คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่ตกเป็นของภริยาตามทะเบียนหย่า ถือเป็นกรรมสิทธิ์ภริยาทำพินัยกรรมยกได้
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1512 แล้ว ซึ่งปรากฏในทะเบียนหย่าว่าบ้านพิพาทตกเป็นของภริยาการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวนี้ย่อมมีผลผูกพันสามี สามีจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งบ้านพิพาทให้นี้ยังมิได้โอนทะเบียนกรรมสิทธิ์ยังเป็นของสามีอยู่หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หาด้วย เมื่อบ้านพิพาทตกเป็นของภริยา ภริยาย่อมทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้อื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่ตกเป็นของภริยาตามทะเบียนหย่า ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของภริยาและสามารถทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นได้
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1512 แล้ว ซึ่งปรากฏในทะเบียนหย่าว่าบ้านพิพาทตกเป็นของภริยาการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวนี้ย่อมมีผลผูกพันสามี สามีจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งบ้านพิพาทให้นี้ยังมิได้โอนทะเบียนกรรมสิทธิ์ยังเป็นของสามีอยู่หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หาด้วย เมื่อบ้านพิพาทตกเป็นของภริยา ภริยาย่อมทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้อื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแบ่งทรัพย์สินมรดกตามคำฟ้อง และการไม่ถือว่าภาพจำลองวัตถุเป็นพยานเอกสาร
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาแบ่งทรัพย์สินตามบัญชีท้ายฟ้องให้ พ. กับ ส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงิน 37,935 บาทถ้าไม่สามารถแบ่งเป็นเงินได้. ขอให้ศาลขายทอดตลาดแบ่งเงินให้ พ. กับ ส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงินคนละ 37,935 บาทให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินต้นดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลพิพากษาให้ พ. กับ ส.และจำเลยแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลระหว่างกันเอง ถ้าไม่ตกลงกัน ให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใด ให้แบ่งกันตามส่วน ไม่เป็นการตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในวิธีแบ่งทรัพย์เช่นนี้ คำขอท้ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งเช่นนี้ไม่ชอบไม่ได้
ภาพถ่ายที่เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่ใช่พยานเอกสารอันจะต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานดังบังคับไว้ในมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแบ่งทรัพย์สินมรดกและการพิจารณาภาพถ่ายเป็นพยานหลักฐาน
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาแบ่งทรัพย์สินตามบัญชีท้ายฟ้องให้ พ.กับส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงิน 37,935 บาทถ้าไม่สามารถแบ่งเป็นเงินได้. ขอให้ศาลขายทอดตลาดแบ่งเงินให้ พ.กับส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงินคนละ 37,935 บาท ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินต้นดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลพิพากษาให้ พ.กับส. และจำเลยแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ ให้ประมูลระหว่างกันเอง ถ้าไม่ตกลงกัน ให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใด ให้แบ่งกันตามส่วน ไม่เป็นการตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในวิธีแบ่งทรัพย์เช่นนี้ คำขอท้ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งเช่นนี้ไม่ชอบไม่ได้
ภาพถ่ายที่เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่ใช่พยานเอกสาร อันจะต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานดังบังคับไว้ในมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งทรัพย์สินมรดก: สิทธิครอบครองเดิมสำคัญกว่าชื่อในตราจอง
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 นั้นยอมสืบหักล้างได้ว่าความจริงมีอยู่อย่างไร มารดาแบ่งที่นามือเปล่าให้บุตร 2 คนครอบครองกันเป็นส่วนสัด เป็นเนื้อที่ไม่เท่ากัน แล้วมารดาขอออกตราจองที่นาแปลงนั้นเป็นฉบับเดียวกันการออกตราจองนี้ถือว่ามารดามิได้มีเจตนาจะถือว่าที่ดินเป็นของตน เพราะได้สละการครอบครองให้บุตรไปแล้ว เมื่อออกตราจองแล้วมารดาก็โอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรทั้งสองนั้น โดยมิได้ระบุว่าส่วนของคนไหนมีเนื้อที่เท่าใด ดังนี้ เมื่อบุตรจะขอแยกตราจอง ต่างก็ได้ที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองกันอยู่ตลอดมานั้น มิใช่จะได้คนละส่วนเท่ากัน และเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์รวม ไม่ใช่เรื่องการครอบครองที่ของผู้อื่นโดยทางปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: เจตนาแบ่งทรัพย์สินตามเอกสารแสดงความประสงค์สมัครใจหย่ามีผลผูกพัน แม้ไม่มีการระบุในทะเบียนหย่า
ผู้ร้องขัดทรัพย์กับจำเลยผู้เป็นสามีจดทะเบียนหย่ากัน แม้ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันจะไม่ปรากฏอยู่ในทะเบียนการหย่าแต่ในหนังสือแสดงความประสงค์สมัครใจหย่ากันอันเป็นแบบพิมพ์ของทางราชการสำหรับให้คู่กรณีกรอกข้อความนั้นระบุไว้ว่า 'ในเรื่องทรัพย์สินบริคณห์ต่าง ๆ ได้จัดการแบ่งปันกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว'และได้ความว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายได้ที่ดินพิพาท ดังนี้ ย่อมถือว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วนับแต่วันจดทะเบียนหย่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยไม่มีอำนาจนำยึดที่พิพาทได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ข้อตกลงในหนังสือแสดงความประสงค์เป็นผลของการจดทะเบียนหย่า เจ้าหนี้บังคับคดีไม่ได้
ผู้ร้องขัดทรัพย์กับจำเลยผู้เป็นสามีจดทะเบียนหย่ากัน แม้ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันจะไม่ปรากฏอยู่ในทะเบียนการหย่าแต่ในหนังสือแสดงความประสงค์สมัครใจหย่ากันอันเป็นแบบพิมพ์ของทางราชการสำหรับให้คู่กรณีกรอกข้อความนั้นระบุไว้ว่า 'ในเรื่องทรัพย์สินบริคณห์ต่าง ๆ ได้จัดการแบ่งปันกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว'และได้ความว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายได้ที่ดินพิพาท ดังนี้ ย่อมถือว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วนับแต่วันจดทะเบียนหย่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยไม่มีอำนาจนำยึดที่พิพาทได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ในคดีฟ้องขอหย่าและแบ่งทรัพย์ระหว่างกัน แต่คู่ความตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลเฉพาะในเรื่องแบ่งทรัพย์. ดังนี้ คำพิพากษาตามสัญญายอมเฉพาะในข้อตกลงแบ่งทรัพย์โดยไม่มีการหย่าขาดระหว่างกันนี้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด. การแบ่งทรัพย์นี้เป็นสัญญาระหว่างสามีภริยาอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและการแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน ศาลสั่งแบ่งทรัพย์สินตามสัดส่วนการครอบครอง
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาท ศาลพิพากษาว่าโจทก์จำเลยและสามีได้ครอบครองที่พิพาทร่วมกันมา จึงไม่อาจพิพากษาขับไล่ได้ ให้ยกฟ้องโจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องคดีใหม่เรียกทรัพย์ส่วนแบ่งของตนตามส่วนที่จะพึงได้ คดีนั้นถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในนาพิพาทว่าเป็นของโจทก์ทั้งหมด และขอให้ขับไล่จำเลยกับบริวารอีก ดังนี้ ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่พิพาทบางส่วน ก็ควรพิพากษาแบ่งส่วนให้โจทก์จำเลยไปเสียทีเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) โดยไม่จำต้องให้ไปฟ้องใหม่กันอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-แบ่งทรัพย์สิน: ศาลสั่งแบ่งทรัพย์พิพาทแม้ฟ้องซ้ำ แต่มีส่วนได้ชัดเจน
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาท ศาลพิพากษาว่าโจทก์จำเลยและสามีได้ครอบครองที่พิพาทร่วมกันมา จึงไม่อาจพิพากษาขับไล่ได้ ให้ยกฟ้องโจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องคดีใหม่เรียกทรัพย์ส่วนแบ่งของตนตามส่วนที่จะพึงได้ คดีนั้นถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในนาพิพาทว่าเป็นของโจทก์ทั้งหมดและขอให้ขับไล่จำเลยกับบริวารอีก ดังนี้ ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่พิพาทบางส่วน ก็ควรพิพากษาแบ่งส่วนให้โจทก์จำเลยไปเสียทีเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) โดยไม่จำต้องให้ไปฟ้องใหม่กันอีก
of 25