พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต: การชำระหนี้โดยโจทก์ก่อนแล้วเรียกเก็บภายหลังเป็นงานบริการ อายุความ 2 ปี
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ จำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ประเภทบัตรเครดิตยอมผูกพันตามเงื่อนไขของผู้ถือบัตร การที่จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดล่วงหน้าจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติของสถาบันการเงินอื่น โจทก์จำเป็นต้องชำระเงินแทนจำเลยไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยในภายหลัง จึงเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก โดยโจทก์เรียกค่าธรรมเนียมจากสมาชิก เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) มิใช่กรณีของลักษณะสัญญาพิเศษอันไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความจึงมีอายุความ 2 ปี
จำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2535 โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตภายในวันที่ 2 มกราคม 2536 แต่จำเลยไม่ชำระตามกำหนด ถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2536 เป็นต้นไป ครบกำหนดอายุความในวันที่ 3 มกราคม 2536 การที่โจทก์นำเงินจำนวน 4,326.42 บาท ของจำเลยมาชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 เป็นการนำเงินฝากจากบัญชีอื่นตามที่โจทก์และจำเลยได้เคยตกลงกันไว้มาหักชำระหนี้โดยที่จำเลยไม่ได้รู้เห็นด้วยจึงเป็นการกระทำของโจทก์เพียงฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลย อีกทั้งเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 พ้นกำหนดเวลา 2 ปี จึงขาดอายุความ
จำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2535 โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตภายในวันที่ 2 มกราคม 2536 แต่จำเลยไม่ชำระตามกำหนด ถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2536 เป็นต้นไป ครบกำหนดอายุความในวันที่ 3 มกราคม 2536 การที่โจทก์นำเงินจำนวน 4,326.42 บาท ของจำเลยมาชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 เป็นการนำเงินฝากจากบัญชีอื่นตามที่โจทก์และจำเลยได้เคยตกลงกันไว้มาหักชำระหนี้โดยที่จำเลยไม่ได้รู้เห็นด้วยจึงเป็นการกระทำของโจทก์เพียงฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลย อีกทั้งเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547 พ้นกำหนดเวลา 2 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้ถึง 1 ล้านบาท ศาลฎีกายกฟ้องเมื่อหนี้ไม่ถึงตามเกณฑ์
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ยืมไว้กับธนาคารเจ้าหนี้ จำนวน 4,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกอีก 6 คน เป็นผู้ค้ำประกันในวงเงินต่างกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปจำนวน 4,880,000 บาท ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยจำเลยที่ 1 และเข้ารับช่วงสิทธิของธนาคารเจ้าหนี้ไล่เบี้ยผู้ค้ำประกันอื่นได้ตามสัดส่วนที่ผู้ค้ำประกันแต่ละคนเข้าผูกพันชำระหนี้ตามมาตรา 693 ประกอบมาตรา 229 (3), 296 การที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาในคดีแพ่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินจำนวน 3,020,952.37 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ย โดยมิได้ระบุสัดส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 3 ไว้ด้วย และโจทก์ได้นำยอดหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีล้มละลายนั้น ต่อมาศาลแพ่งได้มีคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงของคำพิพากษาดังกล่าวแล้วโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามส่วนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ แม้คำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษาในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแพ่งดังกล่าวจำเลยที่ 3 เพิ่งยกขึ้นอ้างส่งในชั้นอุทธรณ์ แต่การพิจารณาคดีล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 14 กำหนดให้ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตามสัดส่วนที่ทำสัญญาค้ำประกันไว้ในวงเงินเพียง 500,000 บาท และมียอดหนี้คำนวณถึงวันฟ้องคดีนี้ไม่ถึง 1,000,000 บาท ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการผ่อนชำระเป็นงวดๆ เริ่มนับแต่วันผิดนัดงวดแรก
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ โดยจะชำระหนี้ให้โจทก์เป็นสองงวด งวดที่ 1 ชำระภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2541 งวดที่ 2 ชำระภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2542 หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ทันที ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกำหนดวิธีการชำระหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ มีกำหนดจำนวนเงินและระยะเวลาจ่ายที่แน่นอน สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตั้งแต่งวดแรก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระได้ทั้งหมด อายุความเริ่มนับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 จึงพ้นกำหนดอายุความ 5 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีล้มละลาย และสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน
ลูกหนี้ทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งตั้งแต่งวดแรกวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมได้นับแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547 จึงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้แล้ว ทั้งการที่เจ้าหนี้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี และลูกหนี้ที่ 1 ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาลดยอดหนี้เพื่อขอไถ่ถอนจำนองนั้น ก็มิใช่เป็นการกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีหรือเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และ (5) ดังนั้น มูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงขาดอายุความและถือเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94 (1)
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (3) แม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็ยังคงมีทรัพยสิทธิบังคับชำระหนี้จากราคาทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในวงเงินจำนอง แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเกินกว่าห้าปีไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (3) แม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็ยังคงมีทรัพยสิทธิบังคับชำระหนี้จากราคาทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในวงเงินจำนอง แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเกินกว่าห้าปีไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง: สิทธิเรียกร้องจากทรัพย์จำนองเท่านั้น, ห้ามยึดทรัพย์สินอื่นเมื่อขายทอดตลาดได้เงินไม่พอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 4,200,000 บาท โดยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาจำนองไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้เงิน ต่อมาจำเลยกู้เงินโจทก์อีกโดยได้ทำบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองครั้งที่ 1 เป็นเงิน 3,500,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองและบังคับจำนองโดยคำขอท้ายฟ้องระบุว่า ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์แสดงว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำนองโดยประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์ที่จำนองเท่านั้น มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ สัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวไม่มีข้อความว่า หากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้ด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 733
