คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่อนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกา
จำเลยขอสืบพะยานอีกในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทเรื่องหนี้จากการกู้ยืมเงินและโอนตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ได้รับ
ยืมเงินชำระเงินโดยการโอนตั๋วสัญญา หนี้จะระงับเมื่อตั๋วนั้นได้ใช้เงินแล้ว วิธีพิจารณาแพ่ง พะยาน สืบแก้ไขเอกสารไม่ได้กู้เงินไป 1210 บาท จะเถียงว่าได้รับเงินเพียง 900 บาท ไม่ได้ แปลสัญญา ค่าธรรมเนียมคดีก็จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนให้ศาลเดิมสืบพะยานแลตัดสินใหม่ศาลอุทธรณ์ขั้นแรกไม่คืนให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างพยานจากสำนวนอื่นในชั้นฎีกา: ศาลไม่อนุญาตหากเป็นพยานที่เคยใช้ในสำนวนเดิมและมีคำพิพากษาแล้ว
อ้างคำพะยานในสำนวนอื่นในชั้นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731-732/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างพยานชั้นไต่สวนในคดีฆ่าโดยเจตนา – ศาลฎีกาวินิจฉัยการไม่อนุญาตอ้างพยานเพิ่มเติม
ฆ่าคนโดยเจตนาจำเลยขออ้างคำพยานชั้นไต่สวน เมือสืบพยานจำเลยแล้ววิธีพิจารณาอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5695/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการตรวจดูและคัดสำเนาเอกสารทางภาษีเพื่อใช้ในการอุทธรณ์ หากเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตถือเป็นการละเมิดสิทธิ
สถานประกอบการโจทก์ที่เจ้าพนักงานของจำเลยนำหนังสือแจ้งการประเมินไปส่งเป็นภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของโจทก์ ในวันนั้นมีพนักงานของโจทก์อยู่ที่สถานประกอบการแต่ไม่มีผู้ใดยินยอมรับหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะหากพนักงานของโจทก์ยินยอมรับหมาย ก็ไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานของจำเลยจะต้องไปเชิญเจ้าพนักงานตำรวจทำการปิดหมาย จึงฟังไม่ได้ว่า การกระทำของเจ้าพนักงานของจำเลยเป็นการกระทำโดยไม่ชอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้..." และวรรคสองบัญญัติว่า "การตรวจดูเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการตรวจดูเอกสาร หรือการจัดทำสำเนาเอกสารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง" เมื่อพิจารณามาตรา 31 ดังกล่าวทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองประกอบกัน จะเห็นได้ว่า การตรวจดูเอกสารหาใช่เป็นบทบัญญัติที่รับรองเพียงแต่สิทธิในการตรวจดูเอกสารเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการจัดทำสำเนาเอกสารด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและการพิจารณาผู้มีอำนาจรับรองอุทธรณ์ตามกฎหมายเฉพาะ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ได้บัญญัติถึงผู้ที่จะอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 22 ไว้โดยเฉพาะแล้วว่าเป็นผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลแขวง หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายเท่านั้น กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 230 วรรคสาม ที่กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคเพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตฎีกา และหน้าที่ทนายจำเลยในการดำเนินการขอรับรองฎีกาต่ออัยการสูงสุด
คำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรองให้ฎีกามีตรายางประทับข้อความว่า ให้มาทราบคำสั่งทุก 7 วัน ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งโดยชอบแล้ว โดยทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายข้อความดังกล่าว ทั้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นคำสั่งของผู้พิพากษา ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าทนายจำเลยทราบคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว โดยศาลชั้นต้นไม่ต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบอีก และข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย หาใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นเรื่องขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่ขยายให้ฎีกาแต่อย่างใดไม่ การที่ทนายจำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลาฎีกา ย่อมเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง จึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาฎีกาให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการวางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยฉบับลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2551 ต่อมาวันที่ 4 สิงหาคม 2551 ซึ่งยังอยู่ในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยาย จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับใหม่เข้ามา โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฉบับนี้เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ มิใช่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 จำเลยจึงไม่ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยมาจึงไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11519/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามคำสั่งไม่อนุญาตขยายระยะเวลายื่นฎีกา: ไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกา ไม่ใช่กรณีศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังจนถึงวันครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่โจทก์เป็นเวลานานถึง 2 เดือน คดีของโจทก์ก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน หากโจทก์ให้ความสำคัญต่อคดีของตนระยะเวลาดังกล่าวก็เพียงพอที่โจทก์จะจัดทำฎีกาและยื่นฎีกาได้ทันภายในกำหนดอีกทั้งในชั้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ ศาลชั้นต้นก็ได้กำชับในคำร้องแล้วว่า เป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาเพียงครั้งเดียวดังนั้น จึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่ควรเร่งจัดทำฎีกามายื่นต่อศาลให้ทันภายในกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกาอีกนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016-5017/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติม: สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นภายหลังฟ้องเดิม ไม่เกี่ยวข้องกัน จึงไม่อนุญาตแก้ไข
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้คู่ความเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ข้อเท็จจริงตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ทั้งสอง เป็นการกล่าวอ้างมูลคดีที่เกิดขึ้นภายหลังโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้แล้ว แม้มูลคดีตามคำฟ้องเดิมกับคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมจะมีลักษณะอย่างเดียวกัน แต่มูลคดีเกิดขึ้นคนละคราวไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งหากจะฟังว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมก็เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นภายหลังจากโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้แล้ว ถือไม่ได้ว่าคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
of 15