คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ใบอนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 358 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงพิเศษในกรมธรรม์ประกันภัย: การยินยอมให้ใช้ใบขับขี่กรมตำรวจแทนใบอนุญาตกรมการขนส่ง
ผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัยตกลงกันบันทึกไว้ว่าให้ใช้ใบขับขี่ของกรมตำรวจได้ เมื่อผู้ขับรถยนต์บรรทุกของผู้เอาประกันภัยมีใบขับขี่ของกรมตำรวจ แต่ไม่มีใบอนุญาตของกรมการขนส่งผู้รับประกันภัยจึงยกเงื่อนไขในกรมธรรม์มาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2280/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตและการริบของกลาง: ศาลฎีกาตัดสินว่าการริบอาวุธปืนที่มีใบอนุญาตไม่ชอบ
จำเลยพาอาวุธปืนของจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีได้โดยชอบเข้าไปในเมืองโดยไม่มีเหตุอันสมควร และไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท คือ ผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก, 72 ทวิ วรรคสอง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 37 เมื่อลงโทษตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ไม่ทำให้ อาวุธปืนที่มีใบอนุญาตตกเป็นปืนที่ผิดกฎหมายและบทลงโทษตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่ได้ให้อำนาจศาลสั่งริบ จึงริบอาวุธปืนและ กระสุนปืนของกลางไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยรถยนต์: การประเมินความเสียหาย, ใบอนุญาตขับขี่, และความรับผิดจากความประมาท
โจทก์บรรยายฟ้องถึงสภาพความเสียหายของรถโจทก์ว่าได้เกิดชนกับรถยนต์บรรทุกน้ำมันจนพลิกคว่ำตกจากถนนลงไปในคูน้ำข้างทางด้วยกันทั้งคู่ โจทก์ต้องเสียค่าจ้างยกรถขึ้นจากคู ค่าลากรถไปเข้าอู่ซ่อม และค่าซ่อมไปเป็นเงินเท่าใด ในแต่ละรายการพอที่วิญญูชนจะเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งความเสียหายโดยแจ้งชัดพอสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ส่วนรายละเอียดแห่งการซ่อม การเปลี่ยนแปลงอะไหล่ชิ้นส่วนใดบ้างนั้น เป็นเรื่องที่จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายรายละเอียดมาในฟ้องทั้งหมดไม่
จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของโจทก์ คนขับรถของโจทก์ขับชนกับรถอื่นความรับผิดของโจทก์ที่มีต่อเจ้าของรถที่ถูกชนนั้นได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันละเมิดสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าวก็คลุมถึงค่าทดแทนแก่บุคคลภายนอกอันเกิดจากการใช้รถที่เอาประกันอยู่แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าทดแทนเท่าที่โจทก์ยังไม่ได้ใช้ค่าเสียหายแก่รถอีกคันหนึ่งนั้น
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 ผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตขับขี่ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497มาตรา 34 อาจเป็นผู้ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการขนส่งก็ได้ หาจำเป็นจะต้องได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ประเภทสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์มาก่อนแล้วแต่เพียงประการเดียวไม่เมื่อคนขับรถของโจทก์มีใบอนุญาตขับรถของกรมการขนส่ง แม้ใบอนุญาตของกรมตำรวจถูกยึดไปก็ไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่ยกเว้นความรับผิดในกรณีที่คนขับรถของโจทก์ไม่มีใบอนุญาตขับรถ
