัญ ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง และความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์คุ้มครองมีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกัน จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จ เมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครองและการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบตามฟ้อง ย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบ แยกต่างหากจากการเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ถือได้ว่าความผิดทั้งสองฐานเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและมีไว้ในครอบครองซากสัตว์ป่า: การพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำว่า "ล่า" ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 4 หมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ ฉะนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันล่าปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ Scleractinia และ Stylasterina ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมหมายถึงปะการังนั้นไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ โจทก์หาต้องบรรยายถ้อยคำดังกล่าวไว้ในคำฟ้องอีกไม่ส่วนรายละเอียดที่บรรยายฟ้องต่อมาถึงวิธีการล่าโดยการเก็บ หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใดก็น่าจะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครอง มีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จเมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ส่วนการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าดังกล่าวแยกต่างหากจากการเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ความผิดทั้งสองฐานนี้จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครอง มีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จเมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ส่วนการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าดังกล่าวแยกต่างหากจากการเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ความผิดทั้งสองฐานนี้จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้าง: เจตนาของคู่กรณีสำคัญกว่าข้อความในเอกสาร
พฤติการณ์ที่โจทก์ผู้รับจ้างตกลงกับบริษัท ค. ให้บริษัท ค. รับเงินค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้างเพื่อนำมาชำระหนี้ที่โจทก์มีอยู่ต่อบริษัท ค. แล้วคืนเงินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้ให้โจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างที่จำเลยจ่ายไปทุกงวดให้แก่จำเลย แม้หนังสือเอกสารหมาย ล.1 ที่โจทก์ทำกับบริษัท ค. จะใช้ข้อความว่าโจทก์โอนสิทธิรับเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท ค. แต่ตามเจตนาของคู่กรณีดังกล่าวหาใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องกันไม่เป็นเพียงโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ค. รับเงินแทนโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง: เจตนาของคู่กรณีสำคัญกว่าเอกสาร หากเจตนาคือมอบอำนาจ ไม่ใช่โอนสิทธิ ผู้รับมอบอำนาจย่อมไม่มีสิทธิในเงินนั้น
การเบิกเงินค่าจ้างจากจำเลยทุกงวดโจทก์จะมีหนังสือส่งมอบงานและขอเบิกเงินจากจำเลยแล้วบริษัท ค. จะมีหนังสือขอรับเงินจากจำเลย เป็นกรณีที่โจทก์กับบริษัท ค. ตกลงกันให้บริษัท ค. รับเงินจากจำเลยเพื่อนำมาชำระหนี้ที่โจทก์มีอยู่ต่อบริษัท ค. ก่อน เงินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้บริษัท ค. ต้องคืนให้โจทก์ หรืออีกนัยหนึ่งเงินส่วนที่เหลือยังเป็นของโจทก์อยู่ แม้ตามหนังสือขอรับเงินจะใช้ข้อความว่าโจทก์โอนสิทธิรับเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท ค. แต่ตามเจตนาของคู่กรณีหาใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องกันไม่ เป็นเพียงโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ค. รับเงินแทนโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจร: การเรียกค่าไถ่รถยนต์แต่ไม่สามารถส่งคืนได้ ทำให้เกิดความสงสัยในเจตนา
จำเลยเรียกเอาเงินค่าไถ่รถยนต์กระบะจากผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไป แต่ผู้เสียหายก็ไม่ได้รับรถยนต์กระบะคืนตามที่จำเลยนัดหมาย แต่ได้รับคืนเนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในท้องที่อื่นคนละท้องที่กับที่จำเลยนัดหมายให้ไปรับคืน ทั้งเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยนัดหมายไว้ประมาณ 10 วัน ไม่อาจสันนิษฐานว่าคนร้ายนำรถยนต์กระบะคันดังกล่าวไปจอดทิ้งไว้เพื่อให้ผู้เสียหายรับคืนไปได้ จำเลยอาจสวมรอยคนร้ายเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพียงลำพัง มิได้ช่วยคนร้ายจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายโดยวิธีให้ผู้เสียหายไถ่คืน พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำชำเราเด็กหญิง ไม่ถึงขั้นพรากเด็กเพื่อการอนาจาร
การที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายซี่งมีอายุ 13 ปีเศษ 3 ครั้ง ในสถานที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันและเป็นสถานที่ที่ผู้เสียหายผ่านไปมาอยู่ตามปกติเป็นประจำ แม้จำเลยจะเป็นผู้สั่งให้ผู้เสียหายไปรอจำเลย ณ ที่เกิดเหตุ แต่เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วจำเลยก็ปล่อยให้ผู้เสียหายกลับบ้านโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือพาผู้เสียหายไปที่อื่นใดอีก การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนามุ่งที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายเพียงอย่างเดียว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม