พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3330/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกและการฟ้องแบ่งมรดกของทายาท
การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขอจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินพิพาทสองแปลงตามที่โจทก์ขอแบ่ง แสดงว่าที่ดินทั้งสองแปลงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ ผ. ซึ่งอยู่ระหว่างจัดการมรดกถึงแม้ว่าจำเลยจะครอบครองที่ดินดังกล่าวตั้งแต่ ผ.ตายแต่ผู้เดียวดังที่จำเลยให้การ ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกันและต่อมาจำเลยก็ได้เป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้นที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจะยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้ไม่ได้ โจทก์ซึ่งมีสิทธิรับมรดกแทนที่ของทายาทของ ผ. เจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นและมิได้ยกปัญหานี้เป็นข้ออุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้ฟังพยานโจทก์จำเลยก่อนนั้นไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นและมิได้ยกปัญหานี้เป็นข้ออุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้ฟังพยานโจทก์จำเลยก่อนนั้นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สินโดยเจตนา ผู้รับมรดกมีสิทธิในส่วนที่ครอบครองแยกต่างหาก
เจ้าของที่ดินมารดาจำเลยที่ 1,2 กู้เงิน เมื่อตายแล้วจำเลยที่ 2 กู้เงินโจทก์เพิ่ม และเจ้าหนี้เดิมทำเป็นสัญญาที่จำเลยที่ 2 กู้ขึ้นใหม่ ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ใช้หนี้โจทก์ โจทก์ยึดที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 1 ครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วไม่ได้ จำเลยที่ 1 ร้องขัดทรัพย์ได้ ไม่ใช่เจ้าของรวมที่จะต้องขอกันส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยสัญญา และสิทธิของเจ้าของรวมในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เมื่อโจทก์จำเลยตกลงแบ่งปันมรดกโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือว่ายินยอมรับมรดกร่วมกันโดยมิได้บรรยายส่วนไว้ จำเลยจะนำสืบว่าความจริงโจทก์จำเลยตกลงรับมรดกที่ดินเป็นส่วนสัดตามที่มารดาชี้เขตไว้หาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 94 ต้องฟังว่าโจทก์ และจำเลยทุกคนซึ่งเป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 จำเลยทำนาเสียทั้งหมด ไม่ยอมให้โจทก์ทำตามส่วนของโจทก์ โจทก์เรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกทายาทหลายคน แม้มีทายาทบางส่วนไม่ร้องสอด ไม่ทำให้สิทธิส่วนแบ่งของทายาทอื่นเปลี่ยนแปลง
โจทก์มีพี่น้องร่วมบิดามารดาซึ่งเป็นทายาทลำดับผู้สืบสันดานเช่นเดียวกันรวม 7 คน แม้ ฮ. ทายาทคนหนึ่งจะถึงแก่กรรมแล้ว แต่ยังมีผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ดังนั้นต้องแบ่งมรดกเป็น 7 ส่วนการที่ทายาทอีก 5 คน มิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ไม่เป็นเหตุให้โจทก์และจำเลยมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมดเพียง 2 คน คนละครึ่งโจทก์คงได้รับส่วนแบ่งเพียง 1 ใน 7 ตามสิทธิของตนและกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นที่มิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1749
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2853/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม: ถือตามอาณาเขตที่ระบุ แม้เนื้อที่รวมในพินัยกรรมเกินจำนวนที่ดินจริง
เมื่อพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองระบุชัดแจ้งว่าผู้ใดได้ที่ดินที่ตรงไหน อย่างไร การแบ่งที่ดินก็ย่อมต้องแบ่งไปตามที่ระบุในพินัยกรรม การที่จำนวนเนื้อที่ดินตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมมีมากกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แท้จริงฝ่ายที่ได้รับส่วนแบ่งเป็นจำนวนเนื้อที่ย่อมได้รับลดน้อยลงไป จะถือเอาตามจำนวนที่ระบุไว้ในพินัยกรรมหาได้ไม่ฝ่ายที่ได้รับส่วนแบ่งโดยระบุอาณาเขตไม่ระบุเนื้อที่ก็ย่อมต้องได้ตามอาณาเขตที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะนำพยานบุคคลมาสืบพิสูจน์เจตนาผู้ทำพินัยกรรมให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในพินัยกรรมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินร่วมกันและการแบ่งมรดก ไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์ แม้ครอบครองเกิน 10 ปี
โจทก์และจำเลยทั้งเก้าเป็นญาติพี่น้องกัน มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของร่วมกันโดยได้รับมรดกมา แล้วต่างก็ครอบครองทำกินกันมาเกิน 10 ปี เมื่อมีการขายที่ดินบางส่วน ให้แก่กระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์ของกรมชลประทาน โจทก์จำเลยทุกคนก็ได้รับเงินค่าขายที่ดิน เห็นได้ว่า โจทก์จำเลยต่างครอบครองที่พิพาทร่วมกัน ไม่ใช่เป็นการครอบครองโดยปรปักษ์ แม้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามส่วนที่ครอบครอง ต้องแบ่งที่ดินกันตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกมา
จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้ง สิทธิของโจทก์ในฐานะเป็นผู้รับมรดกที่ดินพิพาทเมื่อต่างครอบครองที่พิพาทร่วมกันเช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้ง สิทธิของโจทก์ในฐานะเป็นผู้รับมรดกที่ดินพิพาทเมื่อต่างครอบครองที่พิพาทร่วมกันเช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงใหม่แทนการแบ่งมรดก: การสละสิทธิเรียกร้องเดิมเมื่อรับชำระหนี้เป็นอย่างอื่น
ที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ทั้งสองคนละประมาณ7 ไร่เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ เมื่อโจทก์ไปขอแบ่งที่พิพาท โจทก์จำเลยได้ตกลงกันโดยจำเลยให้กระบือ 1 ตัว กับเงิน4,000 บาทแก่โจทก์แทน แต่จำเลยยังไม่มีเงินได้ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ โจทก์ทั้งสองยอมรับเอาเงินและกระบือแทนการขอแบ่งที่ดิน ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้สละสิทธิเรียกร้องขอแบ่งที่พิพาทแล้วโดยตกลงรับชำระหนี้เป็นเงินและกระบือแทน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามโจทก์จะกลับมาฟ้องเรียกร้องขอแบ่งที่พิพาทให้ผิดไปจากข้อตกลงนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องคดีมรดก: โจทก์ต้องขอแบ่งมรดกในฐานะทายาทชัดเจน หากมิได้ขอ ศาลไม่สามารถพิพากษาให้แบ่งมรดกได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดของจ.ให้กับโจทก์ โดยอ้างว่าทรัพย์สินทั้งนั้นเป็นสินเดิมของ จ.ตกเป็นมรดก โจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของ จ.ผู้สาบสูญตามคำสั่งศาล จะได้จัดแบ่งให้กับทายาทของ จ.ต่อไป แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นบุตรของ จ.ซึ่งมีฐานะเป็นทายาทของ จ.ด้วย และทรัพย์สินของ จ.ตกเป็นมรดกแต่โจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอให้แบ่งมรดกให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นทายาท และมิได้มีคำขอบังคับท้ายฟ้องเช่นนั้น ดังนั้น ศาลจะพิพากษาให้แบ่งทรัพย์สินของ จ.เป็นกรณีมรดกไม่ได้ เป็นการเกินคำขอ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม (2) เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเป็นของตนทั้งหมด ซึ่งศาลอาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่เพียงบางส่วนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1360/2517 ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712-713/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกเพื่อชำระหนี้และการแบ่งมรดกที่สมบูรณ์ ทายาทมีสิทธิเรียกร้องได้หรือไม่
โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินมือเปล่าตามพินัยกรรมตามส่วนของตน แต่ได้แสดงเจตนายกที่ดินมรดกส่วนของตนตีใช้หนี้ ส.แล้ว โจทก์ที่ 1 ย่อมหมดสิทธิในที่ดินมรดก ส.ได้สิทธิครอบครอง ถือว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับมรดกตามพินัยกรรมแล้ว และกรณีไม่ใช่เรื่องสละมรดก จึงไม่ต้องทำตามแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจมาฟ้องเรียกเอาที่ดินมรดกอีก
การแบ่งที่ดินมรดกให้แก่ทายาทได้แบ่งในคราวเดียวกัน โจทก์ที่ 2 ได้รับเอาที่ดินมรดกมา 3 งานเศษ ยังขาดอยู่ 80 ตารางวาเศษ ทั้งๆ ที่รู้ข้อความในพินัยกรรมดี แต่ก็ไม่ทักท้วง และได้ขายส่วนของตนที่ได้รับมาทั้งหมดให้แก่ ส.ในวันเดียวกันนั้น ทายาททุกคนพอใจในการแบ่งมรดกและได้ถือเอาที่ดินมรดกส่วนแบ่งที่ได้รับมาเป็นของตนเแล้ว จึงถือว่าผู้จัดการมรดกได้จัดแบ่งที่ดินมรดกเสร็จโดยสมบูรณ์ โจทก์ที่ 2 พอใจในการแบ่งมรดกแล้ว จึงไม่มีอำนาจมาฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก มิใช่เรื่องการสละมรดกเช่นเดียวกัน
การแบ่งที่ดินมรดกให้แก่ทายาทได้แบ่งในคราวเดียวกัน โจทก์ที่ 2 ได้รับเอาที่ดินมรดกมา 3 งานเศษ ยังขาดอยู่ 80 ตารางวาเศษ ทั้งๆ ที่รู้ข้อความในพินัยกรรมดี แต่ก็ไม่ทักท้วง และได้ขายส่วนของตนที่ได้รับมาทั้งหมดให้แก่ ส.ในวันเดียวกันนั้น ทายาททุกคนพอใจในการแบ่งมรดกและได้ถือเอาที่ดินมรดกส่วนแบ่งที่ได้รับมาเป็นของตนเแล้ว จึงถือว่าผู้จัดการมรดกได้จัดแบ่งที่ดินมรดกเสร็จโดยสมบูรณ์ โจทก์ที่ 2 พอใจในการแบ่งมรดกแล้ว จึงไม่มีอำนาจมาฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก มิใช่เรื่องการสละมรดกเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาจะขายที่ดินมรดกแล้ว ย่อมไม่สามารถฟ้องขอแบ่งมรดกได้อีก
โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องกัน ต่างเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินพิพาท แต่โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินมรดกส่วนของตนให้จำเลยจนได้มีการโอนโฉนดเป็นชื่อจำเลยไปแล้ว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกนั้นอีกไม่ได้