พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้การรับโอนที่ดินเป็นโมฆะ
จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วโจทก์จึงรับโอนที่ดินจาก บ.ผู้มีชื่อโฉนดที่ดินเพื่อตีใช้หนี้ก่อนโอนบ.ได้พาโจทก์มาดูที่พิพาท โจทก์ย่อมเห็นจำเลยปลูกบ้าน ปลูกต้นไม้ยืนต้นในที่ดินพิพาทอย่างถาวร เมื่อบ. บอกโจทก์ว่า จำเลยเช่าที่พิพาทปลูกบ้านอยู่อาศัยโจทก์เชื่อก็ไม่ได้ขอดูหลักฐานการเช่าจากบ.ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้สอบถามจำเลยว่าเช่าที่พิพาทจริงหรือไม่ผิดวิสัยของผู้ซื้อที่ดินทั่วไป พฤติการณ์แสดงว่า ขณะโจทก์รับโอนที่ดิน โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยเห็นเจ้าของที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้จะถือว่าโจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิซื้อขายโดยไม่สุจริต: ผู้ร้องไม่ต้องการเอารถคืนแต่ต้องการเงินส่วนที่ขาด จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนของกลาง
จำเลยทำสัญญาซื้อรถยนต์ของกลางจากผู้ร้องโดยมีเงื่อนไขว่าให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อเมื่อชำระราคาหมดแล้ว จำเลยชำระค่างวดเป็นเช็คล่วงหน้าทุกงวด แต่เช็ค 7 งวดสุดท้ายถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ร้องก็ไม่เคยดำเนินคดีอาญากับจำเลยฐานจ่ายเช็คไม่มีเงิน และไม่บอกเลิกสัญญา คงให้จำเลยครอบครองและใช้รถยนต์ของกลางเรื่อยมา แสดงว่าผู้ร้องไม่ต้องการเอารถยนต์ของกลางคืนแต่ประสงค์เพียงให้ได้รับชำระราคาส่วนที่ขาดเท่านั้น หากศาลสั่งคืนผู้ร้องก็ต้องมอบต่อให้จำเลยตามสัญญาซื้อขาย การขอคืนรถยนต์ของกลางของผู้ร้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นการขอคืนแทนจำเลยผู้กระทำผิด และเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอคืนของกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้รับโอนเช็คพิพาทที่ได้มาโดยไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ฉ.โดยไม่มีมูลหนี้และโดยไม่สุจริต โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) และปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญา เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเช็คโดยผู้รับโอนที่ไม่มีมูลหนี้และไม่สุจริต ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ฉ. โดยไม่มีมูลหนี้และโดยไม่สุจริต โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)และปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญา เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนและการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมมีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า mita มาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า mita ดีกว่าจำเลย จำเลยเป็นกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าว จำเลยย่อมรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า mita โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของ แม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนจะได้รับการจดทะเบียนแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยไม่มีความตกลงคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในลักษณะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กับรัฐบาลต่างประเทศนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นเรื่องนอกประเด็น แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น และยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอก
ผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทจาก อ. ผู้จัดการมรดกของ ส. ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้จัดการทรัพย์มรดก ของ ส.โดยขณะรับโอนผู้คัดค้านที่1ทราบว่าส. มีหนี้สินบุคคล หลายราย และ ส. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินพิพาท แสดงว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ทราบถึงสภาพการมีหนี้สินพ้นตัวของกองมรดกของ ส. เป็นการรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริต ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งรับโอนและรับจำนองที่ดินพิพาทภายหลังจากมี การฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายดังนั้น แม้ทำโดยสุจริต มีค่าตอบแทนและเป็นบุคคลภายนอกก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของตัวการรับจำนองที่ควรทราบถึงการกระทำที่ไม่สุจริต ทำให้จำนองโมฆะ
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการจดทะเบียนรับจำนองที่ดินจากจำเลยที่ 1 ควรจะรู้ว่าการได้ที่ดินมาจากโจทก์ของจำเลยที่ 1 และการจดทะเบียนจำนองของจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ต่อมานั้นเป็นเรื่องที่ไม่สุจริตอันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 3 ถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจำนองรายนี้เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าช่วงอาคารพิพาท: การจดทะเบียนเช่าช่วงโดยผู้มีสิทธิที่ดีกว่า ย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารที่กำลังก่อสร้างรวม 3 คูหาให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระราคาครบถ้วนในวันทำสัญญา ในระหว่างการก่อสร้างยังไม่เสร็จ จำเลยที่ 1ได้เอาสิทธิการเช่าช่วงที่ได้ขายให้โจทก์แล้วนั้นไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งสามคูหา โดยจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิการเช่าได้ทำสัญญาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงอาคารไปแล้ว 2 คูหา โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3อ้างว่าเป็นนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลที่โจทก์ขอเพิกถอนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ที่จะฟ้องขอเพิกถอนได้คือเจ้าหนี้ โดยฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำกับบุคคลที่สาม จำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 หาใช่ลูกหนี้ของโจทก์ไม่นิติกรรมระหว่างจำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่การฉ้อฉลที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ ตามมาตรา 237
แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญารับโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1ก่อนจำเลยที่ 2 แต่ขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ไม่รู้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้วจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิการเช่าช่วงจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต และได้ความด้วยว่าจำเลยที่ 2 ได้เสียเงินกินเปล่าให้จำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เสียเงินไปกว่า 2 ล้านบาท จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่าโจทก์แม้ต่อมาโจทก์จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กับ ส. กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และได้ร้องขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นได้สั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมผูกพันหรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทและฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามรู้ถึงคำสั่งห้ามชั่วคราวแล้ว จำเลยที่ 2 ยังได้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 3 ก็ถือไม่ได้ว่าการทำนิติกรรมดังกล่าวกระทำไปโดยใช้สิทธิไม่สุจริต เพราะจำเลยที่ 2 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่าโจทก์อยู่แล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าช่วงอาคารพิพาทนั้นก็เป็นการจดทะเบียนให้แก่ผู้มีสิทธิดีกว่าโจทก์ สัญญาเช่าช่วงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่กระทำโดยไม่สุจริต อันโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5
แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญารับโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1ก่อนจำเลยที่ 2 แต่ขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ไม่รู้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้วจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิการเช่าช่วงจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต และได้ความด้วยว่าจำเลยที่ 2 ได้เสียเงินกินเปล่าให้จำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เสียเงินไปกว่า 2 ล้านบาท จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่าโจทก์แม้ต่อมาโจทก์จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กับ ส. กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และได้ร้องขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นได้สั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมผูกพันหรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสิทธิการเช่าช่วงอาคารพิพาทและฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามรู้ถึงคำสั่งห้ามชั่วคราวแล้ว จำเลยที่ 2 ยังได้ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนเช่าช่วงอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 3 ก็ถือไม่ได้ว่าการทำนิติกรรมดังกล่าวกระทำไปโดยใช้สิทธิไม่สุจริต เพราะจำเลยที่ 2 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่าโจทก์อยู่แล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าช่วงอาคารพิพาทนั้นก็เป็นการจดทะเบียนให้แก่ผู้มีสิทธิดีกว่าโจทก์ สัญญาเช่าช่วงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่กระทำโดยไม่สุจริต อันโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5215/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยโจทก์ที่ทราบว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ ทำให้โจทก์ไม่สุจริต และจำเลยอ้างสิทธิได้
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ว. เมื่อปี 2516 แล้วจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยโดยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ซื้อมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้ว โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากส. เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2523 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15พฤษภาคม 2527 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมานั้นโจทก์เห็นจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์ควรต้องสอบถามให้แน่นอนว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไร ตอนไปจดทะเบียนโจทก์ก็ตอบคำถามของเจ้าพนักงานโดยปิดบังว่าบนที่ดินพิพาทไม่มีสิ่งปลูกสร้าง เพื่อหลีกเลี่ยงคำถามต่อไปว่าสิ่งปลูกสร้างเป็นของใคร ทำให้โจทก์จดทะเบียนไปได้ พฤติการณ์เช่นนี้ถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของมานานแล้ว การที่โจทก์ตัดสินใจซื้อก็เพราะเชื่อว่าสามารถใช้สิทธิทางทะเบียนห้ามจำเลยต่อสู้ได้การกระทำของโจทก์จึงเป็นการไม่สุจริต ดังนี้ แม้โจทก์จะเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิแล้ว โจทก์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมสามารถอ้างบทกฎหมายดังกล่าวยันโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาด: ศาลยืนตามราคาประมูลเดิม แม้มีผู้เสนอราคาสูงกว่า แต่ไม่ทันการประมูล และไม่มีพฤติการณ์ไม่สุจริต
ในการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี มีผู้เข้าสู้ราคาโดยชอบและไม่ปรากฏพฤติการณ์ ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตหรือฝ่าฝืนกฎหมาย จึงมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแก่ผู้สู้ราคาสูงสุด ดังนี้ ถือว่าการขายทอดตลาดสมบูรณ์แล้วโจทก์จะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดใหม่โดยอ้างว่าราคาที่ขายได้ต่ำกว่าราคาเป็นจริง และราคาประเมินของกรมที่ดินหรือราคาที่โจทก์รับจำนองไว้จากจำเลย และมีผู้จะซื้อในราคาสูงกว่าหาได้ไม่.