คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช่าที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงสละสิทธิเช่าที่ดินเพื่อขายฝากบ้าน ย่อมผูกพันโจทก์ ห้ามฟ้องรื้อถอนบ้าน
ภรรยาโจทก์เอาบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์เช่ามาไปขายฝากไว้กับจำเลยมีกำหนด 2 ปี โดยโจทก์กับภรรยาโจทก์บอกจำเลยว่า ถ้าภรรยาโจทก์ไม่ซื้อบ้านคืนภายในกำหนดให้สิทธิการเช่าที่ดินตกเป็นของจำเลย อันเป็นการแสดงเจตนาว่าจำเลยไม่ต้องรื้อถอนบ้านออกไป ดังนี้ เมื่อภรรยาโจทก์ไม่ซื้อบ้านคืนภายในกำหนด โจทก์ก็จะฟ้องให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินที่โจทก์เช่าไม่ได้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินสาธารณะ สัญญาประนีประนอมยอมความ และความรับผิดของผู้ลงชื่อสัญญา แม้บริษัทเลิกกิจการ
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของสวนลุมพินีซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกให้เป็นวนะสาธารณ์สำหรับประชาชน อยู่ในความดูแลรักษาของกรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย เทศบาลนครกรุงเทพ โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนพักผ่อนหย่อนใจดังนั้นเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ย่อมมีสิทธิเอาที่พิพาทให้เช่าเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายปรับปรุงสวนลุมพินีให้อยู่ในสภาพเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่ขัดพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญาเช่ากับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1จดทะเบียนเลิกห้างฯ โดยไม่มีการชำระบัญชีแต่ในการต่อสัญญาปีต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วก็ยังใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในฐานะผู้จัดการและดำเนินกิจการค้าและใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เดิมตลอดมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในปี 2513จำเลยที่ 2 ก็ได้ติดต่อกับโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และอาศัยชื่อจำเลยที่ 1เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และจำเลย ที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1 อยู่เช่นเดิม หาได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วไม่พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาปิดบังแอบอ้างอาศัยใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์เพื่อกิจการค้าของจำเลยที่ 2 หรือเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เองดังนั้นแม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯ แล้ว ก็ตามแต่สัญญานั้นก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ลงชื่อในสัญญานั้นจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเรื่องภูมิลำเนาไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ขอเช่า หากการอนุมัติไม่ได้ขึ้นอยู่กับภูมิลำเนา
โจทก์จำเลยต่างยื่นคำร้องต่ออำเภอเพื่อขอเช่าที่พิพาทตามคำร้องของจำเลยระบุว่าจำเลยตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเลขที่ 229 หมู่ที่ 5 ตำบลบัวชุมอำเภอไชยบาดาล จังหวัดลพบุรีโดยเช่าห้องของนายเฉื่อย คำทองแท้ และ จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทมาก่อน พ.ศ. 2499 ซึ่งความจริงจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลสระกรวด อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ นายอำเภออนุมัติให้จำเลยเช่าที่พิพาท แต่การที่นายอำเภอจะพิจารณาให้ผู้ใดเช่าที่ดินโครงการผังเมืองลำนารายณ์ซึ่งรวมถึงที่พิพาทรายนี้ด้วยนั้นนายอำเภอเป็นผู้มีอำนาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดเช่าได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้ขอเช่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด ดังนั้น การที่จำเลยได้รับอนุมัติให้เป็นผู้เช่าและโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติให้เช่านั้นจึงไม่ได้เป็นผลมาจากการที่จำเลยระบุในคำร้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด ความเสียหายของโจทก์มิได้สืบเนื่องมาจากข้อความอันเป็นเท็จนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมสัญญาเช่าที่ดินโดยผู้ไม่มีอำนาจ ผลผูกพันต่อวัดและผลของการจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า