คนขับรถของโจทก์ประมาทฝ่าฝืนกฎจราจรจึงเกิดเหตุขึ้น เป็นข้อที่จำเลยต้องรับผิดตามเงื่อนไขในกรมธรรม์นั้นเอง จึงไม่เป็นเหตุยกเงินความรับผิดเพราะฝ่าฝืนกฎจราจร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนแร่เกินปริมาณที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการขนแร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้รับใบอนุญาตต้องรับผิดชอบ
แม้ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จ. จะได้รับใบอนุญาตขนแร่ของกลาง 100 กระสอบ แต่ยังมีแร่ที่ขนปริมาณเกินกว่าที่ได้รับอนุญาตอีก 20 กระสอบ ซึ่งเป็นปริมาณเกินกว่าร้อยละห้าของแร่ที่ได้รับใบอนุญาตให้ขน ตามพระราชบัญญัติแร่ มาตรา 110 ให้ถือว่าแร่ที่ขนทั้งสิ้นเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และต้องริบตามมาตรา 154
พระราชบัญญัติแร่ มาตรา 10 ระบุว่า ในกรณีความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ ได้กระทำโดยตัวแทนหรือลูกจ้าง ให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตเป็นตัวการในการกระทำผิดนั้น จึงเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในการกระทำของผู้อื่นที่กฎหมายประสงค์จะให้ผู้รับใบอนุญาต รับผิดชอบในการกระทำของตัวแทนหรือลูกจ้างของตน โดยมิต้องอาศัยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ดังนั้น แม้ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จ. เจ้าของแร่ ผู้รับใบอนุญาตจะมิได้ร่วมรู้เห็นกับลูกจ้างในการขนแร่เกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาต ก็ต้องถือว่าเป็นตัวการในการกระทำผิดฐานขนแร่โดยไม่ได้รับใบอนุญาต หาใช่เป็นผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นในในการกระทำความผิดตามความหมายของมาตรา 154 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนแร่เกินปริมาณที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.แร่ และต้องริบทั้งหมด แม้เจ้าของใบอนุญาตจะไม่มีส่วนรู้เห็น
แม้ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จ. จะได้รับใบอนุญาตขนแร่ของกลาง 100 กระสอบ แต่ยังมีแร่ที่ขนปริมาณเกินกว่าที่ได้รับอนุญาตอีก 20 กระสอบ ซึ่งเป็นปริมาณเกินกว่าร้อยละห้าของแร่ที่ได้รับใบอนุญาตให้ขน ตามพระราชบัญญัติแร่ มาตรา 110 ให้ถือว่าแร่ที่ขนทั้งสิ้นเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และต้องริบตามมาตรา 154
พระราชบัญญัติแร่ มาตรา 10 ระบุว่า ในกรณีความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ได้กระทำโดยตัวแทนหรือลูกจ้าง ให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตเป็นตัวการในการกระทำผิดนั้น จึงเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในการกระทำของผู้อื่นที่กฎหมายประสงค์จะให้ผู้รับใบอนุญาตรับผิดชอบในการกระทำของตัวแทนหรือลูกจ้างของตน โดยมิต้องอาศัยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ดังนั้น แม้ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จ. เจ้าของแร่ผู้รับใบอนุญาต จะมิได้ร่วมรู้เห็นกับลูกจ้างในการขนแร่เกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาต ก็ต้องถือว่าเป็นตัวการในการกระทำผิดฐานขนแร่โดยไม่ได้รับใบอนุญาต หาใช่เป็นผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดตามความหมายของมาตรา 154 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแข่งขันแย่งลูกค้าขนส่งประจำทางละเมิดสิทธิผู้ได้รับใบอนุญาต - ค่าเสียหายเหมาะสม
จำเลยเดินรถขนส่งทับเส้นทางเป็นการแข่งขันกับโจทก์ผู้ได้รับใบอนุญาตขนส่งประจำทาง โจทก์เดินรถตอนเช้าซึ่งมีคนโดยสารมาก จำเลยเดินรถในเวลาถัดไป ดังนี้ เป็นการละเมิดสิทธิต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการต่ออายุใบอนุญาตโรงงานแปรรูปไม้และการพิจารณาตามอำนาจ
จำเลยไม่ต่ออายุใบอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ให้โจทก์ได้ตามอำนาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 58 ฉบับที่ 5พ.ศ.2518 มาตรา 23 โดยพิจารณาเห็นสมควรเช่นนั้นไม่จำต้องสั่งพักใบอนุญาตก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากปืนจากผู้มีใบอนุญาต ไม่ถือเป็นการครอบครองปืนผิดกฎหมาย
รับฝากปืนจากผู้ได้รับอนุญาตให้มี เป็นการครอบครองไว้เพื่อไม่ให้สูญหาย ไม่เป็นการมีปืนตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 4(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแข่งขันขนส่งประจำทาง: ใบอนุญาตขนส่งสาธารณะจำกัดสิทธิในการแข่งขันกับผู้มีใบอนุญาตขนส่งประจำทางได้
บริษัทขนส่งจำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งประจำทางระหว่างกรุงเทพฯกับเชียงใหม่ ส่วนบริษัทจำเลยได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งสาธารณะ บริษัทจำเลยได้จัดรถรับส่งคนโดยสารในเส้นทางระหว่างกรุงเทพฯกับลำปางและเชียงใหม่ โดยมีกำหนดวันเวลาที่รถออกแน่นอนเป็นประจำ มีการขายตั๋วโดยสารเป็นรายบุคคลให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะเดินทาง แต่บริการของบริษัทจำเลยมีข้อที่แตกต่างกับของบริษัทขนส่งจำกัด คือ รถของบริษัทจำเลยหยุดรับส่งคนโดยสารระหว่างทางเฉพาะที่ลำปางเพียงแห่งเดียว ส่วนรถของบริษัทขนส่งจำกัดหยุดรับส่งคนโดยสารตามรายทางที่ใบอนุญาตกำหนดไว้ ค่าโดยสารของบริษัทจำเลยแพงกว่าค่าโดยสารของบริษัทขนส่งจำกัด และกำหนดอัตราไว้เพียง 2 อัตรา คือ ระหว่างกรุงเทพฯกับลำปางและระหว่างกรุงเทพฯกับเชียงใหม่ ส่วนบริษัทขนส่งจำกัดคิดค่าโดยสารตามระยะทาง บริษัทจำเลยให้บริการที่ดีกว่าบริษัทขนส่งจำกัด รถของบริษัทจำเลยมีที่นั่งที่สะดวกสบายรวมทั้งมีห้องน้ำอยู่ในรถ ระหว่างทางก็มีอาหารและเครื่องดื่มเลี้ยงผู้โดยสารด้วย ดังนี้ การประกอบการขนส่งของบริษัทจำเลยมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับบริษัทขนส่งจำกัด เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแข่งขันด้านการขนส่ง: ผู้ได้รับใบอนุญาตขนส่งสาธารณะกระทำการแข่งขันกับผู้ได้รับใบอนุญาตขนส่งประจำทาง
บริษัทขนส่งจำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ ส่วนบริษัทจำเลยได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งสาธารณะ บริษัทจำเลยได้จัดรถรับส่งคนโดยสารในเส้นทางระหว่างกรุงเทพฯ กับลำปางและเชียงใหม่ โดยมีกำหนดวันเวลาที่รถออกแน่นอนเป็นประจำ มีการขายตั๋วโดยสารเป็นรายบุคคลให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะเดินทาง แต่บริการของบริษัทจำเลยมีข้อที่แตกต่างกับบริษัทขนส่งจำกัด คือ รถของบริษัทจำเลยหยุดรับส่งคนโดยสารระหว่างทางเฉพาะที่ลำปางเพียงแห่งเดียว ส่วนรถของบริษัทขนส่งจำกัดหยุดรับส่งคนโดยสารตามรายทางที่ใบอนุญาตกำหนดไว้ ค่าโดยสารของบริษัทจำเลยแพงกว่าค่าโดยสารของบริษัทขนส่งจำกัด และกำหนดอัตราไว้เพียง 2 อัตรา คือ ระหว่างกรุงเทพฯ กับลำปางและระหว่างกรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ ส่วนบริษัทขนส่งจำกัดคิดค่าโดยสารตามระยะทาง บริษัทจำเลยให้บริการที่ดีกว่าบริษัทขนส่งจำกัด รถของบริษัทจำเลยมีที่นั่งที่สะดวกสบายรวมทั้งมีห้องน้ำอยู่ในรถ ระหว่างทางก็มีอาหารและเครื่องดื่มเลี้ยงผู้โดยสารด้วย ดังนี้ การประกอบการขนส่งของบริษัทจำเลยมีลักษณะเป็นการแข็งขันกับบริษัทขนส่งจำกัด เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ. 2497 มาตรา 14
of 36