พบผลลัพธ์ทั้งหมด 180 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักที่ตัดก่อน พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494 ไม่เป็นไม้หวงห้าม ผู้ครอบครองไม่ต้องขออนุญาต
ไม้สักที่ขึ้นอยู่ในที่ดินของเอกชน ได้ถูกตัดและขายกันต่อมาตลอดจนการแปรรูปไม้ได้กระทำก่อนแต่วันใช้พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) 2494 ดังนี้ไม้สักดังกล่าวนั้น ย่อมไม่ใช่ไม้หวงห้าม ผู้ใดจะมีไว้ในครอบครองจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องขออนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักในที่ดินเอกชนไม่เป็นไม้หวงห้ามหากตัดแปรรูปก่อนมีกฎหมายควบคุม การเคลื่อนย้ายจึงไม่ผิด
ไม้สักที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิของเอกชนนั้น เมื่อตัดฟันและแปรรูปเสียก่อนใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2494 ก็ถือว่าไม้นั้นไม่ใช่ไม้หวงห้าม
การนำไม้ที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามซึ่งขึ้นอยู่ในที่ดินเอกชน เคลื่อนที่นั้น ย่อมไม่เป็นความผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484
การนำไม้ที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามซึ่งขึ้นอยู่ในที่ดินเอกชน เคลื่อนที่นั้น ย่อมไม่เป็นความผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักในที่ดินเอกชนตัดก่อนมีกฎหมาย ไม่ใช่ไม้หวงห้าม ไม่ผิดพ.ร.บ.ป่าไม้
ไม้สักที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิของเอกชนนั้น เมื่อตัดฟันและแปรรูปเสียก่อนใช้พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ก็ถือว่าไม้นั้นไม่ใช่ไม้หวงห้าม
การนำไม้ที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามซึ่งขึ้นอยู่ในที่ดินเอกชนเคลื่อนที่นั้นย่อมไม่เป็นความผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 38
การนำไม้ที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามซึ่งขึ้นอยู่ในที่ดินเอกชนเคลื่อนที่นั้นย่อมไม่เป็นความผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามโดยไม่แปรรูป: การพิจารณาความรับผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยมีไม้หวงห้ามโดยมิได้มีตรารอยค่าภาคหลวงประทับไว้ในความครอบครอง ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 ม.69 ซึ่งได้แก้ไขใหม่โดย พ.ร.บ.ป่าไม้ ( ฉบับที่ 3 ) 2494 ม.16 แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลก็ลงโทษจำเลยตามขอไม่ได้เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องมีไม้หวงห้ามที่ยังไม่ได้แปรรูปไว้ในความครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามโดยมิได้ประทับตรารอยค่าภาคหลวง ต้องเป็นไม้ที่ยังไม่ได้แปรรูป
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยมีไม้หวงห้ามโดยมิได้มีตรารอยค่าภาคหลวงประทับไว้ในความครอบครอง ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ 2484 มาตรา 69 ซึ่งได้แก้ไขใหม่โดย พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3)2494 มาตรา 16 แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลก็ลงโทษจำเลยตามขอไม่ได้เพราะบทมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องมีไม้หวงห้ามที่ยังไม่ได้แปรรูปไว้ในความครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักเก่าครอบครองก่อนกฎหมายใหม่ ไม่อยู่ในความผิดอาญา แม้กฎหมายใหม่ขยายประเภทไม้หวงห้าม