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองติดไป-อายุความดอกเบี้ย: ผลกระทบต่อผู้กู้และผู้รับโอนทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง และขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 รับผิดในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินโดยจำนองติดไปซึ่งผู้รับจำนองยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองโดยการบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ ต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อจำเลยที่ 2 ยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระเกินห้าปีขึ้นต่อสู้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 745 บัญญัติว่า "ผู้รับจำนองจะบังคับจำนอง แม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้" ซึ่งหมายความว่า ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น ดังนั้น แม้หนี้ประธานยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ก็คงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระได้ไม่เกินห้าปี
ป.พ.พ. มาตรา 745 บัญญัติว่า "ผู้รับจำนองจะบังคับจำนอง แม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้" ซึ่งหมายความว่า ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น ดังนั้น แม้หนี้ประธานยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ก็คงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระได้ไม่เกินห้าปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15144/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 กรณีศาลอุทธรณ์ตัดสินโทษจำคุกไม่เกินสองปี และประเด็นคดีไม่เลิกกันเนื่องจากหนี้ยังไม่ครบชำระ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ฯ มาตรา 4 การที่จำเลยฎีกาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ร่วม จึงเป็นการออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเพียงฉบับเดียว และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย ทั้งที่โจทก์ร่วมไม่ได้อ้างพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานในชั้นสอบสวน จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยออกเช็คพิพาทแก่โจทก์ร่วมโดยไม่มีหลักฐานกู้ยืมเป็นหนังสือ จึงมิใช่เป็นการออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายและจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คดีนี้ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ชำระหนี้ให้ครบถ้วน จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดอันเป็นเหตุให้ถือว่าคดีเลิกกัน คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ มาตรา 7
คดีนี้ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ชำระหนี้ให้ครบถ้วน จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดอันเป็นเหตุให้ถือว่าคดีเลิกกัน คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์มรดกเป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ และผลของการตกลงระหว่างผู้รับมรดกกับผู้ให้หนี้
ส. กับ ม. ซึ่งเป็นทายาทของ ก. เอาเงินจำเลยไปคนละ 7,000 บาท แล้วบุคคลทั้งสองตกลงยกทรัพย์มรดกของ ก. ส่วนของตนตีใช้หนี้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ก. เช่นกัน ถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง สามารถใช้บังคับกันได้โดยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14758/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องสุทธิ และมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเจตนาในการชำระหนี้แทนกัน ทำให้ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ได้
แม้โจทก์จะนำสืบรับว่า จำเลยทั้งสองนำเงินจำนวน 370,000 บาท ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินแทนโจทก์ แต่โจทก์ก็นำสืบด้วยว่า จำเลยทั้งสองชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองแทนโจทก์เพื่อขอยืมโฉนดดังกล่าวไปจำนองต่อธนาคาร พ. และโจทก์นำเงินจำนวน 606,000 บาท ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินดังกล่าวจากธนาคารคืนมาแล้วเป็นการที่โจทก์ปฏิเสธว่าจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนโจทก์ สิทธิเรียกร้องที่จำเลยทั้งสองอ้างขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์จึงยังมีข้อต่อสู้อยู่หาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ได้ไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 จำเลยทั้งสองจึงนำสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวน 370,000 บาท ที่จำเลยทั้งสองชำระแก่ ส. แทนโจทก์มาหักกลบลบหนี้ของโจทก์จำนวน 268,504.05 บาท ที่โจทก์ฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน
ธนาคาร น. ในฐานะผู้รับอาวัลได้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่สำนักงานพระคลังข้างที่แล้ว ธนาคาร น. ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ตามป.พ.พ. มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบด้วย มาตรา 985 และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวมาจากธนาคาร น. เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวภายในอายุความข้างต้นเช่นกัน
ธนาคาร น. ผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแทนลูกหนี้ไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2540 อันเป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ
พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 มาตรา 5 ใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 เท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการดังกล่าว บทบัญญัติมาตรา 5 ข้างต้นจึงไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ธนาคาร น. ผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแทนลูกหนี้ไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2540 อันเป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ
พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 มาตรา 5 ใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 เท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการดังกล่าว บทบัญญัติมาตรา 5 ข้างต้นจึงไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด