พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการยกเลิกการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายและการแจ้งเจ้าหนี้
คดีล้มละลายเมื่อลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนได้มานั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจนำออกขายทอดตลาดได้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123 โดยไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน จึงไม่เหมือนกับการบังคับคดีแพ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6หมายถึงกระบวนพิจารณาที่กระทำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยซึ่งถ้าส่วนใดที่พระราชบัญญัติล้มละลายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ดังนี้เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ไม่ชอบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจสั่งให้ยกเลิกการขายเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ประกอบมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยส่งหมายนัดแจ้งวันขายทอดตลาดไปยังธนาคารเจ้าหนี้ผู้รับจำนำแล้ว แต่ธนาคารเจ้าหนี้ย้ายที่อยู่โดยไม่ทราบที่อยู่ใหม่ จึงประกาศแจ้งวันเวลาขายทอดตลาดทรัพย์ทางหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการแจ้งวันขายทอดตลาดทรัพย์ให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนำทราบโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกเลิกการขายทอดตลาดจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการสู้คดีและการพิจารณาหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจชอบในการยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจำเลยย่อมมีสิทธิสู้คดีและอุทธรณ์ฎีกาได้ชั้นหนึ่ง และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามมาตรา 27,91,94, และ 96 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 แม้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาก็ต้องผ่านการสอบสวนการพิจารณาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลอีกชั้นหนึ่งการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีที่จำเลยขาดนัดจึงไม่เป็นประโยชน์ ทั้งยังเพิ่มภาระแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเสียเวลาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายและจำเลย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะยกคำร้องดังกล่าวของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้ดุลพินิจชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ซึ่งศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีใหม่หรืออนุญาตให้จำเลยดำเนินการเองเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นโต้แย้งการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 ชั้นนี้เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และโจทก์ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีส่วนนี้ ไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาฎีกาของจำเลยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: สิทธิในใบอนุญาตตั้งสถานบริการเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการได้ และต้องฟ้องภายใน 14 วัน
สิทธิตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการเป็นของจำเลยที่ 2จึงตกอยู่ในอำนาจการจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 19 จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เพิกถอนการยึดสิทธิตามใบอนุญาตนั้น กรณีถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 158 แต่การที่จำเลยที่ 2 คัดค้านว่าสิทธิตามใบอนุญาตตั้งสถานบริการไม่ใช่ทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดนั้น เป็นการโต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ตามมาตรา 146 ซึ่งจะต้องยืนคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดสิบสี่วัน นับแต่วันที่ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย และการไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้
การขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่เพิกถอนการโอนทรัพย์สินดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อไปหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเท่านั้น ทั้งกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการใดได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว มีแต่เฉพาะการกระทำตามมาตรา 145(1) ถึง (5)เท่านั้น แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการสละสิทธิตามมาตรา 145(3) จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้เสียก่อน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งโดยไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าที่จำกัด: สิทธิการจองเซ้งไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่จำเลยทำสัญญาให้ ท.จองเซ้งอาคารพิพาทที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินราชพัสดุแล้วมีสิทธิให้บุคคลอื่นเช่า ก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับกระทรวงการคลังผู้ให้เช่านั้น จำเลยหาได้มีสิทธิการเช่าที่จะโอนให้แก่ ท.ได้ไม่ แม้สัญญาระหว่างจำเลยกับ ท.จะระบุว่าเป็นสัญญาจองเซ้งอาคารพร้อมสิทธิการเช่า ก็เป็นเพียงสัญญาจองเซ้งอาคารพิพาทเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จและได้ทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังแล้ว จำเลยก็ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท. เงินที่ ท.ชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินค่าจองเซ้งอาคารพิพาทซึ่งคาดว่าจะได้สิทธิการเช่าต่อไปเท่านั้น หาใช่เป็นการชำระค่าโอนสิทธิการเช่าไม่ การที่ ท.เข้าอยู่ในอาคารพิพาทและชำระค่าเช่าให้แก่กระทรวงการคลัง จึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยและทำแทนจำเลย ท.จึงไม่ได้สิทธิการเช่าอาคารพิพาท เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปวางเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้ร้อง โดยได้รับความยินยอมจากกระทรวงการคลัง และต่อมาจำเลยได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว สิทธิการจองเซ้งอาคารพิพาทระหว่างจำเลยกับ ท.จึงมิใช่สิทธิตามสัญญาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องยอมปฏิบัติ ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.โดยให้ ท.ชำระเงินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มขึ้นอีกบางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเสียได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดหุ้น: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องเปิดเผยรายละเอียดสินทรัพย์/หนี้สิน หากข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณะ
จำเลยกล่าวอ้างว่าการประกาศขายทอดตลาดหุ้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้งให้ผู้พบเห็นทราบว่าบริษัทผู้ออกหุ้นมีหุ้นอยู่ทั้งหมดเท่าใด มีสินทรัพย์และหนี้สินเท่าใด ผู้ที่ประมูลซื้อคงมีเฉพาะผู้ที่ทราบสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเท่านั้นการขายทอดตลาดย่อมต้องมีการสมยอมกัน เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำสืบให้เห็นดังที่กล่าวอ้าง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นของบริษัทจำกัดย่อมปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นและหนังสือบริคณห์สนธิที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะ ทางการเงินของบริษัทจำกัดคือสินทรัพย์และหนี้สิน ย่อมปรากฏอยู่ในบัญชีงบดุลซึ่งได้ส่งไว้ต่อนายทะเบียนเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เอกสารเหล่านี้บุคคลทั่วไปตลอดจนผู้จะเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดหุ้นสามารถตรวจสอบก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดได้อยู่แล้ว แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาด ก็ไม่เป็นเหตุให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจต่อสู้คดีของลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจตามมาตรา 22 และมาตรา 24 แห่งพ.ร.บ. ล้มละลายฯ ที่จะจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ ดังนั้น เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จำเลยจึงหามีอำนาจต่อสู้คดีหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี ฉะนั้น เมื่อการร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ขอเข้ามาดำเนินคดีแทน จำเลยก็ไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจต่อสู้คดีของลูกหนี้หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 ได้กล่าวไว้ชัดแจ้งว่า เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วลูกหนี้หามีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือการกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่งอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 3จึงไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาด เพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว แม้จำเลยที่ 3จะได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ขอเข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ก็จะดำเนินคดีเองต่อไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสั่งยึดทรัพย์และการสอบสวนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ตามบทบัญญัติในมาตรา 158 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่ได้สอบสวนแล้วพอที่จะมีคำสั่งได้แล้วหรือไม่ โดยพิจารณาพยานหลักฐานและพฤติการณ์ที่เพียงพอจะทราบความจริงได้ว่า ทรัพย์ที่ยึดมานั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยึดหรือไม่ ก็ย่อมถือได้แล้วว่า เป็นการสอบสวนตามความหมายในมาตรา 158 แล้วไม่จำต้องสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้องต่อไปให้ล่าช้า ผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายอันเป็นกฎหมายพิเศษซึ่งต้องการให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยด่วน