พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกโฉนดที่ดินทับทางสาธารณะ ถือเป็นการออกโฉนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรมที่ดินมีอำนาจเพิกถอนได้
ทางกระบือสาธารณะพิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของ ส. แต่อยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ซึ่งออกทับทางกระบือสาธารณะ เป็นการออกโฉนดโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ทางกระบือสาธารณะนั้นแม้จะสิ้นสภาพไปเพราะการไม่มีผู้ใด ใช้ประโยชน์ก็ยังมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ เว้นแต่ จะได้โอนไปโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 อธิบดีกรมที่ดิน จำเลยจึงมีอำนาจที่จะเพิกถอน แก้ไขหรือออกใบแทนโฉนดที่ดินของโจทก์ได้ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดโฉนดที่ดินหลังหย่าและการไม่มีทางเสียเปรียบของเจ้าหนี้
จำเลยกับ พ. จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันและตกลงยกที่ดินพิพาทให้บุตรทั้งสอง ต่อมาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ และนำโฉนดที่พิพาทดังกล่าวไปให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันดังนี้ ขณะจำเลยและ พ. ยกทรัพย์พิพาทให้บุตรทั้งสองโจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยโจทก์จึงไม่มีทางเสียเปรียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตตามโฉนดที่ดิน และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษาเรื่องค่าเสียหาย
การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทโดยถือหลักเขตตามโฉนดที่ดินที่เจ้าพนักงานออกให้ โดยไม่ทราบว่าหลักเขตที่ปักนั้นคลาดเคลื่อน ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยไม่ต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1312
การเรียกร้องค่าเสียหายเป็นสิทธิหน้าที่หรือความรับผิดของบุคคลอันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ส่วนวิธีการที่จะยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามกฎหมายจะต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีบัญญัติ กล่าวคือ ถ้าเป็นคดีแพ่งก็ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์ มิได้มีคำขอเกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหาย ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่ได้ เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
การเรียกร้องค่าเสียหายเป็นสิทธิหน้าที่หรือความรับผิดของบุคคลอันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ส่วนวิธีการที่จะยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามกฎหมายจะต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีบัญญัติ กล่าวคือ ถ้าเป็นคดีแพ่งก็ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์ มิได้มีคำขอเกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหาย ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่ได้ เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ไม่จำเป็นต้องทราบสถานะโฉนดที่ดิน ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์เมื่อครอบครองโดยสงบเปิดเผยเกิน 10 ปี
การครอบครองปกปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ครอบครองต้องทราบมาก่อนว่าที่ดินนั้นเป็นที่ดินมีโฉนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินเฉพาะเมื่อมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์ต่อทรัพย์สินนั้นเท่านั้น แม้เจ้าของเดิมมีหนี้อื่นก็ไม่อาจใช้สิทธิยึดหน่วงได้
ผู้จำนองชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญาจำนองแล้วผู้รับจำนองจะยึดโฉนดไว้ไม่จดทะเบียนรับไถ่และคืนโฉนดแก่ผู้จำนองไม่ได้การที่ผู้รับจำนองเป็นเจ้าหนี้เจ้าของร่วมคนอื่นในหนี้รายอื่น ไม่ทำให้มีสิทธิ ยึดหน่วงโฉนดไว้ได้ผู้จำนองฟ้องบังคับให้จดทะเบียนไถ่จำนองและ เรียกโฉนดคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขอคืนโฉนดที่ดินไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ แม้มีการตีราคา เพราะผลของคำพิพากษาไม่เปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสิทธิ์แสดงหลักฐานกรรมสิทธิ์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิ์จะยึดถือไว้เท่านั้น มิใช่พิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ของที่ดิน ผลของคดีไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้คู่ความจะติราคาโฉนดที่พิพาทไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องและการฟ้องเพิกถอนโฉนดเกินกำหนด 1 ปี สิทธิครอบครองเดิมไม่ได้รับการปกป้อง
เดิมที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมี น.ส.3 ของโจทก์ ต่อมา พ.ศ.2511 ย. ได้นำรังวัดเพื่อออกโฉนดผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน ย. โฉนดออกให้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2512 และต่อมาวันที่ 20 กรกฎาคม 2514 ย. ได้ขายที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลย ดังนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ย. และจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อเนื่องกันจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานดังกล่าว ส่วนที่ดินโจทก์เป็นที่ น.ส.3. ผู้ยึดถือมีเพียงสิทธิครอบครองตลอดเวลาที่ยังคงยึดถืออยู่ เมื่อถูกรบกวนหรือถูกแย่งการครอบครองจะต้องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องหรือเรียกคืนการครอบครองเสียภายใน 1 ปี ตามมาตรา 1374,1375 เมื่อปรากฏว่าโจทก์เองไม่เคยเข้าไปครอบครองที่พิพาทจริงจัง เพิ่งรู้ว่ามีการบุกรุกออกโฉนดทับที่ เมื่อโจทก์ไปขอรังวัดออกโฉนดที่ดินของตนเมื่อต้นปี พ.ศ.2513 และโจทก์จะขอเจรจากับ ย. เจ้าของที่ในขณะนั้นก็ถูกปฏิเสธ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่พิพาทแสดงว่าโจทก์รู้ว่าถูกแย่งการครอบครองตั้งแต่ขณะนั้น โจทก์มิได้ดำเนินการอย่างไร คงปล่อยปละละเลยเพิ่งมาฟ้องคดีขอให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2517 เกิน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งสิทธิครอบครองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่พิพาทจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคัดค้านการเพิกถอนโฉนดที่ดินยังไม่ถึงขั้นโต้แย้งสิทธิโจทก์ จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ ต่อมามีผู้คัดค้านว่าที่ดินที่ออกโฉนดให้โจทก์นั้นเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกัน กรมที่ดินจึงได้เรียกให้โจกท์ส่งโฉนดที่ดินดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพื่อส่งให้แก่จำเลย และให้โอกาสโจทก์ยื่นคำคัดค้านภายใน 30 วัน โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า ที่ดินดังกล่าวมารดาโจทก์ครอบครองมาและยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์ แต่โจทก์ยังไม่ได้ส่งโฉนดให้จำเลยและจำเลยก็ยังมิได้เพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ ดังนี้ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาสั่งให้จำเลยระงับการเพิกถอนโฉนดของโจทก์ไม่ได้ เพราะยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาราความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภริยาในสินสมรสก่อนประมวลกฎหมายแพ่งฯ: การลงชื่อในโฉนดที่ดิน
สามีภริยาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภริยามีสิทธิร้องขอให้ลงชื่อในโฉนดที่ดินสินสมรสร่วมกับสามีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอใบแทนโฉนดที่ดิน: ต้องรอจนบังคับคดีกับลูกหนี้แล้วเท่านั้น จึงจะถือว่าโฉนดสูญหาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้ให้ บ.ยืมโฉนดที่ดินไป ต่อมา บ. หลบหน้าไม่คืนโฉนดให้ ผู้ร้องจำเป็นต้องใช้โฉนดที่ดินในการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม จึงได้ยื่นฟ้อง บ.ศาลพิพากษาให้ บ. คืนโฉนดที่ดินและออกบังคับให้ บ. ส่งโฉนดคืน ผู้ร้องได้ยื่นคำขอให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้ว แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่า การบังคับทางศาลยังไม่ปรากฏเป็นประการใดให้ผู้ร้องดำเนินการทางศาลเสียก่อน ผู้ร้องจึงขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่า โฉนดที่ดินของผู้ร้องเป็นอันตราย ชำรุด เสียหาย เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินให้ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 63 ดังนี้ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาลโดยดำเนินคดีอย่างคดีที่ไม่มีข้อพิพาทได้ เพราะในกรณีที่โฉนดที่ดินสูญหายนั้น มาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินให้เจ้าของที่ดินไปขอรับใบแทนโฉนดจากเจ้าพนักงานที่ดิน มิใช้มาร้องขอต่อศาล และในพฤติการณ์บอกกล่าวจะถือว่าโฉนดสูญหายได้ก็ต่อเมื่อปรากฏแจ้งชัดในคดีที่ผู้ร้องฟ้อง บ.ว่า ไม่มีช่องทางที่จะบังคับคดีเอากับ บ. ด้วยประการใด ๆ แล้วเท่านั้น ต่อเมื่อปรากฏว่าโฉนดสูญหายจริง และเจ้าพนักงานที่ดินไม่ยินยอมออกใบแทนโฉนดที่ดินให้ผู้ร้องตามมาตรา 63 จึงจะถือว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งในอันที่จะดำเนินคดีกับเจ้าพนักงานที่ดินเป็นอีกคดีหนึ่งได้