พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและเหตุผลอื่นภายหลัง การเพิกถอนการเลิกจ้างทำไม่ได้เมื่อความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัท ด. เลิกจ้างโจทก์เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเหตุที่มีอยู่จริงและเป็นเจตนาของนายจ้างที่จะเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว ถือไม่ได้ว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยสำคัญผิด และแม้นายจ้างจะพบเหตุอื่น (ความผิดของโจทก์) ในภายหลังก็ไม่สามารถอ้างเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้อีก ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้กลฉ้อฉลให้นายจ้างเลิกจ้าง ฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นการฉ้อฉลนายจ้างให้สำคัญผิด จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์สิ้นสุดลงและมีผลตามกฎหมายตามหนังสือเลิกจ้างเป็นต้นไป โดยบริษัท ค. ไม่อาจใช้สิทธิเพิกถอนการเลิกจ้างนั้นได้อีกแม้ภายหลังบริษัท ด. นายจ้างจะพบเรื่องที่อ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงกรณีโจทก์ร่วมกับพวกก่อตั้งบริษัท อ. ประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง บริษัท ด. นายจ้างจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกครั้งไม่ได้ เพราะความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์ได้สิ้นสุดไปแล้ว
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์สิ้นสุดลงและมีผลตามกฎหมายตามหนังสือเลิกจ้างเป็นต้นไป โดยบริษัท ค. ไม่อาจใช้สิทธิเพิกถอนการเลิกจ้างนั้นได้อีกแม้ภายหลังบริษัท ด. นายจ้างจะพบเรื่องที่อ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงกรณีโจทก์ร่วมกับพวกก่อตั้งบริษัท อ. ประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง บริษัท ด. นายจ้างจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกครั้งไม่ได้ เพราะความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์ได้สิ้นสุดไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบการทำงานอย่างร้ายแรง แม้ยังไม่เกิดความเสียหาย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยใช้ชื่อนิติบุคคลที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมายทำรายการซื้อตั๋วแลกเงินแทนลูกค้าบุคคลธรรมดา ใช้ชื่อนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายทำรายการซื้อตั๋วแลกเงินโดยผู้แทนนิติบุคคลนั้นไม่ได้รับทราบ เก็บตั๋วแลกเงินที่ขายให้ลูกค้าไว้โดยออกสมุดเงินฝากให้แทน ทำรายการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าเพื่อซื้อตั๋วแลกเงินโดยลูกค้าไม่ได้ลงนามในใบถอนเงิน และนำส่วนต่างดอกเบี้ยจากการลงทุนในตั๋วแลกเงินของลูกค้าบางรายฝากเข้าบัญชีกองกลางของสาขา แม้การกระทำดังกล่าวของโจทก์จะได้รับความยินยอมจากลูกค้า ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำทุจริตต่อหน้าที่ และยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยก็ตาม แต่ก็อาจเป็นเหตุให้ลูกค้านำสมุดเงินฝากมาขอเบิกเงินจากจำเลยและจำเลยต้องจ่ายเงินให้ไป จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบทำงานของจำเลย เรื่อง วิธีปฏิบัติในการจำหน่ายตั๋วแลกเงิน ข้อ 2.2 ที่กำหนดให้สาขาออกคู่ฉบับใบลงรับมอบให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐาน เป็นกรณีร้ายแรง จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือน และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรงเป็นเหตุชอบธรรม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารจำเลยทำรายการซื้อตั๋วแลกเงินแทนลูกค้า จากนั้นเก็บตั๋วแลกเงินที่ขายให้ลูกค้าไว้แล้วออกสมุดเงินฝากให้แก่ลูกค้าโดยที่ลูกค้ามิได้ฝากเงินไว้กับจำเลย เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบการทำงานของจำเลยซึ่งให้สาขาออกคู่ฉบับใบลงรับมอบให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐาน อาจเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ เพราะหากลูกค้านำสมุดเงินฝากมาขอเบิกเงินจากจำเลย จำเลยอาจต้องรับผิดจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากแก่ลูกค้า แม้จะยังไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์กระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกค้าและเพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ ก็ต้องถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรงแล้ว จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างพยานบุคคล พยานเอกสารและเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่า พยานหลักฐานจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้แทนนิติบุคคลไม่ยินยอมให้ใช้ชื่อนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ซื้อตั๋วแลกเงินก็ดี จ. เป็นผู้เก็บส่วนต่างของดอกเบี้ยจากการจำหน่ายตั๋วแลกเงินให้แก่ลูกค้าก็ดี ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งขึ้นมิได้มีการสอบสวนทางวินัยและลงโทษโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังข้อเท็จจริงว่า ท. กับ จ. กระทำการฝ่าฝืนต่อระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยและจำเลยอนุมัติให้บุคคลทั้งสองลาออกดังที่โจทก์อ้างมาในอุทธรณ์ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างพยานบุคคล พยานเอกสารและเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่า พยานหลักฐานจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้แทนนิติบุคคลไม่ยินยอมให้ใช้ชื่อนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ซื้อตั๋วแลกเงินก็ดี จ. เป็นผู้เก็บส่วนต่างของดอกเบี้ยจากการจำหน่ายตั๋วแลกเงินให้แก่ลูกค้าก็ดี ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งขึ้นมิได้มีการสอบสวนทางวินัยและลงโทษโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังข้อเท็จจริงว่า ท. กับ จ. กระทำการฝ่าฝืนต่อระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยและจำเลยอนุมัติให้บุคคลทั้งสองลาออกดังที่โจทก์อ้างมาในอุทธรณ์ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเลิกจ้างสองภาษา: เจตนาของคู่สัญญาและสิทธิการได้รับค่าชดเชย
หนังสือเลิกจ้างของบริษัทจำเลยจัดทำขึ้นเป็นสองภาษาคือภาษาอังกฤษและภาษาไทยในฉบับเดียวกัน แม้จำเลยจะเป็นบริษัทต่างประเทศแต่ก็ประกอบกิจการในประเทศไทย และโจทก์กับลูกจ้างอื่น ๆ ของจำเลยก็เป็นคนไทย ดังนั้น แม้หนังสือดังกล่าวจะไม่มีการระบุไว้ชัดแจ้งว่า หากข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษกับข้อความที่เป็นภาษาไทยแตกต่างกันให้ใช้ข้อความภาษาอังกฤษเป็นหลัก กรณีจึงต้องถือว่ามิอาจหยั่งทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับ จึงต้องถือตามข้อความที่เป็นภาษาไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 14 เมื่อข้อความภาษาไทยระบุถึงเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานขาดความรับผิดชอบและประสิทธิภาพในการทำงานของโจทก์ไม่เป็นที่ยอมรับของจำเลย อันมิใช่สาเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยจะยกเหตุตามมาตราดังกล่าวมาอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ในภายหลังหาได้ไม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ที่ระบุกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง หากมิได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิก นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น หมายถึง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้หากมิได้ระบุเหตุผลดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วย ฉะนั้น แม้ในหนังสือเลิกจ้างจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานและขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย จำเลยก็สามารถยกเหตุการณ์การกระทำผิดอื่น ๆของโจทก์ขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ได้
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ที่ระบุกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง หากมิได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิก นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น หมายถึง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้หากมิได้ระบุเหตุผลดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วย ฉะนั้น แม้ในหนังสือเลิกจ้างจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานและขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย จำเลยก็สามารถยกเหตุการณ์การกระทำผิดอื่น ๆของโจทก์ขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10659-10665/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องมีเหตุผลอันสมควร และรางวัลพิเศษขึ้นอยู่กับผลกำไรจากธุรกิจหลัก
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หมายความถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุ หรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้าง สาเหตุการเลิกจ้างอาจเกิดจากฝ่ายลูกจ้างฝ่ายเดียว เมื่อสาเหตุและความจำเป็นที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มาจากการประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและลดจำนวนพนักงานลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับคุ้มทุน มิฉะนั้นจะไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ให้สิทธิจำเลยในการที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ ทั้งเหตุที่ต้องยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงานและโอนงานไปรวมกับหน่วยงานอื่นก็เป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการและสัญญาผู้ประกอบการจำหน่ายที่จำเลยทำกับเจ้าหนี้ ดังนั้น การที่จำเลยใช้สิทธิตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเลิกจ้างโจทก์พร้อมกับพนักงานในหน่วยงานที่ถูกปรับยุบทั้งหมด เพราะมีสาเหตุมาจากการประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมิได้เลือกปฏิบัติกลั่นแกล้งเฉพาะโจทก์เท่านั้น จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนกรณีที่จำเลยประกาศรับสมัครผู้จัดการในหน่วยงานอื่นของจำเลยซึ่งโจทก์ทั้งสองมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะสมัครเข้าไปทำงานได้นั้น จำเลยก็ได้ดำเนินการหลังจากเลิกจ้างโจทก์เป็นเวลานาน เนื่องจากความจำเป็นทางด้านการบริหารจัดการที่เพิ่งเกิดมีขึ้นใหม่ในภายหลังตามความประสงค์ของบริษัท ว. ซึ่งจำเลยมีความผูกพันตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายที่จะต้องปฏิบัติ เหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเช่นกัน
จำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และอะไหล่และให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์ รายได้ที่จะมีผลต่อกำไรหรือขาดทุนในการประกอบธุรกิจของจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ การที่จำเลยประกาศจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่พนักงาน จึงมุ่งหมายถึงผลประกอบการในการดำเนินธุรกิจรถยนต์โดยตรง ซึ่งได้แก่ การขายรถยนต์ใหม่ การขายรถยนต์เก่าการขายอะไหล่ การให้บริการซ่อมบำรุง และการให้เช่ารถยนต์ ส่วนการขายสินทรัพย์ หนี้สูญได้รับคืน รายได้อื่นๆ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของจำเลย มิใช่การประกอบกิจการอันเป็นธุรกิจรถยนต์ของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจถือเป็นรายได้ที่จะนำมาคำนวณเป็นผลกำไรในส่วนธุรกิจรถยนต์ เมื่อการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ไม่มีผลกำไร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษจากจำเลย
จำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และอะไหล่และให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์ รายได้ที่จะมีผลต่อกำไรหรือขาดทุนในการประกอบธุรกิจของจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ การที่จำเลยประกาศจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่พนักงาน จึงมุ่งหมายถึงผลประกอบการในการดำเนินธุรกิจรถยนต์โดยตรง ซึ่งได้แก่ การขายรถยนต์ใหม่ การขายรถยนต์เก่าการขายอะไหล่ การให้บริการซ่อมบำรุง และการให้เช่ารถยนต์ ส่วนการขายสินทรัพย์ หนี้สูญได้รับคืน รายได้อื่นๆ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของจำเลย มิใช่การประกอบกิจการอันเป็นธุรกิจรถยนต์ของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจถือเป็นรายได้ที่จะนำมาคำนวณเป็นผลกำไรในส่วนธุรกิจรถยนต์ เมื่อการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ไม่มีผลกำไร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีความผิดทางอาญาจากการเดินโพยสลากกินรวบ
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างของผู้คัดค้าน มอบเงินให้ อ. ไปล่อซื้อสลากกินรวบจากผู้คัดค้าน เป็นเพียงวิธีการแสวงหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์การกระทำผิดของผู้คัดค้าน มิใช่การป้ายสียัดเยียดความผิดให้ผู้คัดค้าน เพราะหาก ผู้คัดค้านมิได้เป็นผู้เดินโพยฝ่ายเจ้ามือเมื่อ อ. ไปขอซื้อสลากกินรวบจากผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านก็ต้องปฏิเสธไม่ขาย สลากกินรวบให้ ความผิดย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ วิธีการล่อซื้อดังกล่าวมิได้ฝ่าฝืนกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้เงินที่ใช้ซื้อสลากกินรวบจะเป็นเงินที่ใช้ล่อซื้อ เมื่อผู้คัดค้านรับเงินดังกล่าวไว้ในการขายสลากกินรวบ การกระทำของผู้คัดค้านก็เป็นความผิดฐานเล่นการพนันสลากกินรวบแล้ว
ผู้เดินโพยสลากกินรวบคือตัวแทนของเจ้ามือรับกินรับใช้ในการขายสลากกินรวบให้แก่ผู้ซื้อสลากกินรวบ ผู้เดินโพยจะได้ค่าตอบแทนจากการขายสลากกินรวบ ผู้เดินโพยจึงมีความผิดฐานเล่นการพนันสลากกินรวบ และความผิดดังกล่าวมีบทลงโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 12 การกระทำของผู้คัดค้านจึงฟังได้ว่าเป็นความผิดทางอาญาโดยไม่ต้องมีคำพิพากษาของศาลในคดีอาญาก่อน
ตามพ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างแล้วนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ เมื่อผู้ร้อง(นายจ้าง)ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างและกรรมการลูกจ้างได้ ก็ต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่ง การที่ผู้ร้องจะจ่ายหรือไม่จ่ายค่าชดเชยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ร้องมีคำสั่งเลิกจ้างแล้ว ไม่สมควรจะมีคำสั่งเรื่องค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีข้อพิพาทเกิดขึ้น
ผู้เดินโพยสลากกินรวบคือตัวแทนของเจ้ามือรับกินรับใช้ในการขายสลากกินรวบให้แก่ผู้ซื้อสลากกินรวบ ผู้เดินโพยจะได้ค่าตอบแทนจากการขายสลากกินรวบ ผู้เดินโพยจึงมีความผิดฐานเล่นการพนันสลากกินรวบ และความผิดดังกล่าวมีบทลงโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 12 การกระทำของผู้คัดค้านจึงฟังได้ว่าเป็นความผิดทางอาญาโดยไม่ต้องมีคำพิพากษาของศาลในคดีอาญาก่อน
ตามพ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างแล้วนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ เมื่อผู้ร้อง(นายจ้าง)ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างและกรรมการลูกจ้างได้ ก็ต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่ง การที่ผู้ร้องจะจ่ายหรือไม่จ่ายค่าชดเชยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ร้องมีคำสั่งเลิกจ้างแล้ว ไม่สมควรจะมีคำสั่งเรื่องค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีข้อพิพาทเกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรรมการแรงงาน กรณีเล่นการพนันในที่ทำงาน และการพิจารณาค่าชดเชย
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านมีความมุ่งหมายที่จะโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางที่ว่าผู้คัดค้านเล่นการพนันสลากกินรวบโดยเป็นผู้เดินโพยฝ่ายเจ้ามือ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างของผู้คัดค้านมอบเงินให้แก่ผู้อื่นไปล่อซื้อสลากกินรวบจากผู้คัดค้านเป็นเพียงวิธีการแสดงหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์การกระทำความผิดของผู้คัดค้านเท่านั้น มิใช่เป็นการป้ายสีหรือยัดเยียดความผิดให้แก่ผู้คัดค้าน วิธีการล่อซื้อดังกล่าวมิได้ฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งผู้เดินโพยสลากกินรวบก็คือตัวแทนของเจ้ามือรับกินรับใช้ในการขายสลากกินรวบให้แก่ผู้ซื้อสลากกินรวบนั่นเอง การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นความผิดทางอาญาแล้วโดยไม่จำต้องมีคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างแล้วนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ ดังนั้นเมื่อผู้ร้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างผู้คัดค้านไว้แล้ว ก็ต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่งการที่ผู้ร้องจะจ่ายหรือไม่จ่ายค่าชดเชยนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ร้องมีคำสั่งเลิกจ้างแล้ว ไม่สมควรที่ศาลแรงงานกลางจะพึงมีคำสั่งไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นจึงต้องยกคำขอของผู้ร้องข้อนี้เสีย
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างของผู้คัดค้านมอบเงินให้แก่ผู้อื่นไปล่อซื้อสลากกินรวบจากผู้คัดค้านเป็นเพียงวิธีการแสดงหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์การกระทำความผิดของผู้คัดค้านเท่านั้น มิใช่เป็นการป้ายสีหรือยัดเยียดความผิดให้แก่ผู้คัดค้าน วิธีการล่อซื้อดังกล่าวมิได้ฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งผู้เดินโพยสลากกินรวบก็คือตัวแทนของเจ้ามือรับกินรับใช้ในการขายสลากกินรวบให้แก่ผู้ซื้อสลากกินรวบนั่นเอง การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นความผิดทางอาญาแล้วโดยไม่จำต้องมีคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างแล้วนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ ดังนั้นเมื่อผู้ร้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างผู้คัดค้านไว้แล้ว ก็ต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่งการที่ผู้ร้องจะจ่ายหรือไม่จ่ายค่าชดเชยนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ร้องมีคำสั่งเลิกจ้างแล้ว ไม่สมควรที่ศาลแรงงานกลางจะพึงมีคำสั่งไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นจึงต้องยกคำขอของผู้ร้องข้อนี้เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915-976/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเลิกจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบโดยตรงหรือผู้รับมอบอำนาจ การปิดประกาศอย่างเดียวไม่ถือว่าเป็นการบอกกล่าวโดยชอบ
การที่จำเลยส่งประกาศเลิกจ้างพนักงานไปยัง ธ. ผู้จัดการโรงงานทางโทรสารเพื่อปิดประกาศให้พนักงานโรงงานทราบนั้น ไม่ใช่เป็นการที่จำเลยส่งโทรสารไปถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 62 โดยตรง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยมอบหมายให้ ธ. บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 62 ซึ่งการบอกกล่าวเลิกจ้างในลักษณะนี้เป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าจะมีผลก็ต่อเมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 62 ได้ทราบการแสดงเจตนาบอกกล่าวเลิกจ้างนั้นแล้ว แม้ว่า ธ. ได้สั่งให้พนักงานนำสำเนาประกาศเลิกจ้างไปปิดประกาศไว้แล้วแต่ก็เป็นการปิดใกล้เวลาเลิกงาน พนักงานต่างไม่ทราบประกาศดังกล่าวในวันนั้น มารับทราบในวันรุ่งขึ้นบ้าง วันถัดไปบ้าง จึงต้องถือว่าการบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างของจำเลยแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 62 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิสูจน์เจตนาทำร้ายและความผิดหน้าที่ตามกฎหมายแรงงาน
กรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 (2) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมายถึงลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างกระทำโดยรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดแก่นายจ้าง
การที่พนักงานแผนกซ่อมบำรุงของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปตรวจเช็คเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียพบว่ามีเสียงดังผิดปกติ จึงรายงานให้โจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานทราบ แต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู จนกระทั่งพนักงานดังกล่าวเห็นว่าหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดความเสียหาย จึงหยุดเครื่อง แล้วโจทก์จึงสั่งให้พนักงานไปถอดมาซ่อม ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการละเลยต่อหน้าที่การงานอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ถือว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า
การที่พนักงานแผนกซ่อมบำรุงของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปตรวจเช็คเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียพบว่ามีเสียงดังผิดปกติ จึงรายงานให้โจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานทราบ แต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู จนกระทั่งพนักงานดังกล่าวเห็นว่าหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดความเสียหาย จึงหยุดเครื่อง แล้วโจทก์จึงสั่งให้พนักงานไปถอดมาซ่อม ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการละเลยต่อหน้าที่การงานอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ถือว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เจตนาทำความเสียหาย vs. ละเลยหน้าที่ และการจ่ายค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
กรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119(2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ หมายถึง ลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายโดยรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่นายจ้างด้วย การที่พนักงานแผนกซ่อมบำรุงไปรายงานโจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานว่าเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียมีเสียงดังผิดปกติ แต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง จึงไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการละเลยต่อหน้าที่การงานอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบโดยเคร่งครัด ถือว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคท้าย