มีไม้สักแปรรูป ซึ่งได้มาจากต้นสักในที่ดินกรรมสิทธิของเอกชนไว้ในครอบครองก่อนวันใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2494 นั้น ไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และแม้จะครอบครองต่อมาจนใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2494 ซึ่งบัญญัติว่า "ไม้สักทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ฯลฯ" ก็ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2494 ไม่ได้กล่าวให้มีผลย้อนหลัง ฉะนั้นจึงจะใช้กฎหมายฉะบับหลังให้มีผลย้อน หลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญามิได้ขัดต่อกฎหมาย ลักษณะอาญามาตรา 7 ผู้ครอบครองไม้สักดังกล่าวจึงยัง ไม่มีผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2494./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักเก่าครอบครองก่อนกฎหมายใหม่: ไม่ผิดตามกฎหมายป่าไม้ แม้กฎหมายใหม่ครอบคลุมไม้สักทั้งหมด
มีไม้สักแปรรูป ซึ่งได้มาจากต้นสักในที่ดินกรรมสิทธิ์ของเอกชนไว้ในครอบครองก่อนวันใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 นั้นไม่เป็นผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2494และแม้จะครอบครองต่อมาจนใช้ พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ซึ่งบัญญัติว่า'ไม้สักทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภทก.ฯลฯ'ก็ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ไม่ได้กล่าวให้มีผลย้อนหลังฉะนั้นจึงจะใช้กฎหมายฉบับหลังให้มีผลย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญามิได้ ขัดต่อกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 7 ผู้ครอบครองไม้สักดังกล่าวจึงยังไม่มีผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีไม้หวงห้าม: การฟ้องคดีเดิมซ้ำในประเด็นกรรมเดียวกัน แม้เปลี่ยนฐานความผิด
โจทก์เคยฟ้องจำเลยหาว่านำไม้หวงห้ามเคลื่อนย้ายโดยมิได้รับอนุญาต และไม่มีใบเบิกทางของเจ้าพนักงาน จนจำเลยได้รับโทษ คดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อแรากฎว่าขณะที่จำเลยกระทำผิดในคดีก่อนนั้น จำเลยก็มีไม้ของกลางนั้นไว้ ในครอบครอง โดยไม่มีตราค่าภาคหลวงอยู่แล้ว แต่โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยในฐานมีไม้ไม่มีตราค่าภาคหลวงในคราว นั้นด้วย ครั้นเมื่อคดีก่อนนั้นถึงที่สุดดังกล่าวแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องจำเลยว่า มีไม้หวงห้ามของกลางนั้นไว้ในครอบ ครองโดยไม่มีตราค่าภาคหลวงวตามวันเวลาเดียวกับที่หาว่า จำเลยกระทำผิดในคดีก่อนอีกเป็นกลุ่มเดียวกัน จึงเป็น เรื่องฟ้องซ้ำ ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 39 (4)./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีไม้หวงห้าม: การฟ้องซ้ำกรรมเดียวกัน แม้เปลี่ยนฐานความผิด
โจทก์เคยฟ้องจำเลยหาว่านำไม้หวงห้ามเคลื่อนย้ายโดยมิได้รับอนุญาตและไม่มีใบเบิกทางของเจ้าพนักงาน จนจำเลยได้รับโทษ คดีถึงที่สุดแล้วเมื่อปรากฏว่าขณะที่จำเลยกระทำผิดในคดีก่อนนั้นจำเลยก็มีไม้ของกลางนั้นไว้ในครอบครอง โดยไม่มีตราค่าภาคหลวงอยู่แล้ว แต่โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยในฐานมีไม้ไม่มีตราค่าภาคหลวงในคราวนั้นด้วย ครั้นเมื่อคดีก่อนนั้นถึงที่สุดดังกล่าวแล้วโจทก์จะกลับมาฟ้องจำเลยว่า มีไม้หวงห้ามของกลางนั้นไว้ในครอบครองโดยไม่มีตราค่าภาคหลวงตามวันเวลาเดียวกับที่หาว่า จำเลยกระทำผิดในคดีก่อนอีกเป็นกรรมเดียวกัน จึงเป็นเรื่องฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้หวงห้ามที่ยังไม่ได้แปรรูป จำเลยต้องพิสูจน์ที่มาโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมีไม้เต็งรัง ไม้เหียง ไม้พลวง ไม้มะค่าแต้ และไม้แดง อันเป็นไม้แระเภทหวงห้าม ไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงประทับ รวม 97896 ท่อน เป็นไม้ติดเปลือกยาว 120 เซ็นติเมตรถึง 300 เซ็นติเมตร โต-วัดโดยรอบประมาณ 20 - 30 เซ็นติเมตร ดังนี้ เป็นแต่ไม้ที่ตัดออกเป็นท่อนยังไม่ถึงขนาดเป็นไม้แปรรูป จึงเป็นหน้าที่จำเลยที่แสดงให้เห็นว่า ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายตามความหมายใน พ.ร.บ.ป่าไม้