พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องจากสัญญากู้ และการรับรองลายมือชื่อในสัญญากู้
พฤตติการณ์ที่ฟังว่าเป็นการยกเงินให้โดยเสน่หา ฎีกาอุทธรณ์พิมพ์ลายนิ้วมือแลเซ็นชื่อไว้ด้วยแล้วไม่ต้องมีพะยานเซ็นชื่อรับรอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้: สัญญาใหม่ระวางเจ้าหนี้และลูกหนี้ใหม่
แปลงหนี้ใหม่ โอนสิทธิเรียกร้องทำสัญญากันใหม่โดยบุคคลที่ 3 เข้าถือแลให้ใช้ข้อความในสัญญาเดิมถือว่าเป็นสัญญาใหม่ระวางเจ้าหนี้กับถูกหนี้คนใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการฟ้องซ้ำ: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหากโอนสิทธิเรียกร้องไปแล้ว
โอนหนี้ สิทธิเรียกร้อง เจ้าหนี้โอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้อื่นไปแล้ว ภายหลังจะนำเอกสารเดิมมาฟ้องอีกโดยไม่ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นกลับมาดังนี้ไม่ได้
คนบังคับอังกฤษเป็นคู่ความ
คนบังคับอังกฤษเป็นคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9853/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีแพ่งโดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ผู้รับโอนมีสิทธิบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนตามคำพิพากษา
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดบัญญัติเกี่ยวกับสถานะของสถาบันการเงินที่เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากสถาบันการเงินประเภทอื่น ดังนี้ ทั้งโจทก์ บริษัท บ. และผู้ร้องจึงต่างมีสถานะเป็นสถาบันการเงินซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ทั้งสิ้น
การที่บริษัท บ. รับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรวมทั้งสิทธิเรียกร้องในคดีนี้มาจากโจทก์แล้วนำไปขายแก่ผู้ร้องต่อจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสินทรัพย์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาจากสถาบันการเงินอันถือว่าเป็นการบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของบริษัท บ. กับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องก็ต้องนำสินทรัพย์ของโจทก์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาดังกล่าวมาบริหารตามบทบัญญัติของ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ต่อไป กรณีมิใช่เป็นการโอนสินทรัพย์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วยกันเองหรือโอนไปเพื่อให้ผู้ร้องบริหารสินทรัพย์แทนอันขัดต่อเจตนารมณ์ในการตรา พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 การโอนสินทรัพย์ระหว่างบริษัท บ. กับผู้ร้องจึงมีผลสมบูรณ์
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องจึงเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องคดีนี้โดยชอบ แม้ผู้ร้องจะซื้อมาในราคาต่ำกว่ามูลหนี้เดิม แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าของสิทธิเต็มจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาเต็มจำนวนที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยยังคงค้างชำระหนี้กับโจทก์อยู่เท่าใดก็ต้องมีการชำระหนี้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบเพียงนั้น การซื้อสินทรัพย์ซึ่งเป็นสินเชื่อธุรกิจของโจทก์ไม่ได้เป็นการค้ากำไรเกินควร
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 และ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวต่างบัญญัติขึ้นเป็นกฎหมายเฉพาะยกเว้นหลักกฎหมายเกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้องทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากไม่มีบทบัญญัติในพระราชกำหนดทั้งสองที่จะยกมาปรับแก่คดี ก็ต้องบังคับไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่นำพระราชกำหนดฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้บังคับในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งของพระราชกำหนดอีกฉบับหนึ่ง
เมื่อสินทรัพย์ที่โอนกันนี้เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งโจทก์นำมาฟ้องคดีนี้และศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว โจทก์และบริษัท บ. ต่างมีสถานะเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ผู้ร้องเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวต่อมาจากบริษัท บ. กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ที่บัญญัติให้ผู้ร้องมีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์คดีนี้ได้ทุกประการ
การที่บริษัท บ. รับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรวมทั้งสิทธิเรียกร้องในคดีนี้มาจากโจทก์แล้วนำไปขายแก่ผู้ร้องต่อจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสินทรัพย์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาจากสถาบันการเงินอันถือว่าเป็นการบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของบริษัท บ. กับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องก็ต้องนำสินทรัพย์ของโจทก์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาดังกล่าวมาบริหารตามบทบัญญัติของ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ต่อไป กรณีมิใช่เป็นการโอนสินทรัพย์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วยกันเองหรือโอนไปเพื่อให้ผู้ร้องบริหารสินทรัพย์แทนอันขัดต่อเจตนารมณ์ในการตรา พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 การโอนสินทรัพย์ระหว่างบริษัท บ. กับผู้ร้องจึงมีผลสมบูรณ์
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องจึงเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องคดีนี้โดยชอบ แม้ผู้ร้องจะซื้อมาในราคาต่ำกว่ามูลหนี้เดิม แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าของสิทธิเต็มจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาเต็มจำนวนที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยยังคงค้างชำระหนี้กับโจทก์อยู่เท่าใดก็ต้องมีการชำระหนี้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบเพียงนั้น การซื้อสินทรัพย์ซึ่งเป็นสินเชื่อธุรกิจของโจทก์ไม่ได้เป็นการค้ากำไรเกินควร
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 และ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวต่างบัญญัติขึ้นเป็นกฎหมายเฉพาะยกเว้นหลักกฎหมายเกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้องทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากไม่มีบทบัญญัติในพระราชกำหนดทั้งสองที่จะยกมาปรับแก่คดี ก็ต้องบังคับไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่นำพระราชกำหนดฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้บังคับในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งของพระราชกำหนดอีกฉบับหนึ่ง
เมื่อสินทรัพย์ที่โอนกันนี้เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งโจทก์นำมาฟ้องคดีนี้และศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว โจทก์และบริษัท บ. ต่างมีสถานะเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ผู้ร้องเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวต่อมาจากบริษัท บ. กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ที่บัญญัติให้ผู้ร้องมีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์คดีนี้ได้ทุกประการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5407/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและผลผูกพันของผู้ค้ำประกัน/จำนองหลังปรับโครงสร้างหนี้
ก่อนการโอนสิทธิเรียกร้อง โจทก์และจำเลยที่ 1 มีการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และไม่ปรากฏว่าเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมิใช่สินทรัพย์ที่โอนกันได้ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด ย่อมโอนสินทรัพย์ดังกล่าวคืนแก่โจทก์ได้ หาเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 8 ที่ 11 และที่ 12 ลงลายมือชื่อในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองหนี้เดิม มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวดังเช่นจำเลยอื่นที่ทำสัญญาค้ำประกันใหม่ เช่นนี้ จำเลยที่ 8 ที่ 11 และที่ 12 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มิใช่การแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 8 ที่ 11 และที่ 12 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่ทำไว้ก่อนที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
จำเลยที่ 8 ที่ 11 และที่ 12 ลงลายมือชื่อในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองหนี้เดิม มิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวดังเช่นจำเลยอื่นที่ทำสัญญาค้ำประกันใหม่ เช่นนี้ จำเลยที่ 8 ที่ 11 และที่ 12 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มิใช่การแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 8 ที่ 11 และที่ 12 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่ทำไว้ก่อนที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษา: สิทธิของบุคคลภายนอก และนิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าจะพึงโอนกันได้ เว้นไว้แต่สภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้" เมื่อสิทธิเรียกร้องในหนี้ที่ตกลงโอนให้แก่กันดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ ง.509/2545 ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งต้องร่วมกับลูกหนี้ที่ 1 และพวกชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวให้แก่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โจทก์เดิมและเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จึงมิใช่คู่ความหรือบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 และไม่อยู่ในฐานะที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ที่ 2 และเจ้าหนี้ซึ่งมิใช่คู่ความหรือบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดีเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแทนโจทก์เดิมได้ ดังเช่นที่
พระราชกำหนดปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 ให้สิทธิแก่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์หรือบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เดิมได้ ดังนั้น โดยสภาพแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่เปิดช่องให้โอนแก่ลูกหนี้ที่ 2 และเจ้าหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก นอกจากนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ที่ 1 และลูกหนี้ที่ 2 ในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวก็มีที่มาจากการที่ลูกหนี้ที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโจทก์เดิม โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม การที่ลูกหนี้ที่ 2 ชำระเงินให้แก่ธนาคาร ท. จำกัด (มหาชน) ผู้เข้าสวมสิทธิแทนบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโจทก์เดิมในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนการโอนสิทธิเรียกร้องเป็นเงิน 3,000,000 บาท แล้วธนาคาร ท. จำกัด (มหาชน) ตกลงโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวให้แก่ลูกหนี้ที่ 2 โดยให้ลูกหนี้ที่ 2 เป็นผู้ทรงสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 1 ผู้ค้ำประกันรายอื่น และผู้จำนำ จำนอง ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว ย่อมมีผลทำให้สิทธิและความรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกันคือ ลูกหนี้ที่ 2 และทำให้หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเป็นอันระงับสิ้นไปสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 วรรคสอง, 353 ซึ่งมีผลให้ลูกหนี้ที่ 2 ไล่เบี้ยเงินจำนวนเฉพาะที่ได้ชำระหนี้ไปตามคำพิพากษาดังกล่าวคืนจากลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 เท่านั้น การที่ลูกหนี้ที่ 2 และธนาคาร ท. จำกัด (มหาชน) ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว โดยตกลงให้ลูกหนี้ที่ 2 เป็นผู้ทรงสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 1 ผู้ค้ำประกันรายอื่นและผู้จำนำ จำนอง ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเต็มจำนวนเป็นเงินรวม 71,728,342.42 บาท แทนแต่เพียงผู้เดียว จึงเป็นการทำนิติกรรมที่มีลักษณะเป็นการซื้อขายความ มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ด้วยเหตุดังที่กล่าวมาแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่อยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวได้ตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ได้
พระราชกำหนดปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 ให้สิทธิแก่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์หรือบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เดิมได้ ดังนั้น โดยสภาพแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่เปิดช่องให้โอนแก่ลูกหนี้ที่ 2 และเจ้าหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก นอกจากนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ที่ 1 และลูกหนี้ที่ 2 ในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวก็มีที่มาจากการที่ลูกหนี้ที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโจทก์เดิม โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม การที่ลูกหนี้ที่ 2 ชำระเงินให้แก่ธนาคาร ท. จำกัด (มหาชน) ผู้เข้าสวมสิทธิแทนบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโจทก์เดิมในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนการโอนสิทธิเรียกร้องเป็นเงิน 3,000,000 บาท แล้วธนาคาร ท. จำกัด (มหาชน) ตกลงโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวให้แก่ลูกหนี้ที่ 2 โดยให้ลูกหนี้ที่ 2 เป็นผู้ทรงสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 1 ผู้ค้ำประกันรายอื่น และผู้จำนำ จำนอง ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว ย่อมมีผลทำให้สิทธิและความรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกันคือ ลูกหนี้ที่ 2 และทำให้หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเป็นอันระงับสิ้นไปสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 วรรคสอง, 353 ซึ่งมีผลให้ลูกหนี้ที่ 2 ไล่เบี้ยเงินจำนวนเฉพาะที่ได้ชำระหนี้ไปตามคำพิพากษาดังกล่าวคืนจากลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 เท่านั้น การที่ลูกหนี้ที่ 2 และธนาคาร ท. จำกัด (มหาชน) ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว โดยตกลงให้ลูกหนี้ที่ 2 เป็นผู้ทรงสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 1 ผู้ค้ำประกันรายอื่นและผู้จำนำ จำนอง ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเต็มจำนวนเป็นเงินรวม 71,728,342.42 บาท แทนแต่เพียงผู้เดียว จึงเป็นการทำนิติกรรมที่มีลักษณะเป็นการซื้อขายความ มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ด้วยเหตุดังที่กล่าวมาแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่อยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวได้ตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4375/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีฟื้นฟูกิจการ: ความชอบด้วยกฎหมายและการบังคับชำระหนี้
ในการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการนั้น เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้ทำแผนจะนำหนี้ดังกล่าวไปจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้ต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 (3) (ข) และมาตรา 90/42 ทวิ และกำหนดการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มต่าง ๆ ไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ย่อมเป็นไปตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนทั้งแผนฟื้นฟูกิจการนั้นก็เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ในเรื่องเกี่ยวกับหนี้สินและวิธีการในการจัดกิจการของลูกหนี้ต่อไป นอกจากนี้รายการในแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 (6) ก็ให้กำหนดให้ในแผนมีรายการคือ วิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการโอนสิทธิเรียกร้อง เช่นนี้สิทธิเรียกร้องในการที่จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการโดยสภาพแล้วย่อมเป็นสิทธิเรียกร้องที่สามารถโอนกันได้ดั่งเช่นสิทธิเรียกร้องอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็เป็นวิธีการในการดำเนินการของสถาบันการเงินเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องสิ้นเปลืองในการบริหารจัดการหนี้เสียและเป็นวิธีการที่จะนำรายได้มาใช้ในการบริหารธุรกิจต่อไป เมื่อปรากฏว่าในการโอนสิทธิเรียกร้องของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้โอนสิทธิเรียกร้องตามแผนให้แก่ธนาคารสแตนดาร์ด แบงค์ เอเชีย จำกัด และมีการกำหนดรายละเอียดดังกล่าวไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นเมื่อปรากฏว่าธนาคารสแตนดาร์ด แบงค์ เอเชีย จำกัด ได้โอนสิทธิเรียกร้องมายังธนาคารสแตนดาร์ด พีเอลซี จำกัด และธนาคารสแตนดาร์ด พีเอลซี จำกัด ได้โอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวพร้อมหลักประกันมายังโจทก์และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทราบแล้ว โจทก์ในฐานะผู้รับโอนจึงรับมาซึ่งบรรดาสิทธิทั้งหลายที่เจ้าหนี้เดิมเคยมีอยู่และสามารถใช้ยันจำเลยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่ค้างอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9722/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเรียกร้องเป็นของสถาบันการเงินและสามารถโอนได้ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทเงินทุน บ. เด็ดขาดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2545 แต่ก่อนศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทเงินทุน บ. เด็ดขาด ระหว่างพิจารณาคดีหมายเลขแดงที่ ง.456/2545 ของศาลแพ่ง บริษัทเงินทุน บ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยกับพวกตามมูลหนี้ในคดีแพ่งให้แก่ธนาคาร ท. และศาลแพ่งมีคำสั่งอนุญาตให้ธนาคาร ท. เข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์แทนแล้ว บริษัทเงินทุน บ. จึงมิใช่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากแต่เป็นธนาคาร ท. สิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ง.456/2545 ของศาลแพ่ง จึงมิใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการแทนได้ ธนาคาร ท. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชอบที่จะโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาดังกล่าวอันเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ส่วนที่โจทก์เคยตั้งเรื่องนำยึดทรัพย์ของจำเลยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555 แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนนั้นเป็นความรอบคอบของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งภายหลังเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการยึดทรัพย์ของจำเลยให้ตามที่โจทก์ขอ หาใช่การรับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8782/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การพิจารณาความเสียหายต้องดู ณ เวลาที่กระทำผิด แม้มีการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว
ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) บัญญัติว่า "ผู้เสียหาย หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง ..." ซึ่งบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดดังกล่าวต้องพิจารณาในขณะที่ความผิดเกิดขึ้นว่า บุคคลนั้นได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดนั้นหรือไม่ อีกทั้งสิทธิของการเป็นผู้เสียหายเป็นสิทธิเฉพาะตัว และไม่อาจโอนสิทธิความเป็นผู้เสียหายไปยังบุคคลอื่นได้ สิทธิในการเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาจึงต้องพิจารณาในขณะที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีแพ่งให้แก่บริษัท บ. แล้วก็ตาม แต่วันที่จำเลยกระทำความผิดโจทก์ยังเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว เมื่อจำเลยโอนขายที่ดินของจำเลยให้แก่ น. เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ของจำเลย โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการบังคับคดีในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้รับโอนเมื่อเจ้าหนี้เดิมยื่นคำขอรับชำระหนี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินมีต่อจำเลยทั้งสามมาจากโจทก์โดยชอบ และศาลมีคำพิพากษาบังคับคดีตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว แม้ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นได้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำแก้อุทธรณ์ของผู้ร้องว่า โจทก์ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องได้รับโอนมาในคดีนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันจากกองทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามในคดีล้มละลายที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาดแล้ว สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้ในฐานะรับโอนหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากโจทก์จึงชอบที่จะไปว่ากล่าวตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายล้มละลาย ไม่มีกรณีที่ผู้ร้องจะเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยทั้งสามในคดีนี้แทนโจทก์อีก