พบผลลัพธ์ทั้งหมด 236 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ในคดีฉ้อโกง: ศาลไม่อาจบังคับจำเลยคืนทรัพย์ให้โจทก์ร่วมได้หากทรัพย์ตกอยู่ในครอบครองของตัวการ
ผู้ว่าคดีเป็นโจทก์ และผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วม ฟ้องหาว่าจำเลยฉ้อโกงรถยนต์ขอให้ลงโทษและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายมาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่ารถยนต์ที่พิพาทตกไปอยู่ในความครอบครองของภรรยาเจ้าของรถยนต์ที่พิพาทแล้ว ทั้งรถยนต์ที่พิพาทก็ยังไม่ได้นำเข้ามาเป็นของกลางในคดีนี้ด้วย ตามรูปคดียังไม่เปิดช่องให้ศาลบังคับจำเลยคืนรถยนต์รายนี้ให้โจทก์ร่วมได้ ทั้งจะบังคับให้จำเลยใช้ราคารถยนต์ก็ไม่ได้ เพราะรถยนต์ยังมีตัวอยู่ ดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์ร่วมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายเพื่อร่วมเป็นโจทก์กับอัยการ ไม่ตัดสิทธิอัยการในการฟ้องคดีใหม่
การถอนฟ้องของผู้เสียหายในคดีความผิดต่อส่วนตัวที่จะเป็นการตัดสิทธิพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีใหม่นั้น ต้องเป็นการถอนฟ้องเด็ดขาด
ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัว เพื่อไปเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในสำนวนคดีเรื่องเดียวกัน หาใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ไม่ จึงไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีใหม่
ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัว เพื่อไปเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในสำนวนคดีเรื่องเดียวกัน หาใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ไม่ จึงไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาเพื่อเป็นโจทก์ร่วม ไม่ตัดสิทธิอัยการฟ้องคดีซ้ำ
ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแล้วได้ถอนฟ้องเสีย การถอนฟ้องนี้จะตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ต่อเมื่อเป็นการถอนฟ้องไปเป็นการเด็ดขาดถ้าถอนฟ้องเพื่อจะเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยในคดีเรื่องเดียวกันนั้น ไม่เป็นการถอนฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36(3) พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีนั้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ, โจทก์ร่วม, พยานหลักฐาน: ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นการฟ้องซ้ำ การเข้าร่วมดำเนินคดี และการใช้พยานหลักฐานของโจทก์ร่วม
เมื่อประเด็นข้อกล่าวหาในคดีนี้เป็นคนละเหตุกับประเด็นข้อกล่าวหาจำเลยในคดีก่อน ฟ้องคดีนี้ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องในคดีก่อน
ผู้เสียหายที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีแล้วแม้ภายหลังศาลอุทธรณ์จะยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมเสียเพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำแก่ผู้เสียหายที่ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้นด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ร่วมที่ได้กระทำระหว่างเป็นคู่ความในคดีเสียเปล่าไปไม่ พยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมได้อ้างอิงไว้ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานสำหรับโจทก์และโจทก์ร่วมคนอื่นเพื่อศาลนำมาประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดีได้
ผู้เสียหายที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีแล้วแม้ภายหลังศาลอุทธรณ์จะยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมเสียเพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำแก่ผู้เสียหายที่ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้นด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ร่วมที่ได้กระทำระหว่างเป็นคู่ความในคดีเสียเปล่าไปไม่ พยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมได้อ้างอิงไว้ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานสำหรับโจทก์และโจทก์ร่วมคนอื่นเพื่อศาลนำมาประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ, โจทก์ร่วม, พยานหลักฐาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นฟ้องซ้ำ, สิทธิโจทก์ร่วมที่ถูกยกคำร้อง, และการใช้พยานหลักฐาน
เมื่อประเด็นข้อกล่าวหาในคดีนี้เป็นคนละเหตุกับประเด็นข้อกล่าวหาจำเลยในคดีก่อน ฟ้องคดีนี้ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องในคดีก่อน
ผู้เสียหายที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีแล้วแม้ภายหลังศาลอุทธรณ์จะยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมเสียเพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำแก่ผู้เสียหายที่ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้นด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ร่วมที่ได้กระทำระหว่างเป็นคู่ความในคดีเสียเปล่าไปไม่ พยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมได้อ้างอิงไว้ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานสำหรับโจทก์และโจทก์ร่วมคนอื่นเพื่อศาลนำมาประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดีได้
ผู้เสียหายที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีแล้วแม้ภายหลังศาลอุทธรณ์จะยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมเสียเพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำแก่ผู้เสียหายที่ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้นด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ร่วมที่ได้กระทำระหว่างเป็นคู่ความในคดีเสียเปล่าไปไม่ พยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมได้อ้างอิงไว้ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานสำหรับโจทก์และโจทก์ร่วมคนอื่นเพื่อศาลนำมาประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วม (ผู้เสียหาย) ในการระบุ/สืบพยานเพิ่มเติมในคดีอาญา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (14) คำว่า"โจทก์ หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน" เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ก็ย่อมเป็น "คู่ความ" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 (15) จึงชอบที่จะระบุพยานหรือสืบพยานเพิ่มเติมได้โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และ 228
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วม ผู้เสียหายระบุพยานเพิ่มเติมได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) คำว่า'โจทก์หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน' เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าวก็ย่อมเป็น 'คู่ความ' ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2(15) จึงชอบที่จะระบุพยานหรือสืบพยานเพิ่มเติมได้โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และ 228
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมย่อมเป็นไปตามคำฟ้องของผู้ว่าคดี หากคำฟ้องของผู้ว่าคดีต้องยกฟ้อง อำนาจฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย
การที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้ว่าคดีโจทก์ ตามอำนาจที่ให้ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 นั้น คำร้องของผู้เสียหายไม่ใช่คำฟ้องที่ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องคดีหนึ่งอีกต่างหากจากฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์เมื่ออำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์สำหรับคดีนั้นไม่มีต้องยกฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์แล้ว ย่อมเป็นผลตามกฎหมายที่ต้องยกฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมไปด้วยเพราะไม่มีคำฟ้องเหลืออยู่ที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้(อ้างฎีกาที่ 1274/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีและโจทก์ร่วม: เมื่อฟ้องของผู้ว่าคดีต้องห้าม โจทก์ร่วมก็ย่อมเสียอำนาจฟ้องไปด้วย
การที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้ว่าคดีโจทก์ ตามอำนาจที่ให้ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 นั้น คำร้องของผู้เสียหายไม่ใช่คำฟ้องที่ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องคดีหนึ่งอีกต่างหากจากฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์ เมื่ออำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์สำหรับคดีนั้นไม่มีต้องยกฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์แล้ว ย่อมเป็นผลตามกฎหมายที่ต้องยกฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมไปด้วยเพราะไม่มีคำฟ้องเหลืออยู่ที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 1274/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เสียหายในคดีเช็ค: การระบุตัวผู้ทรงเช็คที่แท้จริงและการมีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วม
จำเลยยืมเงินโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมเอาเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการให้จำเลยจึงออกเช็คให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไว้เพื่อชำระหนี้ โจทก์ร่วมได้นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินแต่นำเช็คเข้าบัญชีไม่ได้ ดังนี้ ถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่ได้สลักหลังเช็คให้โจทก์ร่วมและยังเป็นผู้ทรงเช็คอยู่ ไม่ใช่โจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงห้างหุ้นส่วนจำกัด นั้นจึงเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีกับจำเลยและเมื่อโจทก์ร่วมในฐานะส่วนตัวไม่ใช่ผู้ทรงเช็ค จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิจะเข้าเป็นโจทก์ร่วม