พระภิกษุมงคลผู้รักษาแทนเจ้าอาวาสวัดน้อยนอกโจทก์ ได้เอาที่ดินวัดและที่ธรณีสงฆ์วัดน้อยนอกไปให้จำเลยเช่าแล้วมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย ที่ศาลในระหว่างพิจารณาคดีแพ่งแดงที่ 95/2510 แต่พระภิกษุมงคลไม่มีอำนาจทำสัญญายอมได้ เพราะทางการถอดถอนจากผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวันน้อยนอกเสียแล้ว และทั้ง ๆ ที่พระภิกษุมงคลได้ทราบถึงการที่ตนถูกถอดถอนไม่ให้มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังได้บังอาจไปจดทะเบียนการเช่าที่พิพาทให้กับจำเลย ณ หอทะเบียนที่ดินอีกด้วย จำเลยก็รู้ดีถึงการที่พระภิกษุมงคลไม่มีอำนาจ โจทก์จึงถือว่านิติกรรมดังกล่าวไม่ผูกผันโจทก์ แต่เนื่องจากจำเลยก็ยังโต้เถียงอยู่ว่า พระภิกษุมงคลได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันวัดโจทก์อยู่ จึงชอบที่ศาลจะให้โจทก์จำเลยนำพยานหลักฐานมาสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ แล้วพิพากษาไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินและการคุ้มครองตามพรบ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ เมื่อมีการปลูกสร้างอาคารและให้เช่าต่อ
จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่เป็นของ ร. ทั้งแปลงเพื่อปลูกสร้างอาคารจำเลยปลูกห้องแถวขึ้น 2 ห้องครึ่ง แม้จะมีเรือนเก่าปลูกอยู่แล้วครึ่งหลังเมื่อจำเลยใช้ที่แปลงนี้ปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมตามสัญญาเช่าแล้วหาประโยชน์โดยให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า การเช่าที่ทั้งแปลงของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติ หน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่า จำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สิทธิการเช่า vs. การยินยอมให้ปลูกสร้าง และผลกระทบต่อการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่า
จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่เป็นของ ร. ทั้งแปลงเพื่อปลูกสร้างอาคารจำเลยปลูกห้องแถวขึ้น 2 ห้องครึ่ง แม้จะมีเรือนเก่าปลูกอยู่แล้วครึ่งหลังเมื่อจำเลยใช้ที่แปลงนี้ปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมตามสัญญาเช่าแล้วหาประโยชน์โดยให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า การเช่าที่ทั้งแปลงของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติหน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่าจำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการเช่าที่ดิน: สิทธิของผู้รับมรดกและความสมบูรณ์ของสัญญา
ซ. เช่าที่ดินจากการรถไฟฯ แล้วปลูกห้องลงบนที่ดินที่เช่า ซ. ตาย ทายาททำสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก โจทก์ที่ 1 รับมรดก และโจทก์ที่ 2, 3 รับโอนทรัพย์มรดกมาจากทายาท โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟฯ จำเลยยื่นหนังสือขอโอนสิทธิการเช่าที่ดินต่อการรถไฟ ฯ ในนาม ซ. ให้จำเลย และจำเลยก็ยื่นหนังสือขอรับโอนสิทธิการเช่าที่ดินต่อจาก ซ. ดังนี้ เป็นเรื่องจำเลยใช้อุบายหลอกลวงการรถไฟ ฯ ให้ทำสัญญาเช่ากับจำเลยซึ่งเป็นการแสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉล ซึ่งเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 บุคคลที่จะบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะก็คือการรถไฟ ฯ ซึ่งเป็นผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 ตราบใดที่การรถไฟ ฯ ยังมิได้บอกล้างนิติกรรมที่ได้ทำขึ้น ก็ยังถือว่าเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ โจทก์ในคดีนี้แม้จะฟังว่าเป็นผู้รับมรดกนายซิวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าระหว่างการรถไฟฯ กับนายซิวมีอายุการเช่าเพียง 1 ปี และต้องทำสัญญาเช่าใหม่ทุกปี หลังจากนายซิวตายแล้วสัญญาเช่าระหว่างการรถไฟ ฯ กับนายซิวจึงเป็นอันระงับ เพราะการตายของนายซิว และสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ โจทก์มิได้ทำสัญญาเช่าที่ดินต่อการรถไฟ ฯ จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิในการเช่าที่ดิน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลสั่งบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินให้โจทก์ และไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลสั่งทำลายเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการเช่าที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการเช่าที่ดินและสิทธิของผู้รับมรดก
ซ.เช่าที่ดินจากการรถไฟฯ แล้วปลูกห้องลงบนที่ดินที่เช่า ซ.ตาย ทายาททำสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกโจทก์ที่ 1 รับมรดก และโจทก์ที่ 2,3 รับโอนทรัพย์มรดกมาจากทายาทโจทก์ไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟฯ จำเลยยื่นหนังสือขอโอนสิทธิการเช่าที่ดินต่อการรถไฟฯในนาม ซ. ให้จำเลย และจำเลยก็ยื่นหนังสือขอรับโอนสิทธิการเช่าที่ดินต่อจาก ซ. ดังนี้ เป็นเรื่องจำเลยใช้อุบายหลอกลวงการรถไฟฯ ให้ทำสัญญาเช่ากับจำเลยซึ่งเป็นการแสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลซึ่งเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 บุคคลที่จะบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะก็คือการรถไฟฯ ซึ่งเป็นผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 ตราบใดที่การรถไฟฯ ยังมิได้บอกล้างนิติกรรมที่ได้ทำขึ้นก็ยังถือว่าเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์โจทก์ในคดีนี้แม้จะฟังว่าเป็นผู้รับมรดกนายซิวก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าระหว่างการรถไฟฯ กับนายซิวมีอายุการเช่าเพียง 1 ปีและต้องทำสัญญาเช่าใหม่ทุกปีหลังจากนายซิวตายแล้วสัญญาเช่าระหว่างการรถไฟฯกับนายซิวจึงเป็นอันระงับเพราะการตายของนายซิว และสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้โจทก์มิได้ทำสัญญาเช่าที่ดินต่อการรถไฟฯ จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิในการเช่าที่ดินโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลสั่งบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินให้โจทก์ และไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลสั่งทำลายเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการเช่าที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการเช่าที่ดิน: สิทธิการเช่าระงับเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรมและไม่ได้ต่อสัญญา
ซ.เช่าที่ดินจากการรถไฟฯ แล้วปลูกห้องลงบนที่ดินที่เช่า. ซ.ตาย ทายาททำสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก. โจทก์ที่ 1 รับมรดก และโจทก์ที่ 2,3 รับโอนทรัพย์มรดกมาจากทายาท.โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟฯ. จำเลยยื่นหนังสือขอโอนสิทธิการเช่าที่ดินต่อการรถไฟฯ. ในนาม ซ. ให้จำเลย. และจำเลยก็ยื่นหนังสือขอรับโอนสิทธิการเช่าที่ดินต่อจาก ซ. ดังนี้. เป็นเรื่องจำเลยใช้อุบายหลอกลวงการรถไฟฯ. ให้ทำสัญญาเช่ากับจำเลยซึ่งเป็นการแสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉล. ซึ่งเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121. บุคคลที่จะบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะก็คือการรถไฟฯ. ซึ่งเป็นผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริต. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137. ตราบใดที่การรถไฟฯ ยังมิได้บอกล้างนิติกรรมที่ได้ทำขึ้น. ก็ยังถือว่าเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์. โจทก์ในคดีนี้แม้จะฟังว่าเป็นผู้รับมรดกนายซิวก็ตาม. แต่เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าระหว่างการรถไฟฯ กับนายซิวมีอายุการเช่าเพียง 1 ปี. และต้องทำสัญญาเช่าใหม่ทุกปี.หลังจากนายซิวตายแล้วสัญญาเช่าระหว่างการรถไฟฯ.กับนายซิวจึงเป็นอันระงับ. เพราะการตายของนายซิว. และสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้. โจทก์มิได้ทำสัญญาเช่าที่ดินต่อการรถไฟฯ. จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิในการเช่าที่ดิน. โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลสั่งบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินให้โจทก์. และไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลสั่งทำลายเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการเช่าที่ดิน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อสร้างบ้านให้เช่าต่อ ไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ
ผู้เช่าที่ดินในจังหวัดธนบุรีด้วยอัตราค่าเช่าไม่เกินปีละ 48 บาทต่อ 1 ตารางวาเพื่อปลูกบ้าน แล้วเอาบ้านนั้นให้ผู้อื่นเช่าไปเป็นการหาประโยชน์ การเช่าที่ดินนี้ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 เพราะที่ดินนี้ไม่ใช่ที่ดินควบคุม
of 20